วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
คำประกาศ'อมก๋อย'ผนึกกำลังต้านเหมือง 'พิธา'ขึ้นเวทีหนุนชุมชนแนะรัฐ 3 ข้อ

คำประกาศ'อมก๋อย'ผนึกกำลังต้านเหมือง 'พิธา'ขึ้นเวทีหนุนชุมชนแนะรัฐ 3 ข้อ

วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566, 21.53 น.
Tag : พิธา ต้านเหมือง อมก๋อย
  •  

คำประกาศ “อมก๋อย”ผนึกกำลังต้านเหมือง“พิธา”ขึ้นเวทีหนุนชุมชนแนะรัฐ 3 ข้อ

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรม “ชัยชนะจะสมปองต้องต่อสู้” ในวาระครบรอบ 4 ปีที่ประชาชนชาวอมก๋อยลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน โดยในช่วงเช้าได้มีการเดินรณรงค์คัดค้านการทำเหมืองโดยผู้เข้าร่วมซึ่งส่วนใหญ่สวมชุดกะเหรี่ยงได้เคลื่อนขบวนออกจากหมู่บ้านกะเบอะดินท่ามกลางสายฝนที่ตกโปรยปราย ซึ่งระหว่างทางได้มีการถือป้ายด้วยข้อความต่างๆ อาทิ ปกป้องหมู่บ้าน ปกป้องพื้นที่ทำกิน ปกป้องมะเขือเทศและลำห้วย


ทั้งนี้ในเวทีเสวนา น.ส.ขวัญหทัย  โล่ห์ติวิกุล ตัวแทนเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย กล่าวว่าที่มารวมตัวกัน เพราะเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ชาวอมก๋อยได้รับข่าวร้ายว่ารัฐบาลได้ออกระทานบัตรเหมืองแร่ให้แก่บริษัทเอกชน ซึ่งชาวบ้านไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน ตนเห็นว่าแร่คือทรัพยากรที่เป็นของพี่น้องคนไทยทุกคน เหมืองแร่จะมาอยู่ที่อมก๋อย อยู่ที่ที่ทำกินของพี่น้องเพราะฉะนั้นชาวบ้านจึงไม่สามารถอยู่เฉย ๆ โดยที่ไม่ทำอะไรได้

“พวกเราเริ่มกันด้วยกลุ่มเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นเมื่อ 4 ปีก่อน ภาคีเครือข่ายซึ่งก็ล้วนเป็นคนที่รักษ์สิ่งแวดล้อม และอยากปกป้องรักษาทรัพยากร วันนี้การที่เรามารวมตัวกัน ครบรอบ 4 ปี เรายังคงยืนยันที่จะปกป้อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรเป็นของคนไทยทุกคน เรายังยืนหยัดยืนยันที่จะปกป้องผืนดิน เป็นสัญญาจากใจของเรา” ขวัญหทัยกล่าว

น.ส.ดวงใจ วงศธร ตัวแทนเยาวชนหมู่บ้านกะเบอะดิน กล่าวว่าหมู่บ้านกะเบอะดิน มีพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจำนวน 284 ไร่ 7 ตารางวา เป็นพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน หากมีเหมืองแร่เกิดขึ้น บ้านกะเบอะดินจะได้รับผลกระทบทั้งด้านที่ทำกิน วิถีชีวิต มลพิษ และอุบัติเหตุต่างๆ นอกจากนี้หมู่บ้านต่างๆ ที่เป็นเส้นทางทางผ่านก็จะได้รับผลกระทบอีกหลายหมู่บ้าน รวมถึง อ.อมก๋อย

“หมู่บ้านเรามีพืชพรรณต่างๆ ได้ผลผลิตมาก ปีนี้ชาวบ้านทุกคนจะมีรายได้พอสมควร หากมีเหมืองแร่พวกเราก็จะไม่มีที่ทำกินและไม่มีวิถีชีวิตอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้” ดวงใจกล่าว

นายองอาจ มิเง หนึ่งในแกนนำชุมชนที่ถูกบริษัทเหมืองแร่ฟ้องร้องดำเนินคดี กล่าวว่า ชาวบ้านกะเบอะดินไม่ทราบด้วยซ้ำว่าจะมีเหมืองแร่ ประชาชนเรามีสิทธิที่จะปกป้องที่ดิน ทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงชุมชน 4 ปีที่ร่วมต่อสู้กันมา เราได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นและการมาในวันนี้ก็เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ไม่เอาเหมืองแร่

นายสะท้าน ชีววิชัยพงศ์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบโครงการเหมืองแร่ในภาคเหนือ กล่าวว่าในนามผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ ในขณะนี้ จ.แม่ฮ่องสอน ก็เผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน ชัดเจนว่าเราไม่ต้องการเหมืองไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่ฟลูออไรด์ เหมืองแร่ถ่านหินใด ๆ ก็ไม่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีโครงการผันน้ำยวม (โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล) ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบนิเวศ ต่อวิถีชีวิตต่อคนในชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับผลกระทบคือประชาชนในพื้นที่ อ.อมก๋อย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รวมทั้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

“ที่อ.อมก๋อย โครงการผันน้ำยวมจะมีการขุดอุโมงค์ เราจำเป็นที่ต้องสู้ร่วมกันเป็นปึกแผ่น ร่วมกันต่อสู้ต่อต้านโครงการเหมืองต่อไป” นายสะท้านกล่าว

นายสุมิตรชัย หัตถสาร นักกฎหมายจากศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า เราใช้เวลา 2 ปี ทำข้อมูล และค้นพบว่ารัฐมีกระบวนการหลายอย่างที่ไม่ตรงกัน กระบวนการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่มีความชอบธรรม เช่น พี่น้องในพื้นที่ถูกหลอก มีการปลอมแปลงรายชื่อ เป็นหนึ่งในการฟ้องร้องคดีจนชนะและศาลมีคำสั่งให้คุ้มครอง

“เราต่อสู้มา 4 ปี แต่ก็ยังจะต้องดำเนินการต่อไป เพราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าจะมีไม่มีบริษัทอื่นมาขอประทานบัตรสร้างเหมืองอีก เราจะไม่เรียกร้องเฉพาะการขอประทานบัตร แต่เราจะยกเลิกแหล่งถ่านหินไม่ให้ใครขอประทานบัตรได้อีก รัฐไม่เคยรักษาคำมั่นสัญญาต่อนานาชาติ แม้กระทั่งประชาชนในประเทศเองก็ตาม จึงนำมาสู่การเรียกร้องสิทธิในวันนี้” นายสุมิตรชัยกล่าว

น.ส.ฮานาเอะ ฮันซาว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) กล่าวว่าในโลกใบนี้มีกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษชนทั้งหมด 9 ฉบับ และประเทศไทย รับมาใช้มากกว่า 7 ฉบับด้วยความสมัครใจ ฉบับแรกมีการพูดถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย การศึกษา และเสรีภาพทางวัฒนาธรรม ฉบับสองคือเสรีภาพในการแสดงออก ในการชุมนุมเป็นสิทธิพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีอนุสัญญาในการต่อต้านการทรมาน ดังนั้นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงคืออนุสัญญาในการไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการไม่ละเมิดให้คนสูญหาย แต่ยังไม่เป็นผลบังคับใช้ ดังนั้นเราต้องเคลื่อนต่อไป สิทธิทางวัฒนธรรมจะต้องไม่ถูกละเมิด หรือถูกทำให้เป็นอาชญากรรม ในกลไกกฎหมายของประเทศ พราะคนพื้นเมืองคือผู้ปกป้องรักษาธรรมชาติ”

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล ได้เดินทางมาร่วมงานและกล่าวบนเวทีว่า ชีวิตคนอมก๋อยจะดีแค่ไหนถ้าได้รัฐบาลที่เข้าใจสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ที่นี่ต้องการรัฐที่เข้าใจอยู่ 3 อย่าง 1 คือถ่านหินล้าสมัยไปแล้ว เขาเลิกใช้ไปแล้ว การที่จะทำให้คนลืมตาอ้าปาก เราต้องใช้พลังงานสะอาดได้แล้ว รัฐบาลต้องกล้าประกาศว่า เราจะเลิกใช้ถ่านหินในอีก 12 ปีข้างหน้า รัฐไทยต้องกล้าประกาศแล้วใช้พลังงานสะอาดมากกว่า 50% ในอีก 10 กว่าปีข้างหน้า เราต้องทำให้ได้ย่างคอสตาริกา เปรู ที่ใช้พลังงานสะอาดกว่า 70 %

นายพิธา กล่าวว่า 2. รัฐต้องเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจชาติพันธุ์ ที่สหประชาชาติเสนอ “เหล้าดาวดอย” ของพี่น้องทุกคน หรือเหล้าข้าวโพดของพี่น้องชาวม้ง คนที่อยู่ในพื้นที่ต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถ้ามีการใช้ทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน

“ถ้าคุณจะเอามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ พวกเขาต้องเป็นคนที่มีส่วนได้ ไม่ใช่มีแต่ส่วนเสีย ดังนั้นคำนี้ต้องอยู่ในหัวของรัฐบาล และ 3. คือการกระจายอำนาจ ไม่ใช่แค่ใครอยู่ในเขตป่าไม้ แต่คือการกระจายอำนาจให้กับคนที่อยู่ในพื้นที่ คนอมก๋อยรู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร  เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือ พอส่วนกลางให้ภารกิจมา แต่ไม่มีงบประมาณ ไม่มีบุคลากรมาให้ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงที่ดิน แก้ไขปัญหาเหมือง สิทธิมนุษชนกับทรัพยากร ประชาธิปไตยในพลังงาน เศรษฐกิจชาติพันธุ์ การกระจายอำนาจ 6 คำนี้ถ้าพี่น้องเห็นด้วย และคิดว่าคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต่อไปต้องรับเอาไปใช้” นายพิธากล่าว

จากนั้นผู้เข้าร่วมได้เดินขบวนไปยังสะพานคู่รัก ในตัวเมืองอมก๋อย พร้อมอ่านคำประกาศเจตนารมณ์ 4 ปี แห่งการต่อสู้ไม่สยบยอมให้อมก๋อยกลายเป็นเหมืองถ่านหินมีเนื้อหาสำคัญว่าตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ชาวบ้านบ้านกะเบอะดิน ชาวอำเภออมก๋อย และภาคี ร่วมกันต่อสู้คัดค้านการดำเนินการทำเหมืองแร่ถ่านหิน เราพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้หยุดการทำเหมืองแร่ถ่านหิน ไม่ว่าจะเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวคัดค้าน ไม่ว่าจะดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม เพียงเพราะเราต้องการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอน ทรัพยากร และวิถีชีวิต

“ผู้เฒ่าเคยเล่าขานว่า กินน้ำรักษาน้ำ กินเห็ดกินหน่อรักษาป่า กินข้าวรักษานาไร่หมุนเวียนคือความมั่นคงทางอาหาร ลูกหลานอย่างพวกเราจะสืบสานต่อและจะปกปักษ์รักษาวิถีชีวิตแม้นต้องแลกด้วยชีวิตเราและเลือดเนื้อเราก็ยอม พวกเราชาวอมก๋อย ถิ่นที่ได้ชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ เพราะอมก๋อยหมายถึงขุนน้ำหรือต้นน้ำ ที่หล่อเลี้ยงความเป็นคนของคนอมก๋อยและผู้คนให้เติบใหญ่ เราจึงขอประกาศว่า จุดยืนเดียวของเราคือ ไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหิน” คำประกาศระบุ

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เฟซบุ๊ก\'ตะวัน\'เคลื่อนไหว โพสต์แจ้งถูกนำตัวส่งรพ.ราชทัณฑ์ ยัน\'อดน้ำ-อดอาหาร-ไม่ประกันตัว\' เฟซบุ๊ก'ตะวัน'เคลื่อนไหว โพสต์แจ้งถูกนำตัวส่งรพ.ราชทัณฑ์ ยัน'อดน้ำ-อดอาหาร-ไม่ประกันตัว'
  •  

Breaking News

ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก

‘ในหลวง-พระราชินี’เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันวิสาขบูชา 2568

สื่อเวียดนามจับตาไทย ผ่อนปรนขายน้ำเมาวันพระใหญ่ได้บางสถานที่ หวังกระตุ้นท่องเที่ยว

'มาดามหยก'ปลื้มปชช.นับหมื่นคน พร้อมใจเดินขึ้นดอยสุเทพฯ ร่วมถวายเครื่องสักการะ และสรงน้ำพระบรมธาตุฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved