วันจันทร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ

กรมชลฯเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมตรัง ขีดเส้นต้องแล้วเสร็จภายในปี2565

วันเสาร์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : น้ำ กรมชลประทาน
  •  

 

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง จ.ตรังว่า ขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมากกว่า70% ของแผนงาน กรมชลประทานจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำซากในเขตพื้นที่ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะหมิง และตำบลบางรัก อำเภอเมือง จังหวัดตรังประมาณ 10,525 ไร่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้คลองผันน้ำยังสามารถเก็บกักน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ไว้สำหรับการเกษตร การอุปโภคในฤดูแล้ง เป็นแหล่งน้ำดิบช่วยสนับสนุนการผลิตน้ำประปาประมาณ 1.74 ล้านลบ.ม.ต่อปี รวมถึงช่วยผลักดันน้ำเค็มได้อีกด้วย โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ในฤดูฝน 10,000 ไร่ ฤดูแล้ง 3,000 ไร่


ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดตรังคือ ฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำตรัง ทำให้มวลน้ำจำนวนมากไหลบ่าลงสู่แม่น้ำตรังทันที เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลายและไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ช่วยชะลอน้ำหลาก ในขณะที่ประสิทธิภาพการรับน้ำของแม่น้ำตรังรับได้เพียง 600 ลบ.ม.ต่อวินาทีเท่านั้น ประกอบกับบางช่วงของแม่น้ำยังตื้นเขิน และมีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำอีกด้วย ซึ่งจากสถิติน้ำหลากพบว่าจะมีปริมาณเฉลี่ยถึง 1,400 ลบ.ม.ต่อ วินาทีจึงทำให้น้ำล้นตลิ่งเกิดภาวะน้ำท่วมเป็นประจำดังกล่าว

สำหรับโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ประกอบด้วยงานสำคัญๆ คือ คลองผันน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำของแม่น้ำตรัง ในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยก่อสร้างคลองผันน้ำความยาว 7.6 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 750 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อรวมกับศักยภาพรับน้ำของแม่น้ำตรัง จะสามารถระบายน้ำไม่ให้ท่วมได้ นอกจากนี้จะมีก่อสร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำบริเวณปากคลองผันน้ำ เพื่อใช้ควบคุมและบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และประตูระบายน้ำบริเวณปลายคลองผันน้ำ เพื่อใช้กักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งก่อสร้างอาคารประกอบและอื่นๆ บริเวณแนวคลองผันน้ำ ได้แก่ สะพานรถยนต์ จำนวน 6 แห่ง เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่าง 2 ฝั่งคลอง อาคารรับน้ำจำนวน 24 แห่ง ตลอดแนวคลองผันน้ำเพื่อรับน้ำจากที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ข้างเคียงลงสู่คลองผันน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ ตลอดจนก่อสร้างถนนบนคันคลองทั้ง 2 ฝั่งเพื่อสาธารณประโยชน์อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชป.เดินหน้าก่อสร้างปตร.ห้วยสำราญ(ระยะ 2) บรรเทาปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งเมืองศรีสะเกษ ชป.เดินหน้าก่อสร้างปตร.ห้วยสำราญ(ระยะ 2) บรรเทาปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งเมืองศรีสะเกษ
  • กรมชลฯลุยแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากลุ่มเจ้าพระยา วาง9แผน กัก/เก็บ/ระบาย มั่นใจแก้ปัญหาได้จริง กรมชลฯลุยแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากลุ่มเจ้าพระยา วาง9แผน กัก/เก็บ/ระบาย มั่นใจแก้ปัญหาได้จริง
  • อุตรดิตถ์เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ เข้าช่วยเหลือปชช.ผู้ใช้น้ำอุปโภค-บริโภคท้ายเขื่อนสิริกิติ์ อุตรดิตถ์เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ เข้าช่วยเหลือปชช.ผู้ใช้น้ำอุปโภค-บริโภคท้ายเขื่อนสิริกิติ์
  • อธิบดีกรมชลประทานติดตามความก้าวหน้า ก่อสร้าง-บริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำยมตอนล่าง อธิบดีกรมชลประทานติดตามความก้าวหน้า ก่อสร้าง-บริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำยมตอนล่าง
  •  

Breaking News

ภท.เดือดจัด! จวกกลับ'แพทย์ชนบท'ไร้มารยาท บังอาจวิจารณ์กัญชาเป็นยาเสพติด

ปักป้าย'หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน' กลางสะดืออีสานเมืองมหาสารคาม 2 ตำบล

ร.ต.ต.เครียดจัด! ปลิดชีพคาโต๊ะทำงาน ทิ้งจม.ลาไร้ทางออก ปมนายหน้าขายปืน

นาทีช่วยชีวิตชาวประมงกลางทะเลสตูลถูกคลื่นซัดดับ 1 รอด 1 ราย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved