วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วช. ชป. และ วว. ร่วมคิดค้นนวัตกรรมกำจัดวัชพืชใต้น้ำและวัสดุคอมพอสิต เพื่อประสิทธิภาพคลองส่งน้ำ

วช. ชป. และ วว. ร่วมคิดค้นนวัตกรรมกำจัดวัชพืชใต้น้ำและวัสดุคอมพอสิต เพื่อประสิทธิภาพคลองส่งน้ำ

วันพุธ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566, 17.02 น.
Tag :
  •  

 

วันที่ 22 มีนาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ คณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการ นำโดย ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ประธานผู้ตรวจสอบทางวิชาการ กลุ่มเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วช. พร้อมด้วย รศ. ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีสุข ดร.สมชายใบม่วง นายธนา สุวัฑฒน และภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเครื่องมือการกำจัดวัชพืชใต้น้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน กรณีสาหร่ายหางกระรอก ดีปลีน้ำ สันตะวาใบพาย” โดยมี นายจิรวัฒน์ ภูภาณุธาดา กรมชลประทาน (ชป.) เป็นหัวหน้าโครงการฯ และโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบวัสดุคอมพอสิตสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำคลองชลประทาน” โดยมี นายเจต พาณิชภักดี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ณ จังหวัดนครปฐม


ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ประธานผู้ตรวจสอบทางวิชาการ วช. กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่กรมชลประทานในการดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเครื่องมือการกำจัดวัชพืชใต้น้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน กรณีสาหร่ายหางกระรอก ดีปลีน้ำ สันตะวาใบพาย” โดยมี นายจิรวัฒน์ ภูภาณุธาดา แห่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากำแพงแสน ชป. เป็นหัวหน้าโครงการฯ และโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบวัสดุคอมพอสิตสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำคลองชลประทาน” โดยมี นายเจต พาณิชภักดี นักวิจัยอาวุโส แห่งศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วว. ซึ่งทั้งสองโครงการฯ มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำได้รับน้ำใช้ทำการเกษตรหรือใช้ในการอุปโภคบริโภคให้มีน้ำอย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน และยังเป็นการปรับปรุงระบบการไหลของน้ำให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการนำนวัตกรรมไปช่วยกำจัดวัชพืชใต้น้ำต่าง ๆ ที่ขวางทางน้ำ อาทิ สาหร่ายหางกระรอก ดีปลีน้ำ หรือสันตะวาใบพาย หรือการนำวัสดุคอมพอสิตมาช่วยในการลดการรั่วซึมของน้ำในคลอง ทำให้คลองส่งน้ำสามารถเก็บน้ำและส่งน้ำได้สะดวกและเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตก็จะมีการขยายผลโดยการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรหรือผู้ใช้ประโยชน์ต่อไป

นายจิรวัฒน์ ภูภาณุธาดา แห่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากำแพงแสน ชป. กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งและมีแนวโน้มของการขาดแคลนน้ำมากขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับทุกภาคส่วน การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในภาคการเกษตร รวมถึงการบริหารจัดการน้ำเป็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญของกรมชลประทาน ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานของประเทศ การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ โดยใช้ระบบชลประทานที่ดี โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเครื่องมือการกำจัดวัชพืชใต้น้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน กรณีสาหร่ายหางกระรอก ดีปลีน้ำ สันตะวาใบพาย” โดย ชป. ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ในการคิดค้นและพัฒนาเครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำ เนื่องจากการระบาดของวัชพืชในคลองเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

ทางคณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดในการที่จะพัฒนารูปแบบการกำจัดวัชที่เหมาะสม สามารถลดการใช้งบประมาณ ทำงานได้รวดเร็ว ลดเงื่อนไขและข้อจำกัดในการดำเนินงาน ทางคณะผู้วิจัยต้นแบบเครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำในคลองชลประทาน หรือ Weed Rake โดยในระยะแรกได้ทำการพัฒนาชุดคราดวัชพืชใต้น้ำ ซึ่งผลการทดสอบปรากฏว่าการกำจัดวัชพืชใต้น้ำมีประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชใต้น้ำได้ร้อยละ 70 ขณะกำจัดวัชพืชใต้น้ำซี่ฟันของคราดจะกวนตะกอนดินขึ้นมาทำให้คลองสะอาดขึ้น ลดอัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดวัชพืชใต้น้ำได้อีกด้วย ในระยะที่ 2 ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีใช้ในงานชลประทานมาดัดแปลงและประกอบใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยในเบื้องต้นคณะผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบเครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำในคลองชลประทาน (Weed Rake-I) ออกมา 2 ลักษณะ ได้แก่ เครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำชุดคราดรถเข็น ใช้กับก้นคลอง ขนาดกว้าง 0.50 – 1.0 เมตร และเครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำชุดคราดรถสาลี่) ใช้กับก้นคลอง ขนาดกว้าง 1.0 – 2.0 เมตร ต่อมาคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำในคลองชลประทาน Weed Rake-II ด้วยการนำรถไถมาประยุกต์ใช้กับคราดขนาดความยาว 1 เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งประหยัดงบประมาณไปได้มาก และยังสร้างความร่วมแรงร่วมใจกันของเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ในการลงมือกำจัดวัชพืชใต้น้ำ ซึ่งในอนาคตจะมีการขยายขอบเขตการทำงานของเครื่องกำจัดวัชพืชให้สามารถกำจัดวัชพืชใน้น้ำในคลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป

ด้านนายเจต พาณิชภักดี แห่ง วว. หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบวัสดุคอมพอสิตสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำคลองชลประทาน” กล่าวว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ในการดำเนินการพัฒนาต้นแบบวัสดุคอมพอสิตสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำคลองชลประทาน ที่ผ่านมา น้ำชลประทานถูกลำเลียงไปตามคลองส่งน้ำและไหลลงสู่คลองระบายน้ำที่เป็นคลองดิน พบปัญหาการสูญเสียน้ำในระบบส่งน้ำเนื่องจากการซึมของน้ำชลประทานผ่านวัสดุก่อสร้างคลองที่เป็นดิน คลองส่งน้ำที่ใช้งานเป็นระยะเวลานานจึงนิยมที่จะปรับปรุงด้วยการดาดคลองส่งน้ำด้วยคอนกรีต ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ แต่ปัญหาสำคัญที่มักจะเกิดขึ้นกับคลองส่งน้ำดาดด้วยคอนกรีต คือ การเกิดโพรงใต้แผ่นคอนกรีตจากการกัดเซาะของน้ำเป็นรูโพรง และปัญหาการรั่วซึมของน้ำผ่านคลองที่มีปริมาณมากกว่าการออกแบบ รวมทั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชน้ำ ซึ่งเกิดจากดินบริเวณใต้ผนังดาดคอนกรีตเกิดการทรุดตัวจากการเลื่อนไหล ทำให้ผนังดาดคอนกรีตเกิดการแตกร้าว และเมื่อเกิดการกัดเซาะของวัสดุใต้แผ่นคอนกรีตแล้วจะพังทลายได้ในท้ายที่สุด ส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำถึงร้อยละ 70 และไม่สามารถส่งน้ำไปถึงพื้นที่เพาะปลูกได้ตามเป้าหมาย

โดยในต่างประเทศได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ และลดการสูญเสียน้ำโดยการใช้แผ่นเมมเบรนจากวัสดุพอลิเมอร์สังเคราะห์ ในการส่งน้ำ ซึ่งพบว่ามีข้อดี คือ ติดตั้งง่าย ใช้เวลาน้อย และมีการสูญเสียน้ำในระหว่างการส่งน้ำที่น้อย ที่ผ่านมา วว. มีการพัฒนาชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะจากวัสดุทางธรรมชาติ สำหรับใช้งานปูทับหน้าตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำ ประกอบด้วย ชั้นป้องกัน ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือแรงเฉือนที่เกิดจากการไหลของกระแสน้ำ และป้องกันเศษหินหรือกรวดที่พัดมากับกระแสน้ำที่จะทำให้ชั้นเมมเบรนเกิดความเสียหายได้ โดยวัสดุชั้นป้องกันมีผิวเรียบ มีความต้านทานแรงอัดมากกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และถูกออกแบบให้สามารถร้อยสลิงได้ ซึ่งจะถูกนำมาวางทับบนชั้นเมมเบรนทำหน้าที่กักเก็บผิวดินไม่ให้ถูกชะออกจากบริเวณแนวตลิ่งและป้องกันการซึมผ่านของน้ำ นอกจากนั้น โครงสร้างชุดวัสดุคอมพอสิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปที่พร้อมติดตั้งได้ทันที และยังสามารถปรับสภาพหรือปรับระดับตามพื้นผิวได้เล็กน้อย เมื่อมีการทรุดของดินบริเวณที่ถูกปูทับ เนื่องจากชั้นป้องกันของชุดวัสดุคอมพอสิต มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยบล็อกที่มีความแข็งแรงขนาดเล็ก ที่เกี่ยวร้อยด้วยเส้นเสริมแรงภายใน ทำให้สามารถปรับระดับตัวได้เล็กน้อย เมื่อดินเกิดการทรุดตัว ในขณะที่ชั้นเมมเบรนของชุดวัสดุคอมพอสิต ที่วางใต้ชั้นป้องกัน มีระยะยืดตัวมากกว่าร้อยละ 40 เมื่อได้รับแรงภายนอกมากระทำ ทำให้สามารถปรับระดับตัวได้เช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากการดาดคอนกรีตที่เป็นโครงสร้างแบบแผ่นแข็งและวางบนดิน ซึ่งจะสามารถลดการเกิดปัญหาการพังทลายของโครงสร้างและการรั่วซึมของน้ำได้เป็นอย่างดี

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เด็กช้างเผือกสมัครทุน ODOS รุ่น 1 คึกคัก กว่าครึ่งเป็นเด็กยากจน รัฐบาลเดินหน้าต่อ เปิดรับสมัครทุน ODOS รุ่น 3 เด็กช้างเผือกสมัครทุน ODOS รุ่น 1 คึกคัก กว่าครึ่งเป็นเด็กยากจน รัฐบาลเดินหน้าต่อ เปิดรับสมัครทุน ODOS รุ่น 3
  • สพฐ.จับมือ ม.ราชภัฏอุดรธานี ยกระดับคุณภาพครูบุคลากรทางการศึกษา สพฐ.จับมือ ม.ราชภัฏอุดรธานี ยกระดับคุณภาพครูบุคลากรทางการศึกษา
  • \'ไอคอนสยาม-เมืองสุขสยาม\'จัดขบวนแห่สลากภัตร สืบสานประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน\'วัดสระเกศฯ\' 'ไอคอนสยาม-เมืองสุขสยาม'จัดขบวนแห่สลากภัตร สืบสานประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน'วัดสระเกศฯ'
  • \'อ.ทองย้อย\' ชี้ \'เสพกามคาจีวร\' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน 'อ.ทองย้อย' ชี้ 'เสพกามคาจีวร' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน
  • \'กองทัพเรือ\'จัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 132 วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคมนี้ 'กองทัพเรือ'จัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 132 วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคมนี้
  • ​ทีม ‘KLORA’ คว้าแชมป์ ‘Startup Thailand League 2025’ ​ทีม ‘KLORA’ คว้าแชมป์ ‘Startup Thailand League 2025’
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved