เกาะพยาม จังหวัดระนอง ตอนกลางของเกาะจะมีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขา ป่าไม้ สวนมะม่วงหิมพานต์ และบางส่วนปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่สวนยางพารา ส่งผลให้เกาะพยามมีความหลากหลายในระบบนิเวศน์ มีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะพื้นประจำถิ่นอย่างมะม่วงหิมพานต์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนองที่เยอะที่สุดอยู่ที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายจึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยูเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ยังส่งผลให้เม็ดมีขนาดใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติหวาน มัน กรอบ อร่อย
การแปรรูปกาหยูที่นี้จะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการคั่วแบบโบราณและคั่วเม็ดด้วยข้าวสารจึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติจนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยงต่างชาติเป็นอย่างมาก และถือเป็นเอกลักษณ์คู่ชุมชนมาอย่างยาวนาน
การคั่วกาหยูแบบโบราณ จังหวัดระนอง เป็นเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และถือภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่ยังคงมีการสืบทอด และขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์พื้นถิ่นจากภูมิปัญญา ด้วยการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ และตัวชุมชนเอง