วันศุกร์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
จุฬาฯแปรรูปกากมันสำปะหลัง เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ทดแทนปุ๋ยเคมี

จุฬาฯแปรรูปกากมันสำปะหลัง เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ทดแทนปุ๋ยเคมี

วันพฤหัสบดี ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : จุฬาฯ กากมันสำปะหลัง ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยเคมี
  •  

ศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับสามของโลก วัสดุเหลือหรือกากมันสำปะหลังจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังมีราว 12 ล้านตันต่อปี และยังมีกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียของโรงงานซึ่งหากไม่มีการจัดการให้ถูกวิธีก็จะก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร จึงได้ดำเนินการวิจัย “การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสม” ขึ้น


ศ.ดร.วรวุฒิ ชี้ว่ากากมันสำปะหลังจะมีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ก็ยังไม่เพียงพอจึงได้มีการเพิ่มธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นสำหรับพืชเข้าไป แล้วนำมาคลุกด้วยจุลินทรีย์สูตรผสมและหมักเป็นเวลาสองเดือน จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีความปลอดภัยกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายสารตั้งต้นทั้งสองชนิด และเป็นแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์กับพืชโดยตรง โครงการวิจัยได้ทดลองนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้ในการปลูกมันสำปะหลังที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาแล้ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตมานั้นมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสารไซยาไนด์ในกากมันสำปะหลังเมื่อผ่านการหมักจนเป็นปุ๋ยแล้ว มีระดับที่ต่ำมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ และในอนาคตจะมีการต่อยอดการวิจัยโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่คิดค้นขึ้นนี้ไปทดลองผลิตปุ๋ยชีวภาพจากของเหลือทางการเกษตรชนิดอื่นๆ รวมทั้งของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากกากมันสำปะหลังสามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น มันสำปะหลังข้าว อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพดินในระยะยาว และลดมลพิษจากการจัดการของเสียด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเผา และบริษัทไทยวา จำกัด (มหาชน) ผู้ให้ทุนวิจัย มีแผนการผลิตปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยเกษตรกรและผู้สนใจนวัตกรรมนี้สามารถติดต่อ ศ.ดร.วรวุฒิจุฬาลักษณานุกูล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร.02-2185482

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จุฬาฯ-ม.เชฟฟีลด์ ผลิตวัคซีนคุณภาพสูง  รักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาค จุฬาฯ-ม.เชฟฟีลด์ ผลิตวัคซีนคุณภาพสูง รักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาค
  • จุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ATK แบบใหม่ ลดต้นทุน ตรวจจับเชื้อโควิด-19 ได้ไวขึ้น จุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ATK แบบใหม่ ลดต้นทุน ตรวจจับเชื้อโควิด-19 ได้ไวขึ้น
  • จุฬาฯ เปิดแหล่งเรียนรู้สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง จุฬาฯ เปิดแหล่งเรียนรู้สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง
  • จุฬาฯ สนับสนุน ‘GENERATIVE AI’  ให้ใช้งานอย่างเข้าใจ ไร้การบังคับ จุฬาฯ สนับสนุน ‘GENERATIVE AI’ ให้ใช้งานอย่างเข้าใจ ไร้การบังคับ
  • จุฬาฯ\'Top 50 ของโลกด้าน Employment Outcomes\' จุฬาฯ'Top 50 ของโลกด้าน Employment Outcomes'
  • จุฬาฯ ครองอันดับที่ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของไทย จุฬาฯ ครองอันดับที่ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของไทย
  •  

Breaking News

'อี้-แทนคุณ’ยกเคส‘สส.ก้าวไกล’คุกคามทางเพศ พบ 3 เรื่องแปลกในกระบวนการตรวจสอบ

'ต่อพงษ์ ไชยสาส์น'ชูประเด็นแรงงานและกีฬาอาชีพ ยุครัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

'พอลลีน งามพริ้ง'เปิดโผคณะสภากรรมการสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ10คน

ราชกิจจาฯออกประกาศ อายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามขึ้นเงินรางวัล'ลอตเตอรี่'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved