วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
บทความพิเศษ : การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำไมต้อง‘ปฏิรูป’

บทความพิเศษ : การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำไมต้อง‘ปฏิรูป’

วันอังคาร ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

1.การสอบเข้ามหาวิทยาลัย คือ การตัดสินอนาคตของนักเรียนจำนวนมาก ว่าใครจะเป็นผู้ชนะหรือแพ้ ดังนั้น ระบบการศึกษาไทยตั้งแต่ชั้นอนุบาล จึงพุ่งเป้าไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ เพราะวัฒนธรรมความเชื่อของคนไทยยึดถือกันมาว่า การเรียนจบมหาวิทยาลัย คือใบเบิกทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิต จะมีงานที่ดีให้ทำ จะมีรายได้สูง จะมีอนาคตที่มั่นคง ไปจนถึงจะมีหน้ามีตาเป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้องและสังคม ด้วยทัศนคติเช่นนี้เองได้ส่งผลให้การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย กลายเป็นมหกรรมประจำปีที่สร้างแรงกดดันและความเครียดให้กับนักเรียน รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองกว่าหลายแสนคนในแต่ละปี โดยเฉพาะในปีนี้ (2564) ที่นักเรียนต้องพบกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งบังคับให้พวกเขาต้องหยุดเรียน ในบางช่วงต้องเรียนออนไลน์ และต้องสอบอีกมากมาย เพื่อเก็บสะสมคะแนนไว้ใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ที่กำหนด

ความเครียดและกดดันในปีนี้ ถึงขั้นนักเรียนจำนวนหนึ่งไปร้องศาลปกครองขอให้เลื่อนการสอบ O-Net GAT/PAT วิชาสามัญ และการสอบอื่นๆ ออกไป เพราะตารางวันสอบที่ติดต่อกันหลายวัน มันมากเกินกว่าสภาพจิตใจของนักเรียนเหล่านั้นจะรับได้ สุดท้ายศาลปกครองไม่รับคำร้อง ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย


2.สถานการณ์ที่กดดันและชี้ขาดอนาคตของนักเรียนด้วยการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเช่นนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเรียกร้องมาอย่างยาวนาน เพื่อให้มีการทบทวน และแก้ไขปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยใหม่

ระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 60 ปี โดยมีจุดเด่นสำคัญคือ “ความยุติธรรม” ของการสอบคัดเลือก ในอดีตมีการกล่าวขานและยอมรับร่วมกันในสังคมไทยว่า ระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เป็น “สิ่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีการทุจริต” เพราะประวัติศาสตร์กดดันให้ผู้บริหารการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ต้องยอมสร้างขั้นตอนและกลไกมากมายที่สร้างความยุ่งยาก ให้แก่การทำงานของทุกฝ่ายไปจนถึงตัวนักเรียน เพื่อจะได้มั่นใจว่า กระบวนการยุติธรรมนั้นไม่มีเส้นสาย และไม่มีใครสามารถวิ่งเต้นได้

แม้ว่าจะเป็นความภาคภูมิใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ในอีกด้านระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยดังกล่าว ก็ต้องเผชิญกับประเด็นปัญหาในเรื่อง “ความยุติธรรมของกระบวนการสอบคัดเลือกไม่เท่ากับความยุติธรรมของผลลัพธ์” นี่เป็นปมปัญหาที่น่ากังวลสำหรับผม จึงต้องขอลงรายละเอียดเพื่อการข้ามผ่านความเหลื่อมล้ำอันเป็นอุปสรรคของนักเรียนส่วนใหญ่ได้อย่างราบรื่น ในกรณีที่ระดับนโยบาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และยินดีนำไปปฏิบัติ

3.ความยุติธรรมของผลลัพธ์ คือ การที่นักเรียนทุกคนมีโอกาส และฐานคุณภาพการศึกษาที่เท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนั้น การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบปัจจุบัน จึงจะให้ความยุติธรรมของผลลัพธ์ได้อย่างแท้จริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนก็ทราบดีว่า โอกาสในการเข้าสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียนทุกคนมีเท่ากัน และกระบวนการสอบคัดเลือกก็โปร่งใสยุติธรรม กระนั้น ผลลัพธ์ที่ออกมากลับมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นมากมาย เช่น

ประการแรก ระบบการสอบของสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และการสอบเฉพาะทางวิชาชีพของคณะต่างๆ ในแต่ละมหาวิทยาลัย ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเช่น ค่าสมัคร ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก เป็นต้น และถ้านักเรียนต้องการสมัคร 10 แห่ง เพื่อให้มีโอกาสในการเลือกที่ได้เปรียบที่สุดตามศักยภาพทางวิชาการของตัวเอง แน่นอนว่า นักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีนักเรียนอีกจำนวนมากที่พ่อแม่ไม่มีเงินพอจะจ่ายให้ลูกได้ตามแผนการสมัครที่ดีที่สุดของเขา นี่เป็นความยากจนอันส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

4.ประการที่สอง สืบเนื่องจากนักเรียนที่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม โดยเฉพาะมัธยมปลายที่มีคุณภาพต่างกันอย่างมาก เช่น โรงเรียนมัธยมของจังหวัดชายขอบ กับโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร ถ้าให้นักเรียนจากสองแห่ง (ตามตัวอย่างนี้) มาแข่งขันทำข้อสอบคัดเลือกเข้าคณะแพทยศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แน่นอนว่า นักเรียนจากโรงเรียนชายขอบจะไม่ได้รับคัดเลือกจากเกณฑ์ และระบบการสอบคัดเลือกปัจจุบัน ดังนั้นแม้กระบวนการสอบแข่งขันจะมีความยุติธรรมและโปร่งใส แต่คำถามที่ตามมาก็คือ จะมีหลักประกันอะไรที่บอกได้ว่า นักเรียนจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ถ้าเรียนสำเร็จกลายเป็นแพทย์ หรือวิศวกรแล้วจะทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนได้ดีกว่า และมากกว่านักเรียนจากโรงเรียนชายขอบ (ในกรณีถ้าเขามีโอกาสสอบเข้าเรียนแพทย์หรือวิศวะ)

ในอีกด้านหนึ่งมีคำถามว่า การที่นักเรียนจากโรงเรียนชายขอบสอบเข้าแพทย์หรือวิศวะไม่ได้ ถ้าเขามีโอกาสได้เข้าเรียนแพทย์หรือวิศวะ เขาจะไม่สามารถเรียนจนสำเร็จได้ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยหรือ ซึ่งถ้าคำตอบออกมาว่า นักเรียนจากโรงเรียนชายขอบมีความสามารถเรียนแพทย์หรือวิศวะได้สำเร็จ ดังนั้น การที่ระบบสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย “คัด” นักเรียนคนนี้ “ออก” ก็เท่ากับประเทศไทยเสียโอกาสที่จะมีแพทย์หรือวิศวะไปด้วยเช่นกันนั่นจึงหมายความว่า การไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ได้หมายถึงการที่นักเรียนคนนั้นไม่สามารถเรียนในมหาวิทยาลัยได้สำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐาน เพราะฉะนั้นข้อสรุปนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ “กระทรวงศึกษาธิการ” และ “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” จะต้องร่วมกันทบทวนระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยให้รอบคอบอีกครั้ง

5.สำหรับผม ข้อเสนอแนะเชิงแนวคิดต่อระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ เห็นว่าต้องยึดหลักการสำคัญ 2 ประการ คือ

1.การคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต้องพิจารณาจากเกณฑ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ หนึ่ง คุณภาพทางวิชาการที่จะต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อรับประกันว่านักเรียนจะสามารถเรียนสาขาวิชาที่เลือกได้สำเร็จ และสองโอกาสในการนำความรู้และทักษะจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยออกไปใช้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เสียเปรียบของประเทศ

2.การคัดเลือกจะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส และเป็นธรรมกับนักเรียนที่สมัครเข้าแข่งขัน ภายใต้แนวคิดนี้ระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จึงไม่เน้นที่การคัดเลือกนักเรียนที่เก่งวิชาการที่สุดเข้าไปก่อน แต่เน้นที่มาตรฐานวิชาการขั้นต่ำที่จะรับประกันคุณภาพ ตามเกณฑ์ประกอบวิชาชีพของนักเรียนในอนาคต และเพิ่มน้ำหนักให้กับการที่นักเรียนจะออกไปทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชน ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นธรรม

ภายใต้กรอบแนวคิดเช่นนี้ ระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จะใช้คะแนน GAT/PAT และ O-Net เป็นสำคัญ เพื่อการคัดกรองมาตรฐานทางวิชาการขั้นต่ำของนักเรียนที่จะต้องผ่าน ซึ่งคะแนนขั้นต่ำนี้จะเป็นหลักประกันความสามารถในการเรียนจนสำเร็จตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้ จากนั้นจะพัฒนาระบบ กลไก และเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์วิชาการแล้ว เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความพร้อมทางการปฏิบัติ และความต้องการทางจิตใจ ที่จะออกไปทำงานตามวิชาชีพที่เรียนมาในพื้นที่เป้าหมายของประเทศ

6.ดังนั้น เมื่อแนวคิดและระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ดังที่กล่าวมานี้ เป็นที่ยอมรับของประชาชน และผู้รับผิดชอบทางนโยบายของประเทศ การพัฒนาวิชาการ และกลไกให้เกิดขึ้นจริง ก็จะสามารถพัฒนาขึ้นตามมาได้ไม่ยากเลย

ด้วยเกณฑ์การคัดเลือกเช่นนี้ จะช่วยให้ประเทศได้บัณฑิตคุณภาพสูงไปทำงานในพื้นที่ที่เสียเปรียบของประเทศ กระบวนการสอบคัดเลือกแบบนี้จะช่วยลดช่องว่าง หรือความเหลื่อมล้ำของประเทศได้อย่างมาก ความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นในสังคม ความสมานฉันท์จะงอกงามบนแผ่นดินไทย ความเป็นพลเมืองของคนไทยจะเข้มแข็ง

ท้ายที่สุด ผมคิดว่า ปัญหาระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ใช่เรื่องที่แก้ไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันให้เกิดขึ้นเสียก่อน “ภาวะผู้นำ” จึงมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมองเห็นปัญหา และการหาทางออก รวมไปถึงการบริหารจัดการคน และนโยบาย ถ้าสามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และช่วยกันลงมือทำ

กนก วงษ์ตระหง่าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'กองทัพเรือ\'จัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 132 วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคมนี้ 'กองทัพเรือ'จัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 132 วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคมนี้
  • The Active ไทยพีบีเอส ชวนร่วมงาน “เท่าหรือเทียม: เส้นทางความเหลื่อมล้ำ คนจนเมือง” The Active ไทยพีบีเอส ชวนร่วมงาน “เท่าหรือเทียม: เส้นทางความเหลื่อมล้ำ คนจนเมือง”
  • พุทธศาสนิกชนนับหมื่น ร่วมทำบุญวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่วัดพระธรรมกาย พุทธศาสนิกชนนับหมื่น ร่วมทำบุญวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่วัดพระธรรมกาย
  • \'พระไพศาล วิสาโล\' เตือนสติชาวพุทธ อย่าสิ้นศรัทธาพระรัตนตรัย ใช้ข่าวพระผู้ใหญ่เป็นครูสอนใจ 'พระไพศาล วิสาโล' เตือนสติชาวพุทธ อย่าสิ้นศรัทธาพระรัตนตรัย ใช้ข่าวพระผู้ใหญ่เป็นครูสอนใจ
  • \'มทภ.2\' นำสิ่งของพระราชทาน จาก\'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ\' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา 'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา
  • \'ม.กรุงเทพธนบุรี\'ลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ\'ม.เกษตรศาสตร์\' 'ม.กรุงเทพธนบุรี'ลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ'ม.เกษตรศาสตร์'
  •  

Breaking News

‘ไผ่’ตอก‘ไอติม’อยู่แต่ กทม.ไม่รู้ สส.บ้านนอกทำงานแบบไหน กวักมือไปดูงานกำแพงเพชร

ตำรวจบางละมุง 'รวบสองคู่หู'ลักเหล็กอลูมิเนียม อ้าง!ตกงาน-เลี้ยงแม่ป่วย

เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)

เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved