วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
อ่านฉบับเต็ม! จำคุก'วัฒนา เมืองสุข' 99 ปี ปิดฉากคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร

อ่านฉบับเต็ม! จำคุก'วัฒนา เมืองสุข' 99 ปี ปิดฉากคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร

วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565, 19.50 น.
Tag : วัฒนา เมืองสุข บ้านเอื้ออาทร เสี่ยไก่ คุกวัฒนา
  •  

องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก"เสี่ยไก่-วัฒนา" 99 ปีคดีทุจริตบ้านเอื้อ แถมสั่งริบเงินและให้จ่ายเงินร่วมกับจำเลยอื่นคนละ 89 ล้าน ด้านทนายตกใจ น้อมรับคำพิพากษา แต่ไม่รับว่าทำผิด

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 4 มี.ค. 65 องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงคำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ได้อ่านคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 ที่อัยการสูงสุดโจทก์และนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จำเลยกับพวกรวม 7 คนยื่นอุทธรณ์


องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า คณะกรรมการ คตส. แต่งตั้งประธานอนุกรรมการตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2559 จึงมีอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป รวมถึงอำนาจในการสอบปากคำพยานบางปากตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 9  จึงเป็นการไต่สวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และปรากฏข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการป.ป.ช. และอัยการสูงสุดได้แต่งตั้งผู้แทนเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ ซึ่งการประชุมครั้งสุดท้ายคณะทำงานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์จนไม่มีข้อโต้แย้งกัน และได้ข้อยุติแล้วก่อนมีการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดฟ้องเป็นคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้องของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบกับพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 มาตรา 5 บัญญัติให้ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 28 ยังบัญญัติด้วยว่า ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของการเคหะแห่งชาติ (กคช. ) จำเลยที่  1 จึงเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป จำเลยที่ 1ย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการออกนโยบาย กำหนดแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้าง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการยื่นข้อเสนอเพื่อจัดทำโครงการ รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการยกเลิกประกาศการเคหะแห่งชาติฉบับเต็มและออกประกาศการเคหะแห่งชาติฉบับใหม่ หรือสั่งให้การเคหะแห่งชาติปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ซึ่งกิจการของการเคหะแห่งชาติ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ใช้อำนาจโดยมิชอบตั้งกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1ย่อมครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 (เดิม) แล้ว

ประเด็นจำเลยที่ 1กระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลได้มอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่นั้น เห็นว่า “ขณะที่มีการไต่สวนโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552 ยังไม่มีบทบัญญัติการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี ซึ่งเป็นอำนาจของ คตส. ที่จะกันบุคคล หรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยานได้ เมื่อการสอบถ้อยคำพยานเป็นประโยชน์ต่อการไต่สวน และมิได้มีการจูงใจให้พยานต้องให้การผิดไปจากมูลความจริง และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนได้กำหนดเนื้อหาที่พยานต้องให้การไว้เป็นการล่วงหน้า หรือมีการชี้นำพยานว่าต้องให้การยืนยันไปในทางไต่สวน โดยพยานมีอิสระที่จะใช้การไปตามความเห็นของตน จึงมิได้เป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการจูงใจหรือมีคำมั่นสัญญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 288 และรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงได้ ขณะจำเลยที่ 1 เป็นรัฐมนตรี มีการจัดทำหนังสือนส่งเอกสาร
ประกอบการประชุมคณะกรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติโดยระบุชื่อ จำเลยที่ 4 ในฐานะที่ปรึกษาจำเลยที่ 1หลายครั้ง และจำเลยที่ 5 ก็อ้างว่าจำเลยที่ 4 เป็นทีมงานที่ปรึกษาของจําเลยที่ 1 พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 4  เป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 อย่างไม่เป็นทางการ

นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ได้เข้าร่วมประชุมมอบนโยบายให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการบ้านเอื้ออาทรใหม่ และจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติให้ผู้ประกอบการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร แม้ผู้ประกอบการบางรายได้รับอนุมัติก่อสร้างไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนหลักเกณฑ์โครงการบ้านเอื้ออาทรโดยผู้ประกอบการต้องวางหลักประกันมูลค่าร้อยละ 5 และได้รับเงินล่วงหน้าจากการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งการเกี่ยวกับการจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 4 แสดงออกว่าเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ประกอบกับมีการเรียกเงินจำนวนมากจากผู้ประกอบการหลายรายเกี่ยวพันกับโครงการบ้านเอื้ออาทรซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของจำเลยที่ 1 แล้วลำพังจำเลยที่ 4  ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเองได้

การกระทำของจําเลยที่ 1 กับพวกจึงมีลักษณะเป็นขบวนการ เชื่อว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นถึงการกระทำของจำเลยที่ 4 ด้วย ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมข่มขืนใจหรือจูงใจแก่ให้ผู้ประกอบการมอบเงินให้เพื่อตอบแทนที่การเคหะแห่งชาติอนุมัติให้เข้าทำสัญญาตามฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดตามพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ส่วนประเด็นการริบทรัพย์สินนั้น เห็นว่า เมื่อเงินที่จำเลยที่ 1กับพวกได้มาเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 42 และ 43 ยังไม่มีผลใช้บังคับ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบรัพย์สิน จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน แม้โจทก์ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเงินแล้ว ศาลจึงมีอำนาจริบเงินได้ ทั้งต้องปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะที่ดี อันมีผลถึงประเด็นอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย

สำหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 45 เป็นมาตรการเพื่อการบังคับให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศาลสั่งริบ จึงนำมาใช้บังคับให้จำเลยที่ 1 ส่งเงินที่รับโดยชำระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบพร้อมด้วยดอกเบี้ยได้

ประเด็นการริบเงิน 89 ล้านบาท ตามอุทธรณ์โจทก์นั้น เห็นว่า การจ่ายเงินจำนวน 89 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 7 เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนในการผลักดันโครงการบ้านเอื้ออาทรของบริษัท  และโครงการอื่นเงินจำนวน 89 ล้านบาท จึงเป็นเงินที่สัมพันธ์กับเงินสินบนที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรอื่นของบริษัท เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่ศาลมีอำนาจริบได้

พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 422, แต่ให้ปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (2) ริบเงิน 89 ล้านบาท ด้วย โดยให้จำเลยผู้มีหน้าที่ต้องส่งเงิน 89 ล้านบาท  และให้จำเลยที่ 1 ที่ 4-8 และที่ 10 ร่วมกันชำระเงินแทนตามมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกคนละ 89 ล้านบาท จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกำหนดไว้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ภายหลังนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความของนายวัฒนา เมืองสุข จำเลยที่ 1 เปิดเผยว่า จากการฟังคำพิพากษา จากชั้นต้นถึงชั้นอุทธรณ์ ขณะนี้ยังไม่มีเเนวทางว่าจะต่อสู้อย่างไร ยังตกใจกับคำตัดสิน ขอตั้งหลักก่อน เเต่ทางทีมทนายจะกลับไปทบทวนว่า การต่อสู้คดีมีความบกพร่องใดเรื่องใด เเต่พร้อมยอมรับคำพิพากษา เเต่ตัวนายวัฒนา ก็ยังยืนยันว่าไม่ได้ทำความผิด ยังยืนยันว่าการต่อสู้มานาน 5 ปี ก็ยังเชื่อว่านายวัฒนาเป็ผู้บริสุทธิ์ เเละ ไม่เคยคิดหลบหนี เชื่อในความบริสุทธ์ของตัวเอง เเต่ก็เคารพในการตัดสินศาลยุติธรรม โดยการเข้ามาฟังคำพิพากษาวันนี้ไม่ได้เตรียมทั้งเสื้อยืดเเละรองเท้าเเตะ มาเพราะพร้อมที่จะกลับบ้าน

ส่วนที่ผ่านมานายวัฒนา เชื่อว่าคดีนี้เป็นเรื่องการเมืองล้าน % นั้น ทนายความบอกว่า เรื่องนี้ไม่สามารถก้าวล่วงได้ แต่เชื่อว่าการที่ศาลตัดสินบนพยานหลักฐานจะคิดว่าเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ เชื่อว่าคำพิพากษาที่ออกมาโดยละเอียด ประชาชนที่ได้ได้ยิน ได้เห็นได้อ่าน ควรใช้วิจารณญานเเละเรียบเรียงเองว่า เป็นเรื่องการเมืองหรือไม่อย่างไร

-001

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ประเสริฐ’มอง‘ยิ่งลักษณ์’ไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัดตอบกระทบกลับไทย

กทม. ปิดประชุม CMC 2025 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จัดการภัยพิบัติ พร้อมส่งไม้ต่อ ‘กรุงโซล’

กกต.ชงศาลฎีกาฟันอาญา 2 ผู้สมัครสว.สมุทรปราการ เสนอผลประโยชน์แลกลงคะแนน

กทม.เช็กลิสต์แก้น้ำท่วมจากการก่อสร้างรฟฟ.สีส้มตะวันตกและม่วงใต้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved