วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รู้จัก'แลงยา'หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา ที่อาจมาแทนที่ไวรัสโควิด-19

รู้จัก'แลงยา'หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา ที่อาจมาแทนที่ไวรัสโควิด-19

วันศุกร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 19.34 น.
Tag : ไวรัสแลงยา ไวรัสโควิด-19 ไวรัสเฮนิปา
  •  

วันที่ 30 มิถุนายน 2566  โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ได้เผยแพร่ข้อความระบุว่า โลกพร้อมรับไวรัสตัวใหม่หลังโควิดหรือยัง? “ไวรัสแลงยา (Langya)" หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา(henipavirus) ที่อาจมาแทนที่ไวรัสโควิด-19

ปรับปรุง 30/6/2566 เวลา 12:25


ขณะที่ภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ดูเหมือนกำลังจะกลายสภาพเป็นโรคประจำฤดูกาล และโรคประจำถิ่นตามลำดับ แต่กลับพบไวรัสกลุ่มใหม่ "เฮนิปา (henipavirus)" ที่มีลักษณะการระบาดคล้ายโควิด-19 เข้ามาแทนที่

เฮนิปาหกสายพันธุ์ที่พบคือ:
- ไวรัสเฮนดรา (HeV)
- ไวรัสนิปาห์ (NiV)
- ซีดาร์ไวรัส (CedV)
- ไวรัสโม่เจียง (MojV)
- ไวรัสกานา (GhV)
- ไวรัสเอ็ม 74 (M74V)

โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ไวรัสลางยา (Langya, LayV) สมาชิกล่าสุดของไวรัสเฮนิปาถูกตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ในภาคตะวันออกของจีน

ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และดร.หยู ชาง โลว์ นักวิจัยจาก School of Chemistry and Molecular Biosciences แห่ง "มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ " ประเทศออสเตรเลียได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature Communications” ในเดือนนี้ (มิถุนายน 2566) ชี้ให้เห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงสูงมากที่เชื้อ“ไวรัสแลงยา ในกลุ่มเฮนิปาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก กำลังจะมีการแพร่ระบาดใหญ่ในมนุษย์ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนก็ตาม แต่กลับพบการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนของไวรัสแลงยาและกลุ่มสมาชิกถี่ขึ้นเป็นลำดับ และหากเกิดการกลายพันธุ์เพียงไม่กี่ตำแหน่งบนจีโนมที่ส่งผลให้ส่วนหนามของไวรัสเข้าจับกับเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้นจะช่วยให้ไวรัสแลงยาสามารถก้าวข้ามจากสัตว์มาระบาดในหมู่คนได้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับไวรัสโคโรนา 2019 ในอดีต ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีได้เตรียมพร้อมตรวจสอบรหัสพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว (mass array genotyping) เพื่อตรวจจับไวรัสแลงยาดังกล่าวจากสิ่งส่งตรวจแล้ว

องค์การอนามัยโลก และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคาดคะเนว่าภัยคุกคามโรคติดเชื้อที่จะระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) กับมนุษยชาติครั้งต่อไปนอกเหนือจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่หรือไวรัสไข้หวัดนกแล้ว อาจเป็นกลุ่มไวรัสเฮนนิปา อันประกอบไปด้วยไวรัส แลงยา (Langya) โม่เจียง (Mòjiāng) นิปาห์ (Nipah) และเฮนดรา (Hendra) ฯลฯ ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Paramyxoviridae
ไวรัสแลงยาเป็นเชื้อโรคไวรัสติดต่อจากสัตว์มาสู่คน พบครั้งแรกในชาวไร่จำนวน 35 คนในมณฑลซานตงและเหอหนานของประเทศจีน ในปี 2565

ไวรัสโม่เจียงที่ถูกค้นพบในปี 2555 ในหนูในเหมือง Tongguan ในเมืองโม่เจียง ประเทศจีน คนงานเหมืองหกคนป่วยด้วยอาการคล้ายโควิด และสามคนเสียชีวิต ที่น่าแปลกคือพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อยู่ในเหมืองนั้นด้วย

ไวรัสนิปาห์ เกิดขึ้นในมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี 2542 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 รายและเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย มีการบันทึกการระบาดเกือบทุกปีในบางส่วนของเอเชียตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ในบังกลาเทศและอินเดีย

ไวรัสเฮนดรา พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ในเมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีม้า 13 ตัวและครูฝึกเสียชีวิต 1 คน

ไวรัสโม่เจียง เฮนดรา และ นิปาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีอัตราการตายสูงกว่า 40-70% เป็นไวรัสที่สายจีโนมเป็น “อาร์เอ็นเอ” เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดไข้และอาการระบบทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง และอาจนำไปสู่โรคปอดบวมถึงแก่ชีวิตได้ เช่นเดียวกับโควิด-19

ไวรัสแลงยาพบมีการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น มนุษย์ สุนัข แพะ และคาดว่าสัตว์รังโรคดั้งเดิมของมันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กคล้ายหนู มีปากยาวแหลม(shrews) ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากไวรัสแลงยาเป็นไวรัสอุบัติใหม่และยังไม่พบว่าไวรัสแลงยาสามารถแพร่เชื้อติดต่อจากคนสู่คน

นักวิจัยเตือนว่าไม่ใช่ครั้งแรกที่ไวรัสแลงยาแพร่ระบาดมาสู่ผู้คน และมันจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย

ไวรัสตัวนี้ค่อนข้างใหม่ (สำหรับมนุษย์) ที่อาจก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก และมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่ากังวลเช่นเดียวกับไวรัสโคโรนาที่มีการระบาดในมนุษย์ไปทั่วโลก
ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และทีมวิจัยได้ค้นพบโครงสร้างของโปรตีนบนหนามของไวรัสที่เรียกว่า “ฟิวชันโปรตีน”

หน้าที่ของฟิวชันโปรตีนคือทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานนำพาไวรัสแลงยาเข้าสู่เซลล์ โดยหลอมรวมผนังหุ้มของไวรัสเข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์ของผู้ติดเชื้อ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าไปภายในเซลล์และเริ่มการแบ่งตัวภายในเซลล์ติดเชื้อได้

ทีมวิจัยได้ศึกษาโครงสร้างฟิวชันโปรตีนในระดับอะตอมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไครโอเจนิกของศูนย์จุลทรรศน์และการวิเคราะห์อนุภาคไวรัสของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

การเข้าใจโครงสร้างและวิธีการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสแลงยาถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันและยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสแลงยา ไวรัสโม่เจียง ไวรัสนิปาห์ และไวรัสเฮนดรา ในตระกูลของ Paramyxoviridae

“ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับไวรัสกลุ่มนี้ และพวกมันมีศักยภาพสูงที่องค์การอนามัยโลกให้เฝ้าติดตามการระบาดในวงกว้าง”

ศาสตราจารย์ แดเนียล วัตเตอร์สัน (Daniel Watterson) นักวิจัยอาวุโสในโครงการ กล่าวว่าพวกเขาพบว่าโครงสร้างฟิวชันโปรตีนในส่วนหนามของไวรัสแลงยา เหมือนกับไวรัสโม่เจียง และคล้ายคลึงกับไวรัสเฮนดราและไวรัสนิปาห์ แต่มีความแตกต่างกันในแง่ของแอนติเจนกับไวรัสเฮนดราและไวรัสนิปาห์ ทำให้วัคซีนที่พัฒนาต่อไวรัสแลงยาอาจไม่ครอบคลุมป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮนดรา และไวรัสนิปาห์ได้

“ไวรัสเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงที่มีโอกาสที่จะควบคุมไม่ได้หากเราไม่เตรียมพร้อมอย่างเหมาะสม” ดร. วัตเตอร์สันกล่าว

“เราได้เห็นว่าโลกไม่ได้เตรียมตัวอย่างไรสำหรับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นเราต้องเตรียมพร้อมมากกว่านี้สำหรับการระบาดครั้งต่อไปของโรคอุบัติใหม่”

ในตอนนี้ทีมวิจัยเร่งศึกษาส่วนหนามเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาวัคซีนที่สามารถใช้ฉีดป้องกันไวรัสสายพันธุ์ย่อยได้ทั้งหมด (broad-spectrum vaccine) รวมทั้งการพัฒนายาต้านไวรัสเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส แลงยา, โม่เจียง, นิปาห์, และเฮนดราของตระกูล Paramyxoviridae

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications https://www.nature.com/articles/s41467-023-39278-8
หมายเหตุ
ไวรัสแลงยา
ตระกูล: Paramyxoviridae
สกุล: Henipavirus
การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับสัตว์คล้ายหนูขนาดเล็ก (shew)
อาการ: อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย
อัตราการเสียชีวิต: ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
********************************
ไวรัสโม่เจียง
ตระกูล: Paramyxoviridae
สกุล: Henipavirus
การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับค้างคาวในถ้ำ
อาการ: อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย
อัตราการเสียชีวิต: 50%
********************************
ไวรัสเฮนดรา
ตระกูล: Paramyxoviridae
สกุล: Henipavirus
การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับของเหลวจากม้าติดเชื้อ มีรังโรคอยู่ในค้างคาว
อาการ: มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ
อัตราการเสียชีวิต: 60-75%
การระบาดครั้งแรกของไวรัสเฮนดราเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2537 ในเมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีม้า 13 ตัวและครูฝึกเสียชีวิต 1 คน
********************************
ไวรัสนิปาห์
ตระกูล: Paramyxoviridae
สกุล: Henipavirus
การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับของเหลวจากค้างคาวหรือหมูที่ติดเชื้อ
อาการ: มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลัน
อัตราการเสียชีวิต: 40-75%
การระบาดครั้งแรกของไวรัสนิปาห์เกิดขึ้นในมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี 2542 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 รายและเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย มีการบันทึกการระบาดเกือบทุกปีในบางส่วนของเอเชียตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ในบังกลาเทศและอินเดีย
********************************
SARS-CoV-2 (โควิด-19)
วงตระกูล: Coronaviridae
สกุล: Betacoronavirus
การแพร่เชื้อ: ละอองทางการหายใจ, การสัมผัสใกล้ชิด
อาการ: มีไข้ ไอ หายใจถี่ สูญเสียการรับรสหรือได้กลิ่น
อัตราการเสียชีวิต: แตกต่างกันไปตามอายุและสภาวะสุขภาพพื้นฐาน แต่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1-2% จากรายงานจากองค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา
มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม 2562
ไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนอื่น ๆ ของจีน ซึ่งนำไปสู่การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนนับล้านทั่วโลกเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในสหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย และเม็กซิโก
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'

มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส

สางไฟใต้!!! 'นายกฯ'ถก'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved