วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘กสม.’ร่วมภาควิชาการ3มหาวิทยาลัย  เปิดเวทีสะท้อนความเห็น‘บริหารจัดการนํ้า’

‘กสม.’ร่วมภาควิชาการ3มหาวิทยาลัย เปิดเวทีสะท้อนความเห็น‘บริหารจัดการนํ้า’

วันจันทร์ ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์จัดการและบริการข้อมูลสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดเวทีเสวนา “Policy Dialogue ก้าวสู่ปีที่ 5 พระราชบัญญัติน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 : สิทธิมนุษยชนในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ ห้องประชุม 709 สำนักงาน กสม. และผ่านระบบออนไลน์

ซึ่งงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม เพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์น้ำ ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการบริหารจัดการน้ำบนฐานสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในประเด็นปัญหาการบริหารจัดการน้ำ นักวิชาการและภาคประชาสังคมได้ร่วมกันสะท้อนว่า


แม้ปัจจุบันจะมีการบังคับใช้พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาเป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปี โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ตลอดจนจัดให้มีองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำที่สะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำในประเทศตามกฎหมายฉบับนี้ยังมีลักษณะเป็นการรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจโดยรัฐ

เนื่องจากแม้กฎหมายจะกำหนดให้มีคณะกรรมการลุ่มน้ำอันมีองค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ แต่กลไกดังกล่าวยังจัดตั้งขึ้นอย่างล่าช้าและขาดการถ่วงดุลอำนาจในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ชุมชนยังไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ภาครัฐยังคงวางบทบาทเป็นผู้กุมอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำซึ่งไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการบัญญัติกฎหมายที่ต้องการสร้างมิติใหม่ในการมีส่วนร่วมของประชาชน

สำหรับการประเมินสถานการณ์น้ำในประเทศ กสม. ได้รับเสียงสะท้อนและข้อมูลทางวิชาการว่า ประเทศไทยอาจมิได้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยแต่ละลุ่มน้ำมีปริมาณน้ำพอเพียงที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ทั้งภาคเกษตรกรรม ครัวเรือน และอุตสาหกรรม และแม้ในภาคอีสานก็ยังมีปริมาณน้ำฝนในระดับที่เพียงพอ แต่ปัญหาคือประเทศไทยยังขาดการวางแผนกักเก็บและบริหารจัดการน้ำในภาพรวม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้เข้าใจธรรมชาติของน้ำในพื้นที่

โดยจะสามารถรายงานข้อมูลตลอดจนวางแผนและออกแบบการใช้และกักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการน้ำให้ลงไปในระดับพื้นที่โดยหน่วยงานรัฐส่วนกลางมีบทบาทเป็นเพียงผู้ติดตามกำกับดูแล จึงเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายสะท้อนว่าต้องผลักดันให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี ชุมชนควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐรวบรวมไว้เพื่อออกแบบและจัดทำแผนที่น้ำระดับชุมชนของตนด้วย

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนในแต่ละลุ่มน้ำ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับท้องที่ ชุมชน และร่วมกับคณะกรรมการลุ่มน้ำและองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทลุ่มน้ำและการพิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ สอดคล้องกับระบบนิเวศในลุ่มน้ำ การดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชนในแต่ละพื้นที่ และความต้องการใช้น้ำของแต่ละกลุ่ม

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Impact Assessment : SEA) ของแผนแม่บทลุ่มน้ำ และมีการประเมินความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม น้ำแล้ง หรือน้ำเสีย เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการเยียวยาความเสียหาย โดยบูรณาการการทำงานของหน่วยงานของรัฐที่ใช้น้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนจังหวัด จึงจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อันสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของ กสม. เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2565 น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเสวนาครั้งนี้ว่า เป็นการเสวนาโดยเน้นไปที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ซึ่งสืบเนื่องจาก กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบโครงการผันน้ำยวม และโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล แล้วเห็นว่า ทางออกของเรื่องนี้ไม่ควรพิจารณาเฉพาะโครงการพัฒนาที่เกิดจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องดูปริมาณน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำนั้นด้วย

เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง และหากมีภาคอุตสาหกรรมก็จะมีเรื่องน้ำเสียเข้ามาอีก ซึ่งเมื่อ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ออกแบบให้มีกลไกการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมก็ต้องมีการหารือกันขององค์กรผู้ใช้น้ำและคณะกรรมการของแต่ละลุ่มน้ำ อีกทั้งต้องมีข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติ และมีคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ ดังนั้นการพัฒนาโครงการจำเป็นต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทลุ่มน้ำ ทั้งนี้ สทนช. มีแผนแม่บทลุ่มน้ำแล้ว แต่ประชาชนไม่รู้ข้อมูล

“มันจะต้องเอาแผนแม่บทลุ่มน้ำมาประชุมร่วมกันกับกรรมการลุ่มน้ำและองค์กรผู้ใช้น้ำ แล้วมาดูว่าในปริมาณน้ำที่มันมีอยู่ในลุ่มน้ำนั้น เราจะจัดการอย่างไรให้สมดุลกับผู้ใช้น้ำในหลายภาคส่วน แล้วถ้ามันจำเป็นจริงๆ มันต้องจัดการอย่างไรที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นประชาชนจึงมีคำถามว่าโครงการผันน้ำมันจำเป็นหรือไม่ เพราะในเมื่อลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในรายละเอียดอีกเยอะ ในข้อมูลที่นักวิชาการนำเสนอว่ามันมีการปล่อยน้ำที่สูญเปล่าก็มี แล้วมันก็มีการจัดการน้ำที่สามารถเอาน้ำจากในที่ต่างๆ เข้ามาจัดการได้ มันอาจไม่จำเป็นต้องผันน้ำ” น.ส.ศยามล กล่าว

น.ส.ศยามล กล่าวต่อไปว่า ส่วนการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก จะมีเรื่องของอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือประชาชนไม่รู้ข้อมูล ประชาชนจึงเกิดคำถามว่าภาครัฐเอาน้ำไปให้ภาคอุตสาหกรรมใช้เป็นหลักหรือไม่แต่ในความเป็นจริง ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเช่น EEC ต้องซื้อน้ำ อย่างไรก็ตาม ภาคตะวันออกก็มีภาคเกษตรด้วย ทางออกของแต่ละลุ่มน้ำจึงไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ กสม. เสนอ คือให้ สทนช. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำ โดย กสม. จะเข้าไปร่วมรับฟังด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผลเสี่ยงทาย! \'พระโคพอ-พระโคเพียง\'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568 ผลเสี่ยงทาย! 'พระโคพอ-พระโคเพียง'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568
  • ชี้ชัด! \'ปราสาทตาเมือนธม\' มิใช่ข้อพิพาท \'กรมศิลปากร\'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ชี้ชัด! 'ปราสาทตาเมือนธม' มิใช่ข้อพิพาท 'กรมศิลปากร'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
  • \'ศธ.\'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม 'ศธ.'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม
  • \'สกร.\'เสิร์ฟห้องสมุดมีชีวิต 468 แห่ง เปลี่ยนเวลาบริการประชาชน 'สกร.'เสิร์ฟห้องสมุดมีชีวิต 468 แห่ง เปลี่ยนเวลาบริการประชาชน
  • เสมา 1 ซัพพอร์ต อาชีวะ จับมือแบรนด์ S&P  MK และ KFC  พัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เสมา 1 ซัพพอร์ต อาชีวะ จับมือแบรนด์ S&P MK และ KFC พัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
  • ม.สวนดุสิต เปิดสถาบันศิโรจน์ผลพันธิน ปาฐกถาพิเศษฯ ครั้งที่ 1 \'บทบาทอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ\' (คลิป) ม.สวนดุสิต เปิดสถาบันศิโรจน์ผลพันธิน ปาฐกถาพิเศษฯ ครั้งที่ 1 'บทบาทอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ' (คลิป)
  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

‘สว.โชคชัย’ ท่องไม่รู้-ไม่เห็นหมายเรียก ‘คดีฮั้วสว.’ ขอดูรายละเอียดก่อน

'รุจิระ บุนนาค' เขียนบทความ 'ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved