วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิชาการแนะ 8 ข้อ ฝากถึงรัฐปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ เตรียมพร้อมรับระบบบำนาญผู้สูงวัย

นักวิชาการแนะ 8 ข้อ ฝากถึงรัฐปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ เตรียมพร้อมรับระบบบำนาญผู้สูงวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 21.39 น.
Tag : ผู้สูงวัย บำนาญ ปฏิรูป รัฐบาล นักวิชาการ
  •  

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความ “แหล่งรายได้สำหรับระบบหลักประกันรายได้เพื่อป้องกันวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ” เนื้อหาดังนี้ ในช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง คนไทยไม่น้อยน่าจะมีความหวังจากนโยบายหาเสียงมากมาย ซึ่งหากสามารถทำได้ ย่อมเกิดประโยชน์ต่อประเทศ แต่ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ข้อเสนอจะเป็นไปได้เพียงใด และพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายหาเสียง จะมีความตั้งใจจริงที่จะทำให้สำเร็จหรือไม่ หรืออาจจะเหมือนในอดีตก่อนที่เคยหาเสียงไว้ แต่ไม่สามารถทำให้เป็นจริง

ในเรื่องของระบบบำนาญผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยในอนาคตก็เช่นเดียวกัน มีข้อเสนอจากหลายพรรค ตั้งแต่มีระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็ง ตลอดจนไปถึงอีกฝั่งที่เป็นแค่นโยบายขายฝันหวังผลระยะสั้นให้ได้คะแนนเสียงเท่านั้น ซึ่งผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะต้องตัดสินใจพิจารณาความน่าเชื่อถือและความจริงใจของนักการเมืองที่เสนอนโยบาย


ข้อกังวลที่สำคัญ คือ เราจะหาเงินจากไหนสำหรับบำนาญผู้สูงอายุ ก็มักได้รับคำตอบว่า “ไม่มีงบประมาณ” อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเป้าหมายดำเนินการตามแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศหลายท่านได้เสนอไว้เป็นทศวรรษ ก็ควรที่จะมีเงินมาลงทุนให้กับคุณภาพชีวิตของประชาชนและอนาคตของประเทศได้

ในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งปี 2566 ผู้เขียนจึงขอนำเรียนรับใช้สังคมในเรื่องแหล่งรายได้สำหรับระบบหลักประกันรายได้เพื่อป้องกันวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ โดยขออ้างอิงศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากปาฐกถาเรื่อง “แนวทางการสร้างระบบภาษีและการปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ” ในงาน “ประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน: ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2” และ ปาฐกถาเรื่อง “โควิดเป็นโอกาสให้ปรับสู่สวัสดิการถ้วนหน้า” ในงานครบรอบ "89 ปี แห่งการอภิวัฒน์สยาม"

โดยสรุป แหล่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ 1. จัดระบบความสำคัญก่อนหลังในการจัดสรรงบประมาณประจำปี  กล่าวคือ ลดงบที่ไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน 2. ยกเลิกสิทธิพิเศษและค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับมหาเศรษฐีและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เช่น BOI และ Capital Gain Tax 3. เก็บภาษีเพิ่มจากส่วนต่างของกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์และที่ดิน 4. ปรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีประสิทธิภาพ

5. ลดเกณฑ์ยกเว้นภาษีการรับมรดกที่มูลค่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับมรดกไม่ถึง 100 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี ควรจะปรับลดลงมาให้สมเหตุสมผลมากกว่านี้ 6. เพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะอัตราต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับสากล 7. ปรับระบบภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตามต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันหมด ไม่ใช่เหลื่อมล้ำกันระหว่างภาษีรายได้ที่จัดเก็บจากเงินเดือน เงินปันผล กำไร หรือ ที่ดิน ซึ่งโดยเฉลี่ยคนรวยเสียภาษีในอัตราต่ำกว่ามนุษย์เงินเดือน และ 8. หน่วยงานของรัฐที่ถือครองที่ดินมากเกินจำเป็นและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรนำมาให้ประชาชนเช่าทำมาหากิน เมื่อประชาชนมีฐานะดีขึ้น รัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้น

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอว่า หากไม่ทำอะไรเลย งบประมาณรายจ่ายด้านบำนาญผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในสองทศวรรษข้างหน้า โดยส่วนมากมาจากงบบำนาญข้าราชการ ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยจะต้องหาแหล่งรายได้เพิ่มขึ้น ก็ควรจะใช้เป็นโอกาสแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศ โดยปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น และ สร้างระบบสวัสดิการเพื่อให้คุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้น

- 006

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดอาการ‘โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก’ คร่าชีวิตคนไทยแล้วมากถึง 4 หมื่นราย เปิดอาการ‘โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก’ คร่าชีวิตคนไทยแล้วมากถึง 4 หมื่นราย
  • แรงงานร้องรบ.  ปรับค่าแรง492บาททั่วปท.  ยื่น7ข้อเสนอดูแลเร่งด่วน แรงงานร้องรบ. ปรับค่าแรง492บาททั่วปท. ยื่น7ข้อเสนอดูแลเร่งด่วน
  • รบ.เตือนเฝ้าระวัง5โรคหลังเล่นสงกรานต์ รบ.เตือนเฝ้าระวัง5โรคหลังเล่นสงกรานต์
  • \'รองนายกฯประเสริฐ\'มอบ สสส.ทำงานคู่ขนานรัฐ สื่อสารอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า 'รองนายกฯประเสริฐ'มอบ สสส.ทำงานคู่ขนานรัฐ สื่อสารอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า
  • รัฐบาลเชิญฉีดวัคซีนป้องกัน‘โรคมะเร็งปากมดลูก’ฟรี เปิดบริการทั่วประเทศถึง เม.ย.นี้ รัฐบาลเชิญฉีดวัคซีนป้องกัน‘โรคมะเร็งปากมดลูก’ฟรี เปิดบริการทั่วประเทศถึง เม.ย.นี้
  • ‘ทวี’มั่นใจ! รัฐบาลนี้ขึ้นทะเบียนคนไร้รัฐ-ไร้สัญชาติครบ 1 ล้านคน ‘ทวี’มั่นใจ! รัฐบาลนี้ขึ้นทะเบียนคนไร้รัฐ-ไร้สัญชาติครบ 1 ล้านคน
  •  

Breaking News

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'

มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส

สางไฟใต้!!! 'นายกฯ'ถก'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved