ทั้งนี้ สวท.มีโครงการพัฒนาบ้านหนังสือ นำร่อง 15 แห่ง โดยคัดเลือกครอบคลุม 6 กลุ่มเขต โดยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุทยานการเรียนรู้(TK park) เพื่อปรับปรุงพัฒนาบ้านหนังสือนำร่อง ทั้ง 15 แห่ง ก่อนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบ้านหนังสือทุกแห่ง โดย TK Park จะสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ หนังสือ ให้กับบ้านหนังสือนำร่อง 15 แห่งพร้อมจัดอบรมอาสาสมัครบ้านหนังสือจากสำนักงานเขต นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนการติดตั้ง WiFi จาก บริษัทดี.ที.ซี.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) ให้บ้านหนังสือ นำร่อง 15 แห่งด้วย
รายชื่อบ้านหนังสือโครงการนำร่อง15 แห่ง ดังนี้ 1.ห้องสมุดชุมชนหลังวัดราชนัดดา (บ้านหนังสือขุนวิภัชน์กรณี) เขตพระนคร 2.บ้านหนังสือชุมชนท่าน้ำสามเสน เขตดุสิต 3.บ้านหนังสือราชวัลลภ 1เขตพญาไท 4.บ้านหนังสือลานกีฬาพัฒน์ 2เขตราชเทวี 5.บ้านหนังสือชุมชนคลองพลับพลา เขตวังทองหลาง 6.บ้านหนังสือบัวขาว เขตมีนบุรี 7.บ้านหนังสือวังตาหนวดพัฒนา เขตคลองสามวา 8.บ้านหนังสือศูนย์กีฬาอ่อนนุช เขตประเวศ 9.บ้านหนังสือหมู่บ้านปูนซิเมนต์ไทย เขตจตุจักร 10.บ้านหนังสือหมู่บ้านซอยอมรพันธ์ 9 เขตลาดพร้าว 11.บ้านหนังสือเมืองทองนิเวศน์ 1 เขตหลักสี่ 12.บ้านหนังสือชุมชนปิ่นเจริญ 4 เขตดอนเมือง 13.บ้านหนังสืออัลกุ๊บรอ เขตสวนหลวง 14.บ้านหนังสือพระราม 8 เขตบางพลัด 15.บ้านหนังสือบลูไลท์ เขตทุ่งครุ
สำหรับ “บ้านหนังสือกรุงเทพมหานคร”เริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 เป็นห้องสมุดชุมชนขนาดเล็ก ประกอบด้วย ตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้เชื่อมต่อกันจัดทำเป็นห้องสมุด ตั้งตามชุมชนต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ ปัจจุบันได้โอนย้ายไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขต มีบ้านหนังสือ รวมทั้งสิ้นจำนวน 140 แห่งมีอาสาสมัครประจำบ้านหนังสือ 2 คน เปิดให้บริการวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น. (หยุดวันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์)สถิติผู้ใช้บริการ ปีงบประมาณ 2563 เฉลี่ย 3,246 คน ปีงบประมาณ 2564 เฉลี่ย 1,663 คน ปีงบประมาณ 2565-ปัจจุบัน เฉลี่ย 1,393 คน โดยตั้งแต่ปี 2564 ผู้ใช้บริการลดลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จากการสำรวจปัญหาและความต้องการ พบว่า โครงสร้างทรุดโทรม ฝ้าทะลุ ผนังเป็นสนิม, อาสาสมัครฯ ขาดทักษะด้านห้องสมุด ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้, ชั้นหนังสือไม่เพียงพอ,โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับอ่านหนังสือไม่เพียงพอ/ชำรุด, เครื่องปรับอากาศใช้งานไม่ได้, ไม่มีคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เนต, หนังสือไม่ทันสมัย/ไม่มี e-book และ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน จึงต้องพัฒนาปรับปรุงให้มีความทันสมัยตรงกับความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการ
ขณะนี้ สวท.ได้ประสานให้สำรวจบ้านหนังสือทั้งหมด รวบรวมข้อมูลด้านกายภาพ บุคลากร การให้บริการ และข้อมูลเชิงวิชาการ จัดทำมาตรฐานบ้านหนังสือ สนับสนุนให้สำนักงานเขตดำเนินการปรับปรุงบ้านหนังสือทุกแห่งตามมาตรฐานบ้านหนังสือ และจัดประกวดบ้านหนังสือกทม. ในปีงบประมาณ 2567 ต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี