วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'มหาดไทย'จับมือ'สช.'ร่วมหารือขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

'มหาดไทย'จับมือ'สช.'ร่วมหารือขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 10.21 น.
Tag : สุทธิพงษ์ จุลเจริญ มหาดไทย ปลัดมท. ระบบสุขภาพแห่งชาติ
  •  

มหาดไทย จับมือ สช.ร่วมหารือขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ด้านปลัด มท.เน้นย้ำทำงานแบบ Partnership เพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2565 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในด้านการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ ไปใช้ขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผศ.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนช่วยกันดูแลพี่น้องประชาชนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงการป้องกันที่กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินภารกิจตามอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว ทั้งด้านการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากกระทรวงสาธารณสุขมาอยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกำกับของกระทรวงมหาดไทย โดยปัจจุบันมี รพ.สต.ได้รับการถ่ายโอนมาแล้วกว่า 4,000 แห่ง จาก 9,000 แห่ง และจะมีการถ่ายโอนเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมามีตัวอย่างความมุ่งมั่นแน่วแน่ในการขับเคลื่อนของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เมื่อ รพ.สต.ได้รับการถ่ายโอนมาอยู่กับ อบจ.แล้ว ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็มีความเอาใจใส่และมีความทุ่มเทอย่างมาก เช่นที่ จังหวัดเชียงใหม่ อบจ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินการวางระบบ Telemedicine หรือการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน โดยบุคลากรทางการแพทย์ผ่านทางเทคโนโลยีและการสื่อสารแบบ Video conference ซึ่งก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก นอกจากนี้ ก็มีการสนับสนุนระบบบริการงานให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องไม้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

“ภารกิจที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชนในองค์รวม เราทำงานในทุกด้านทุกมิติเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน โดยในเรื่องการส่งเสริมเรื่องสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชน โดยกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเสริมสร้างความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และการวางแผนของครอบครัว ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคนในอนาคต โดยได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และคณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการร่วมเป็นผู้นำการขับเคลื่อน “โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และการรับรู้ให้กับประชาชน เริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ จนถึงเมื่อเกิดมาเป็นทารก จะได้มีน้ำหนักถึงตามเกณฑ์ โดยขณะนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีความคืบหน้าหลายประการ เช่น การจัดทำคู่มือให้กับคุณแม่มือใหม่เพื่อมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เป็นต้น ทั้งนี้ กลไกของกระทรวงมหาดไทยในระดับพื้นที่ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคผู้นำศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน จะเป็นกำลังหลักในการดูแลสุขภาพแม่และเด็กร่วมกับคณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อันสะท้อนให้เห็นว่า ภาระหน้าที่ของพวกเราชาวมหาดไทยครอบคลุมในทุกด้าน ทุกกระทรวง ทุกมิติ ที่เป็นการดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ดังนั้น การขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีการบูรณาการความร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ โดยกระทรวงมหาดไทย มีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมการพัฒนาชุมชน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจที่สอดคล้องตามจุดมุ่งหมายของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต” ปลัด มท.กล่าวในช่วงต้น

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระอนุญาตให้น้อมนำแนวพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” มาขับเคลื่อน เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา วันที่ 8 มกราคม 2566 ซึ่งหมู่บ้านจะยั่งยืนนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ คือ คนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยได้มุ่งส่งเสริมบทบาทของผู้นำในพื้นที่ คือ "ท่านนายอำเภอ" โดยการให้ท่านนายอำเภอทั้ง 878 อำเภอ สร้างทีมอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ที่เป็นการรวมพลังจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ มาช่วยในการขับเคลื่อนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เป็นเหมือนเวทีประชาชน ที่มีแนวปฏิบัติด้วยการลงพื้นที่ไปพบปะ ไปพูดคุย ติดตามถามไถ่สารทุกข์สุขดิบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ท้ายสุดพี่น้องประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า หนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของการขับเคลื่อนงานอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข คือ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก และการดูแลเด็กเล็กให้เติบโตตามเกณฑ์ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งกองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการดูแลภาพรวมของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันจะทำให้เรามีกรอบการทำงานตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น

นอกจากนี้ ในด้านการทำให้พี่น้องประชาชนมีสุขภาพที่ดี กระทรวงมหาดไทยโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดได้มีการลงนาม MOU ร่วมกับ UN ประจำประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายอย่างยั่งยืน (UN SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ด้วยทีมกลไกของกระทรวงมหาดไทยในระดับพื้นที่ ทั้งทีมอำเภอ แบ่งเป็น ทีมที่เป็นทางการ คือ ปลัดอำเภอเป็นหัวหน้าทีมข้าราชการประจำตำบล ทีมคณะกรรมการหมู่บ้าน และทีมจิตอาสาจาก 7 ภาคีเครือข่าย โดยมี “นายอำเภอทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีของอำเภอ” รวมทั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทำหน้าที่ในการประสานการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การส่งเสริมการคัดแยกขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนแล้ว ขณะนี้ถังขยะเปียกลดโลกร้อนได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชน และมี “กรมการพัฒนาชุมชน” ทำหน้าที่เข้าไปส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนด้วยการทำงานเชิงรุกที่สำคัญ คือ การน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีของสมาชิกในครอบครัว ของคนในชุมชน และเป็นการสร้างสุขภาพจากการได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ สารเคมี รวมถึงการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อเป็นกองทุนในการป้องกันดูแลสมาชิกในชุมชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด และการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมาร่วมหารือและเป็นภาคีเครือข่ายกับกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ จะทำให้เราทั้งสองหน่วยงานได้บูรณาการความร่วมมือกันในการทำงานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ทำให้เรามีเพื่อน หรือ Partnership ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 17 ที่จะช่วยในการออกแรงคิด ออกแรงทำ จึงขอให้ทุกภาคส่วนได้พยายามทำให้เกิดเป็นมรรคเป็นผลเป็นรูปธรรม อย่าให้เป็นเพียงเรื่องทางธุรการหรือเอกสาร ด้วยการมีสิ่งที่สำคัญคือแรงปรารถนา หรือ Passion เพื่อให้สิ่งที่เราคิดจะทำ สามารถ active ตลอดเวลา เพื่อผลประโยชน์สูงสุดโดยตรงต่อพี่น้องประชาชนอย่างจริงจัง ขอให้มุ่งมั่นตั้งใจ “ทำให้สำเร็จ” ไม่ใช่เพียงแค่เสร็จ หรือแค่สุขเอาเผากิน ร่วมกันทำทุกวิถีทางให้ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ฉบับนี้ เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ เป็น Action Plan ในการ Change for Good ทำให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน

ด้าน นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นเครื่องมือที่สำคัญภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ตามมาตรา 46-48 ที่กำหนดให้ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ (National Guideline for Equitable Health System) และกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกห้าปี เพื่อให้มีความสอดคล้องเท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และในส่วนของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2565 ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเพื่อนำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการใช้ธรรมนูญฯ นี้ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการป้องกันโควิด-19 ในท้องถิ่น ทั้งนี้ หาก สช.ได้ใช้ธรรมนูญ ฉบับที่ 3 มาขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จะทำให้ สช.สามารถขับเคลื่อนงานด้านการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนได้เป็นรูปธรรม เกิด Wealth Being เฉกเช่นผลสำเร็จที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำสำเร็จแล้ว โดยความร่วมมือในการครั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยถือเป็นภาคีเครือข่ายแกนหลักที่สำคัญของ สช.ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานทั้งในระดับท้องที่ และท้องถิ่น เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โอกาสมาแล้ว!! ‘มท.1’หารือ‘รมต.-ทูตอิสราเอล’เผยต้องการแรงงานไทยเพิ่มกว่าแสนคน โอกาสมาแล้ว!! ‘มท.1’หารือ‘รมต.-ทูตอิสราเอล’เผยต้องการแรงงานไทยเพิ่มกว่าแสนคน
  • ‘สปสช.’ขอบคุณ‘มหาดไทย’รับ3ข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทะเบียนตามมติครม. ‘สปสช.’ขอบคุณ‘มหาดไทย’รับ3ข้อเสนอ เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทะเบียนตามมติครม.
  • \'ปลัดมท.\'ชมเปาะกรมการปกครอง คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 'ปลัดมท.'ชมเปาะกรมการปกครอง คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567
  • \'สุทธิพงษ์\'ชื่นชมรัฐบาล!!! ทำให้\'คนไทยไร้สัญชาติ\'มีสัญชาติ 'สุทธิพงษ์'ชื่นชมรัฐบาล!!! ทำให้'คนไทยไร้สัญชาติ'มีสัญชาติ
  • ‘มท.-อว.’ ผนึกกำลังตั้งวอร์รูมแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ เพิ่มประสิทธิภาพแก้ปัญหาพื้นที่ประสบภัย ‘มท.-อว.’ ผนึกกำลังตั้งวอร์รูมแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ เพิ่มประสิทธิภาพแก้ปัญหาพื้นที่ประสบภัย
  • มท.ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย จัดพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์\'เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ\' มท.ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย จัดพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์'เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ'
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved