วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : เกาะติดสถานการณ์น้ำปี2565  ฟันธง! ไม่ซ้ำรอยปี2554

สกู๊ปพิเศษ : เกาะติดสถานการณ์น้ำปี2565 ฟันธง! ไม่ซ้ำรอยปี2554

วันศุกร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

สถานการณ์ฝนตกหนักและเกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ภาคตะวันออก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดเลย ทำให้มีสืื่อหลายสำนัก และนักวิชาการบางท่านออกมาให้ข่าวว่า อาจจะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอยมหาอุทกภัยปี 2554 โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

มาวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงกันว่า ปีนี้จะเกิดมหาอุทกภัยหรือไม่ ?


แม้กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) ได้คาดการณ์ในช่วงปลายฤดูฝนจะมีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยเฉพาะในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 อาจจะเกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันได้ก็ตาม แต่ก็ใช่ว่า สถานการณ์จะรุนแรงเทียบเท่าปี 2554

เนื่องจากสถานการณ์น้ำในปี 2565 แม้จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ฝนมาเร็ว หลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงขึ้นเช่นเดียวกับปี 2554 ก็ตาม แต่ความรุนแรงจนถึงขณะนี้ยังไม่เท่ากับปี 2554 รวมทั้งพายุที่เกิดขึ้นมีเพียง 2-3 ลูก ที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้พัดผ่านโดยตรง

ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ประกอบด้วย 1.คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยง 2.การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ 3.ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ 4.ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ 5.ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ 6.ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา 7.เตรียมพร้อมวางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยง 8.เพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ 9.ตรวจความมั่นคงปลอดภัยคันทำนบพนังกั้นน้ำ 10.เตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ 11.ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย12.การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ 13.ติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นในปี 2554 ได้ถูกนำมาถอดบทเรียนวางแผนแก้ไข รับมือสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ ได้มีการมีแก้ไขปรับปรุงขุดลอกคลอง กำจัดผักตบชวา ขยะ ต้นไม้ กิ่งไม้ อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเล เช่นเดียวกับปัญหาความซ้ำซ้อน ไม่มีเอกภาพก็ได้รับการแก้ไขเช่นกัน

ในขณะที่การบริหารจัดการน้ำภาพรวมทัั้งประเทศ ได้จัดตั้ง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ซึ่งมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการ ขึ้นมาบูรณาการหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เป็นหนึ่งเดียว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนติดตาม เฝ้าระวังป้องกัน และเตือนภัยสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลา โดยล่าสุด พลเอกประวิตรได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างเข้มข้น พร้อมทั้งได้กำชับให้ดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนที่ได้วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาลดปัญหาน้ำท่วมให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และทั่วถึงทุกพื้นที่

ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศในปีนี้ก็แตกต่างจากปี 2554 ณ วันที่ 10 กันยายน 2565 มีปริมาณน้ำใช้การรวม 49,887 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 65% ของปริมาณการกักเก็บเท่านั้น ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกถึง 26,201 ล้านลบ.ม. ในขณะที่ปี 2554 ใ่นช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่และขนาดกลางมากถึง 58,563 ล้านลบ.ม. เฉพาะลุ่มเจ้าพระยาปริมาณใน 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่ 10 กันยายน 2565 มีปริมาณน้ำรวม 13,792 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 55% ของปริมาณการกักเก็บ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกถึง 11,079 ล้านลบ.ม. เมื่อเทียบกับปริมาณปี 2554 ในช่วงเวลาเดียวกัน 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำรวมกันถึง 21,416 ล้านลบ.ม. ต่างกันมากกว่า 10,000 ล้านลบ.ม.

นอกจากนี้ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ยังจะใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ10 ทุ่ง สำรองเพิ่มเติมกรณีที่จำเป็น เพื่อไว้เป็นแก้มลิงรองรับน้ำหลากในช่วงกลางเดือนก.ย.-ต.ค.นี้ จะสามารถหน่วงปริมาณน้ำหลากได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งขณะนี้เกษตรกรเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วคาดว่า จะแล้วเสร็จทั้งหมดในช่วงกลางเดือน ก.ย.นี้ เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) ก็ได้เตรียมพื้นที่รับน้ำไว้เช่นกัน

หากวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในปีนี้จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ ในการรับมือฤดูฝนของหน่วยงานภาครัฐแล้ว “พลเอกประวิตร” ได้ออกมาการันตีว่า...

เหตุการณ์จะไม่ซ้ำรอยมหาอุทกภัยปี 2554 แน่นอน !!!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ASEAN Energy Storage & Smart Energy Expo 2025  มหกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านพลังงาน สกู๊ปพิเศษ : ASEAN Energy Storage & Smart Energy Expo 2025 มหกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านพลังงาน
  • สกู๊ปพิเศษ : เทศบาลนครสงขลา จัดสวนดอกไม้ทางเข้า หาดสมิหลา  รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ปีใหม่ 2568 สกู๊ปพิเศษ : เทศบาลนครสงขลา จัดสวนดอกไม้ทางเข้า หาดสมิหลา รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ปีใหม่ 2568
  • สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์  มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับครูอีสานตอนบน ศึกษาศาสตร์ มข. ผนึกเครือข่ายผลิตครู ใช้ AI เสริมพลัง
  • สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สกู๊ปพิเศษ : ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าพัฒนา ‘โครงการพระราชดำริฝนหลวง’  ตามพระบรมราชโองการ สืบสาน รักษา ต่อยอด สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าพัฒนา ‘โครงการพระราชดำริฝนหลวง’ ตามพระบรมราชโองการ สืบสาน รักษา ต่อยอด
  • สกู๊ปพิเศษ : อ.ส.ค.เดินหน้ารุกพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทย  ตั้งเป้า ปี’67 ปั้นเกษตรกรโคนมสู่ Smart Farmer เพิ่ม 2.3 พันราย สกู๊ปพิเศษ : อ.ส.ค.เดินหน้ารุกพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทย ตั้งเป้า ปี’67 ปั้นเกษตรกรโคนมสู่ Smart Farmer เพิ่ม 2.3 พันราย
  •  

Breaking News

'พิชัย'เผย ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯ ย้ำรอพิจารณา

ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’

วิเคราะห์เจาะลึกผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ 'ดร.รุ่ง' หรือ 'วิทัย' ใครเหมาะคุมเสถียรภาพเศรษฐกิจ?

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved