วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เยอรมนี ชู ‘ไทย ไรซ์ นามา’ ต้นแบบโครงการทำนาลดโลกร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

เยอรมนี ชู ‘ไทย ไรซ์ นามา’ ต้นแบบโครงการทำนาลดโลกร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

วันพุธ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 17.28 น.
Tag : ทำนาลดโลกร้อน ไทย ไรซ์ นามา เยอรมนี
  •  

11 พฤษภาคม 2565 นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วยนางสาวลิโอบา ดอนเนอร์ เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายของประเทศไทย ฝ่ายแผนงานปกป้องสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ด้านความร่วมมือทวิภาคี กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) เข้าเยี่ยมชมแปลงนาและการสาธิตการทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ไทย ไรซ์ นามา) รวมทั้งพบปะเกษตรกรเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำนาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ให้กับเกษตร รวมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแปลงนา ณ กลุ่มนาแปลงใหญ่ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งการเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ ยังประกอบด้วย นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการข้าว

ข้าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทย เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ และการทำนาในประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรทั้งหมด ส่งผลให้การทำนาข้าวของประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นโครงการไทย ไรซ์ นามา จึงมุ่งพัฒนายุทธศาสตร์ตลาดข้าวที่ยั่งยืน พร้อมส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการทำนาลดโลกร้อนให้แก่เกษตรกรตามมาตรการ “3 เพิ่ม 3 ลด” คือ เพิ่มผลผลิตข้าว เพิ่มคุณภาพข้าว เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้น้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทย


คณะฯ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมการสาธิตวิธีการและเทคนิคการปรับระดับหน้าดินด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Leveling -LLL) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี 4 ป. หลักสำคัญของการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การปรับระดับหน้าดินด้วยเลเซอร์ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการแปรสภาพฟางข้าวและจัดการตอซังเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี 4 ป. ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=xhsaQv6aptM) ซึ่งการปรับระดับหน้าดินด้วยระบบเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีหลักที่จะสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในการปฏิบัติเทคโนโลยีอื่นๆ  เช่น ลดการใช้น้ำและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สูบน้ำด้วยการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ลดอัตราการสูญเสียปุ๋ยและข้าวได้รับปุ๋ยสม่ำเสมอทั่วกันทั้งแปลงนาจากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

เทคนิคการทำนาลดโลกร้อนที่โครงการไทย ไรซ์ นามา ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรยังสอดคล้องกับ “ข้อตกลงกลาสโกว์” ในการประชุมรัฐภาคี กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศเจตจำนงในการเข้าสู่สถานะความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608

โครงการไทย ไรซ์ นามา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก NAMA Facility ซึ่งมีรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสหราชอาณาจักรเป็นผู้ให้ทุนหลัก ภายใต้การดำเนินงานโดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยของไทยใน 6 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี จำนวน 100,000 ครัวเรือนให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการทำนาลดโลกร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว และปรับเปลี่ยนสู่การผลิตข้าวที่ปล่อยมลพิษต่ำ โดยโครงการฯ มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 - สิงหาคม พ.ศ. 2566

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมนีที่ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน GIZ ปฏิบัติงานในนามของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศเยอรมนีและต่างประเทศ รวมทั้งรัฐบาลของประเทศต่างๆ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลกและองค์กรที่ให้ทุนอื่นๆ GIZ ดำเนินงานอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 120 ประเทศทั่วโลกและมีพนักงานประมาณ 23,000 คน

-(016)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'นฤมล' ไม่ตกใจประเด็นดราม่า ไม่ทำให้เสียกำลังใจในการทำงาน

‘ภูมิธรรม’ซัด‘เขมร’ เหตุ‘ทุ่นระเบิด’ละเมิดข้อตกลง รวบรวมเรื่องเข้ากระบวนการประท้วง

ประมงพื้นบ้านนำเรือ 'จับปลาใกล้ฝั่ง' หลังอุตุใต้เตือน! 'จะมีคลื่นสูงกลางทะเล'

อ่วม! กกต.ฟันอาญา'หมอเกศ' โทษคุก 10 ปี ตัดสิทธิ์ 20 ปี ปมใช้ศาตราจารย์ลงสมัคร สว.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved