ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการส่งทีมวิทยากรและคณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ คณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ มูลนิธิลุ่มน้ำท่าจีนนครปฐม ข้าราชการบำนาญกรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลุ่มน้ำชี และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอบรม Train The Trainer วิชาการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ (ศาสตร์พระราชา) ให้กับอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร นครราชสีมา สุโขทัย อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม พังงา บุรีรัมย์ เชียงใหม่ สระแก้ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอนหลักสูตรชลกร เมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) กล่าวว่า วิชาศาสตร์พระราชาที่บรรจุอยู่ ในหลักสูตรชลกร ถือเป็นวิชาที่ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นวิชาที่น้อมนำพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการปฏิบัติ ถือเป็นศาสตร์ของแผ่นดินจึงต้องการให้ถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐานในระดับสากล แก่อาจารย์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่เปิดสอนหลักสูตรชลกร โดยที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้มีการจัดอบรม Train the Trainer เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ สำหรับอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในหลายภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพื่อเตรียมขยายผลสู่ชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่นอกเขตชลประทานทั่วประเทศ
ดร.ปริเวท วรรณโกวิท คณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ กล่าวว่า โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้จัดอบรม Train The Trainer ให้กับอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจำนวน 14 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดสอน “หลักสูตรชลกร” วิชาการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ (ศาสตร์พระราชา)
“การจัดการน้ำโดยชุมชนเป็นการพลิกโฉมของการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เรา
ไม่สามารถควบคุม มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวน คาดการณ์ไม่ได้ ความท้าทายในการบริหารจัดการกับปัจจัยที่ควบคุม
ไม่ได้ จึงต้องมีองค์ความรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมาตรฐาน การจัดอบรมTrain The Trainer ในวิชาศาสตร์พระราชา กับอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรชลกรในครั้งนี้เป็นกระบวนการสอนที่มากกว่าการสอนในตำรา เพื่อนำเทคนิค องค์ความรู้ไปถ่ายทอดต่อให้กับนักเรียนและชุมชนทั่วประเทศต่อไป ขอให้อาจารย์วิทยาลัยเกษตรทุกท่านทำสำเร็จ” ดร.ปริเวทกล่าว
ทั้งนี้สำหรับวิชาศาสตร์พระราชา ถือเป็นวิชาที่ 6 ในหลักสูตรชลกร แบ่งออกเป็น 9 บท เป็นวิชาที่สำคัญ ถือเป็น
หัวใจของหลักสูตรชลกร จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำในวิชาศาสตร์พระราชา มาถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับอาจารย์ชลกรในวิทยาลัยเกษตรฯที่เปิดสอน ซึ่งวิชาศาสตร์พระราชา คือ ความพอเพียง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างรายได้ นำน้ำมาแล้วต่อยอดไปเกษตร ให้กับชุมชน ให้กับประชาชน สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี