วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
โปร่งใสปิ๊ง! 'รฟท.'แจงยิบปมจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค ชี้ทำตามระเบียบทุกขั้นตอน ใช้งานได้จริง

โปร่งใสปิ๊ง! 'รฟท.'แจงยิบปมจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค ชี้ทำตามระเบียบทุกขั้นตอน ใช้งานได้จริง

วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 15.13 น.
Tag : หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย โควิด
  •  

'การรถไฟฯ' แจงกรณีจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค ชี้ดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส-สามารถใช้ปฏิบัติงานได้จริง เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสทั้งบนขบวนรถและสถานี ย้ำคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดต่อพี่น้องประชาชน


ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมรับฟังข้อมูลและสังเกตการณ์การใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ โรงซ่อมประจำวัน สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยมีเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา


ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ขอเรียนชี้แจงว่าการลงพื้นที่ดังกล่าวของ ป.ป.ช. เป็นการเข้ามาตรวจเยี่ยม เพื่อขอรับทราบข้อมูลและสังเกตการณ์ถึงการใช้งานของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ซึ่งการรถไฟฯ ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมสาธิตการใช้งานของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ  ตลอดจนชี้แจงถึงข้อมูล เหตุผลความจำเป็นการดำเนินการจัดหาอย่างละเอียด ทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน การรถไฟฯ ยังมีการนำหุ่นยนต์ดังกล่าว ออกมาใช้งานฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรียต่างๆ ภายในขบวนรถโดยสาร และสถานีรถไฟอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการดูแลรักษาความสะอาด สร้างความปลอดภัย และเสริมศักยภาพในด้านการให้บริการ โดยนำออกมาใช้งานเวลากลางคืน หรือเวลาที่ไม่มีประชาชนหรือผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการใช้งาน ซึ่งก่อให้เกิดความสะอาด ปลอดภัย  ป้องกันไม่ให้รังสียูวีชี (UV-C) ที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษกระทบต่อผู้โดยสารและประชาชนผู้ใช้บริการ

สำหรับเหตุผลความจำเป็นของการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) นั้น เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรง แต่ขณะนั้นยังคงมีประชาชนที่มีความจำเป็นในการใช้รถไฟเพื่อเดินทาง ประกอบกับมีเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้รับเชื้อและอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง จนส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการ และดูแลความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุขแก่ผู้โดยสาร จึงนำไปสู่แนวทางการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค ซึ่งถือเป็นแนวทางมาตรฐานสากล ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

ส่วนสเป็คคุณสมบัติของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) ที่การรถไฟฯ ดำเนินการจัดหา ถือเป็นหุ่นยนต์เทคโนโลยีขั้นสูง สามารถฆ่าเชื้อไวรัส/แบคทีเรียด้วยรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตชนิดเข้มข้น  ประมวลผลการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ  ขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองผ่านระบบไวไฟ 5G อีกทั้งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานโดย CE และ TUV Rheinland (UVDR/Ultra Violet Disinfection Robot, AGV/Autonomous Guide Vehicle)  มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที จึงมีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคมากกว่าวิธีการฉีดพ่นสารเคมี และการเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ  ไม่มีสารเคมีตกค้างหลังการใช้งาน

อย่างไรก็ตาม แม้การรถไฟฯ จะมีเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหา แต่การรถไฟฯ ยังคำนึงถึงความโปร่งใส และยึดหลักธรรมภิบาล ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) และคณะกรรมการดำเนินการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) พร้อมกับเปิดให้มีการเสนอราคาประมูลแข่งขันอย่างเป็นธรรม และมีการสอบราคาตามที่ถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน

ที่สำคัญการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) จำนวน 20 ตัว นอกจากจะเป็นการได้หุ่นยนต์กำจัดเชื้อโรคที่มีเทคโนโลยีทันสมัยแล้ว ยังได้รวมถึงการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และรับประกันตลอด 2 ปีเต็ม ตลอดจนการอบรมเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ จำนวน 30 คน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อฯ ได้จริง อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ภายหลังการจัดหาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคมาใช้งานแล้ว การรถไฟฯ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินการในด้านต่างๆ  เพื่อแสดงความโปร่งใส  และการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพอีกด้วย

ปัจจุบัน การรถไฟฯ มีการนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยใช้รังสียูวีซี (UV-C) มาใช้งานกับขบวนรถโดยสาร และตามสถานีต้นทาง/ปลายทางต่างๆ ดังนี้

1. สถานีกรุงเทพ จำนวน 4 ตัว
2. สถานีเชียงใหม่ จำนวน 2 ตัว
3. สถานีหนองคาย จำนวน 2 ตัว
4. สถานีอุบลราชธานี จำนวน 2 ตัว
5. สถานีชุมทางหาดใหญ่ จำนวน 2 ตัว
6. สำนักงานและพื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟฯ จำนวน 2 ตัว
7. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 6 ตัว

สำหรับผลจากการจัดหาและนำหุ่นยนต์มาใช้ฆ่าเชื้อโรคภายในสถานี และบนขบวนรถโดยสาร สามารถได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ สร้างความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และผู้โดยสารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อนับจากสถิติการเดินทางของผู้โดยสาร 17 ล้านคน นับตั้งแต่มีการนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อมาใช้งาน  ไม่พบผู้โดยสารติดเชื้อโควิด-19 หรือโรคระบาดต่างๆ จากการเดินทางโดยรถไฟหรือที่สถานีเลย ซึ่งถือเป็นความคุ้มค่าในการช่วยป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาด และลดความสูญเสียของพี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี ---017
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'หมอธีระ\'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย 'หมอธีระ'เผยแค่อาทิตย์เดียว ป่วยโควิดเข้า รพ.กว่า 8,446 ราย
  • ‘พีมูฟ-สลัม4ภาค’บุกทำเนียบ ยกมติครม.จี้รัฐบาลเร่งอนุมัติโครงการชุมชนรายได้น้อยเช่าที่ดินรถไฟ ‘พีมูฟ-สลัม4ภาค’บุกทำเนียบ ยกมติครม.จี้รัฐบาลเร่งอนุมัติโครงการชุมชนรายได้น้อยเช่าที่ดินรถไฟ
  • กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี\'เดลตาครอน\'ระบาด กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยสายพันธุ์โควิด ที่พบมากสุดในไทย ยันไม่มี'เดลตาครอน'ระบาด
  • ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น ‘กสม.’แนะรัฐออกแนวทางเยียวยาสาธารณภัยอย่างทั่วถึง ยกเคสโควิดกลุ่ม‘พนักงานบริการ’ตกหล่น
  • ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป ‘หมอยง’เลคเชอร์‘โควิด’เปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่‘ไวรัส’ยังอยู่ต่อไป
  • ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด ย้อนดู 5 ปี‘โควิด’! หมอยงหวนระลึก 2 ปีแรกของการระบาด
  •  

Breaking News

ประเดิมคนแรก! 'กกต.-ดีเอสไอ'แปะหมายหน้าประตูห้อง'สว.อลงกต'

ชาวนาบุรีรัมย์ถือฤกษ์ดี ‘วันพืชมงคล’ เริ่มไถนาเพาะปลูกข้าว-เชื่อผลผลิตเจริญงอกงามดี

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved