วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
อาจารย์นักออกแบบจุฬาฯ ผนึกกำลัง สร้างแบรนด์ผ้าทอเมืองน่านร่วมสมัย

อาจารย์นักออกแบบจุฬาฯ ผนึกกำลัง สร้างแบรนด์ผ้าทอเมืองน่านร่วมสมัย

วันพฤหัสบดี ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง การที่อาจารย์นักออกแบบรุ่นใหม่ระดมสมองร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง นำการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Cultural Creative Tourism) ด้วยความหวังจะช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมกันพัฒนาสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีเอกลักษณ์จำเพาะจากทุนวัฒนธรรมของจังหวัดน่านสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมในระบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะกับทุนนวัตกรรมพื้นถิ่น

ศ.ดร.พัดชาอธิบายว่า การพัฒนาผ้าดังกล่าว สืบเนื่องจากโครงการวิจัยนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จังหวัดน่านสู่สากล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 (C2F) โครงการวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการศึกษาปัญหาของอุตสาหกรรมผ้าทอพื้นเมือง ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.เวียงสา อ.ท่าวังผา อ.สองแคว และ อ.ปัวหนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบคือ คนรุ่นใหม่ไม่สนใจสานต่ออุตสาหกรรมการทอผ้าจากบรรพบุรุษ เพราะมองไม่เห็นโอกาสในการสร้างรายได้ ไม่เห็นช่องทางการตลาดหรือแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัย จากปัญหาดังกล่าวนำมาสู่แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ “ผ้าไทยไม่จำเป็นต้องสวมใส่แบบเดิมอย่างโบราณ เราพยายามดึงไอเทมร่วมสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมไว้ด้วยกันออกแบบให้เป็นแฟชั่นสมัยนิยม มีความร่วมสมัยที่คนอยากหยิบจับมาสวมใส่ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายคนเมืองที่จะสวมใส่ได้ในโอกาสต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้งลำลอง เดรส แจ๊กเกต สเกิร์ตชุดพิธีการ เป็นต้น”


ใน 5 อำเภอ ที่เป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการ ศ.ดร.พัดชากล่าวว่า ได้ แบ่งกลุ่มผู้ผลิตและประกอบการผ้าทอเป็น 8 คลัสเตอร์ โดยนำเสนออัตลักษณ์ผ้าทอและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว ได้แก่ บ้านซาวหลวง ประยุกต์ลายน้ำไหลจากชาวไทลื้อโบราณ เน้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน และเฟอร์นิเจอร์ ร้านวราภรณ์ผ้าทอ ลายผ้าเรียบง่าย สีสันสดใสผสมโทนสีเทามีความเป็นยูนิฟอร์มร่วมสมัย ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน พัฒนาลวดลายเดิมด้วยการจัดวางใหม่จากวัฒนธรรมม้งเน้นความคล่องตัวใส่สบาย สไตล์มินิมอล ร้านฝ้ายเงิน ลวดลายวัฒนธรรมไทลื้อ เน้นสีสันสดใส ดีไซน์สนุกกับแนวเสื้อโอเวอร์ไซส์ บ้านปางกอม ลวดลายไทลื้อที่มีความเป็นสากล ด้วยเอิร์ทโทน เหมาะกับ Gen Y สายรักษ์โลกโกโก้วัลเล่ย์ กลุ่มทอผ้าไทลื้อ เน้นกลุ่มไลฟ์สไตล์ชอบเที่ยว อินดี้ ไม่เหมือนใคร ไทมูล ลวดลายท้องถิ่นไทลื้อ เน้นความแปลกตาผสมกับรูปทรงเรขาคณิต อิสระและเรียบง่าย และมีสเอโปรดักส์ ลายไทลื้อที่มีความสตรีทแวร์ สวยสบาย คล่องตัว

อีกทั้งในจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตัดไผ่เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เวลาตัดไผ่หนึ่งต้น ด้านบนของไผ่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นตะเกียบ ไม้จิ้มอาหาร แล้วเหลือเศษไผ่ฝอยๆ ที่ได้จากการเหลาไม้ เราจึงนำเศษฝอยเหล่านี้มาปั่นและตีจนเป็นเส้นใยเพื่อทอเป็นผ้าร่วมกับเส้นไหมหรือฝ้าย เพิ่มมูลค่าและลดปัญหาอันเกิดจากขยะได้ในอีกทาง

หนึ่งในวิธีที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอของจังหวัดน่านให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและครบวงจรคือการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เส้นทางท่องเที่ยวสายผ้าทอ “ภูษาพาจร” โดยมีจุดเน้นที่ผ้าทอ ทั้งนี้ โครงการได้ปักหมุดทริปท่องเที่ยว 3 เส้นทาง สำหรับนักท่องเที่ยวหลากหลายแนว ได้แก่ เส้นทางช้อป-ชิม-แชร์ (Shop, Taste, Share) จับกลุ่มนักเดินทางทั่วไปที่อยากชิมประสบการณ์ เยี่ยมชมกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอ ซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึก และรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มท้องถิ่นหรือพักแบบโฮมสเตย์เส้นทางสัญจร เส้นทาง “สิ่งทอและงานฝีมือ” (Textile and CraftDestination) เส้นทางนี้เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ทดลองทำงานฝีมืออาทิ ทอผ้าหรือย้อมสีผ้าเป็นของที่ระลึก และ เส้นทาง “ต่อยอดเชิงธุรกิจ” (Creative Entrepreneur Route) เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือนักออกแบบ ที่กำลังมองหาวัตถุดิบ แรงบันดาลใจ ศ.ดร.พัดชา กล่าวว่า เราพบว่าดีไซเนอร์ท้องถิ่นหรือผู้ประกอบการขนาดย่อมไม่สามารถผลิตผ้าเป็นของตัวเองได้เนื่องจากการผลิตผ้าในระดับโรงงานต้องมีออเดอร์จำนวนมากถึงจะสั่งทอผ้าได้ แล้วหากจะตีไผ่ปั่นด้ายเองก็ล่าช้าใช้กำลังคนจำนวนมาก ดังนั้น หากเราสามารถทำโรงงานนำร่องผลิตเส้นใยได้ ดีไซเนอร์ที่ต้องการผ้าจำนวนไม่มาก เช่น ออเดอร์เพียง 50 หลา ก็สามารถผลิตผ้าและสร้างสรรค์คอลเลคชั่นของตัวเองได้”

ศ.ดร.พัดชากล่าวปิดท้ายว่า หากโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง ระยะต่อไปที่จะลงมือสานต่อคือการให้แต่ละชุมชนมีเครื่องมือที่ดีดเส้นใยได้ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนขายได้ทั้งเส้นด้ายและผ้าทอ เป็นการเพิ่มโอกาสทางอาชีพมากขึ้น อีกทั้งดีไซเนอร์รุ่นใหม่จะได้สร้างสรรค์แฟชั่นที่ตอบโจทย์ยุคสมัยและกระแสความยั่งยืน และยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพสู่สากลด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง ระดม 13 ผู้เชี่ยวชาญต่อต้านข่าวปลอม ยกระดับสังคมรู้เท่าทันสื่อและ AI Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง ระดม 13 ผู้เชี่ยวชาญต่อต้านข่าวปลอม ยกระดับสังคมรู้เท่าทันสื่อและ AI
  • ‘เรามีเวลาเท่ากัน’บริหารเวลาและชีวิตด้วยแนวคิดแบบ‘ซีเค เจิง’ ‘เรามีเวลาเท่ากัน’บริหารเวลาและชีวิตด้วยแนวคิดแบบ‘ซีเค เจิง’
  • ‘หอมนสิการ’พลิกโฉมสู่มิวเซียมระดับโลก ชวนสัมผัสประสบการณ์ธรรมะ Immersive แห่งแรกของไทย ‘หอมนสิการ’พลิกโฉมสู่มิวเซียมระดับโลก ชวนสัมผัสประสบการณ์ธรรมะ Immersive แห่งแรกของไทย
  • สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ผนึกกำลังภาคธุรกิจขับเคลื่อน \'โครงการฝึกงานมาตรา 35\' ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ผนึกกำลังภาคธุรกิจขับเคลื่อน 'โครงการฝึกงานมาตรา 35' ส่งเสริมอาชีพคนพิการ
  • ไทยพีบีเอส ขึ้นเวที Shanghai International Film Festival 2025 นำเสนอคอนเทนต์ไทย สู่เวทีระดับโลก ไทยพีบีเอส ขึ้นเวที Shanghai International Film Festival 2025 นำเสนอคอนเทนต์ไทย สู่เวทีระดับโลก
  • วว.จัดทำนโยบายการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 วว.จัดทำนโยบายการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
  •  

Breaking News

(คลิป) 'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย

‘รอง ผบช.ภ.1’เช็คความคืบหน้าโครงการ‘ตำบลยั่งยืน’สภ.บางแม่นาง

อาลัย! 'เจ้าจิราพันธุ์ ณ เชียงใหม่' ถึงแก่กรรมอย่างสงบ สิริรวมอายุ 100 ปี

‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ตีกลับ‘ประธานสภา’ตรวจสอบลายมือชื่อก๊วนสส.ร้องสอบ‘พิเชษฐ์’ฝ่าฝืนรธน.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved