“นฤมล”ไม่ตกใจประเด็นดราม่าและไม่ทำให้เสียกำลังใจในการทำงาน
วันที่ 21 ก.ค.2568 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงประเด็นดราม่าเรื่องใส่กางเกงยีนส์ลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ ว่า ไม่มีอะไรเลย เราไปลงพื้นที่กันครั้งแรกกับทางกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตนก็ไม่ได้สั่งการอะไร โดยเราไปลงพื้นที่ในวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม ซึ่งวันศุกร์ก็ไม่ได้มีดราม่าอะไร แต่พอวันเสาร์-อาทิตย์ เราก็แต่งตัวลงพื้นที่แบบวันเสาร์-อาทิตย์ ตามปกติเหมือนกับไป ครม.สัญจร ถ้าเป็นช่วงวันหยุดในการลงพื้นที่ก็จะใส่ให้มันคล่องตัว เพราะว่าต้องขึ้นรถ ขึ้นเครื่อง และมีการเดินหลายจุดด้วยกัน แต่หลังจากมีประเด็นดราม่า ตนก็ได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แล้วว่าครั้งต่อไปในการลงพื้นที่ถ้าเป็นวันหยุดราชการ ก็ให้รับข้าราชการทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ ครู นักเรียน แต่งกายชุดสุภาพได้ตามอัธยาศัย หรือชุด private ซึ่งก็ควรจะเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ต้องเกรง เพราะว่าการไปลงพื้นที่ไม่ได้ไปแบบราชการ ตนอยากจะไปทราบปัญหาในพื้นที่ อาจจะฟังจากเด็ก ๆว่าเด็ก ๆเขาอยากจะให้ทางกระทรวงศึกษาฯสนับสนุนอะไรอย่างไรบ้าง ซึ่งจากที่เราได้ไปรับฟังจากหลาย ๆโรงเรียน นักเรียนก็ได้ขออุปกรณ์กีฬา ขอเครื่องมือเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม เพราะว่าเป็นอาชีพที่เขาสนใจ และอยากจะไปนั่งล้อมวงคุยกับครู ว่าเขามีปัญหาอะไรยังไง แต่เนื่องจากไม่ได้สั่งการอะไร ทางผู้บริหารทั้งหลายก็คงจะจัดเต็มเหมือนที่ผ่านมาว่ามีผู้บริหารจากกระทรวงลงมา เค้าก็เลยแต่งกายกันเต็มยศ ซึ่งตนก็ยังตกใจว่าทำไมวันหยุดเขาแต่งกายกันเต็มยศ
“จากที่ได้เห็นดราม่าก็ไม่ได้ตกใจ และไม่ทำให้เสียกำลังใจในการทำงาน ก็ทำความเข้าใจ และขอฝากสื่อมวลชนทำความเข้าใจ ว่าเราน่าจะมาโฟกัสที่เนื้องาน เรื่องของการพัฒนาการศึกษาไทย การแต่งกายในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์เป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแต่งได้ตามอัธยาศัย แต่เห็นมีบางทีก็ไปดราม่าว่าเป็นอภิสิทธิ์ชน แต่งได้คนเดียว ไม่ใช่ ทุกคนแต่งได้หมด ซึ่งดิฉันก็ได้กำชับไปแล้วว่าขอให้ทุกคนแต่งได้ตามสบาย” นางนฤมล กล่าว
รมว.ศธ. กล่าวถึงการลงพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค.ใน จ.นครศรีธรรมราชและ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อไปรับฟังปัญหาจากครูและนักเรียน หลัก ๆก็จะพบเรื่องภาระงานของครู ซึ่งคุณครูทั้งหลายได้สะท้อนให้ฟังว่า อยากให้กระทรวงศึกษา หากำลังเพิ่มสำหรับสายสนับสนุน เพื่อที่ครูจะได้ไปโฟกัสงานสอนและงานวิชาการเพื่อทำวิทยฐานะ และดูแลเด็ก พัฒนาการศึกษาให้กับเด็ก อันที่สองก็คือเรื่องวิทยฐานะ ทำอย่างไรให้สอดคล้องกับงานที่ครูทำ ซึ่งตนก็ได้มอบให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. ดูในการปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้อง เช่น ครูประถมฯ ครูมัธยมฯ ครูอาชีวะฯ เขาก็ควรจะมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ส่วนผู้ประเมิน ก็ควรจะเป็นผู้ที่เคยผ่านงานที่จะประเมิน จะได้เข้าใจว่าผู้ถูกประเมินต้องทำและรับผิดชอบอะไรบ้าง สุดท้ายก็เรื่องภาระเรื่องเศรษฐกิจ ที่ครูต้องประเชิญกับค่าของชีพที่สูง ซึ่งตรงนี้ตนได้ฝากให้เลขาธิการ ส.ก.ส.ค.ว่าเราต้องมาปรับสวัสดิการครู และแก้ปัญหาหนี้สินให้กับครู ซึ่งในวันพรุ่งนี้(22 ก.ค.) ตนก็จะหารือกับ เลขาธิการ ส.ก.ส.ค. เพื่อหารูปแบบในการแก้หนี้ ว่าจะออกมาอย่างไรให้เป็นรูปธรรม
.-008
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี