'เทศบาลนครสงขลา'เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ประจำปี 2566 เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ประสบภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 ที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถนนเตาอิฐ อ.เมือง จ.สงขลา นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนดินถล่ม ประจำปี 2566 ของเทศบาลนครสงขลา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี โดยประธานในพิธีได้ตรวจเยี่ยมความพร้อมของกำลังเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และได้ให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งได้มอบชุดอุปกรณ์ที่ในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแก่เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ และตัวแทนเจ้าหน้าที่ประจำเขต ทั้ง 4 เขต จากนั้นได้ร่วมกันกดสัญญาณปล่อยแถวเจ้าหน้าที่และขบวนรถเพื่อออกปฏิบัติหน้าที่ประจำเขตตามที่ได้รับมอบหมายต่อไป
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ เป็นศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมไว้รับสถานการณ์ตั้งแต่ยามปกติ เป็นศูนย์การวางแผน สั่งการ วิเคราะห์สถานการณ์ ควบคุมการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง รับแจ้งเหตุเดือดร้อนพร้อมแก้ไขปัญหา การแจกกระสอบทราย การสนับสนุนน้ำดื่มและน้ำสะอาด รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ต.บ่อยาง เขตเทศบาลนครสงขลา สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 074-311016, 074-312700 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยนายวันชัย กล่าวว่า เทศบาลนครสงขลา ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มเป็นประจำทุกปี เนื่องจากสาเหตุทางด้านภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุมเขตร้อน และมีลมมรสุมพัดผ่าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี และยังมีความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ก่อตัวขึ้นและพัฒนาเป็นพายุเขตร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงเวลาดังกล่าว จนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ และประกอบกับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือนร้อน ตลอดจนสิ่งสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากเป็นประจำทุกปี
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการป้องกันการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ประสบภัย เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนการฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ---017
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี