วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เพจเฟซบุ๊ก "โฆษกกระทรวงกลาโหม" ได้โพสต์ ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน : วันกอบกู้เอกราช โดยระบุว่า ....กว่าจะเป็นไทยได้อย่างทุกวันนี้ บรรพบุรุษของเราต้องสละชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้ไว้ให้ลูกหลาน...
สงคราม กอบกู้เอกราชครั้งนั้น เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกกองทัพเรือจากจันทบุรี เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี ทรงยึดเมืองธนบุรีคืนได้ และประหารคนไทยที่เป็นไส้ศึก แล้วจึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบข้าศึกจนราบคาบ กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลา ๗ เดือน หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาในการทรงกอบกู้เอกราช
สำหรับ วันที่ 6 พฤศจิกายน : วันกอบกู้เอกราช เป็นวันกู้ชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้แก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี จึงขอนำประวัติของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ มาบอกเล่า เพื่อร่วมรำลึกถึงวีรกรรม ความกล้าหาญของพระองค์ ที่ช่วยให้คนไทยได้มีชาติไทยอาศัยอยู่มาจนถึง ณ ทุกวันนี้
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี ที่มาจากสามัญชนคนธรรมดา เกิดวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในสมัยช่วงปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธา พระองค์ทรงเป็นสามัญชนคนธรรมดา เป็นลูกคนจีน กำเนิดในตระกูลแต้ มีชื่อเดิมว่า สิน มีพ่อเป็นคนจีนชื่อ ไหฮอง เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้แต่งงานกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐาน บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้มี ปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตาก ในเวลาต่อมา
กระทั่งปี พ.ศ.2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ขึ้นครองราชย์ต่อได้เพียง 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน เชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ นายสินมหาดเล็กสร้างผลงานได้รับความดีความชอบ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสินมหาดเล็กรายงานเป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก จนกระทั่งพระยาตากถึงแก่กรรม หลวงยกบัตรเมืองตากจึงได้เลื่อนเป็นพระยาตาก ให้ปกครองเมืองตาก
ต่อมาพม่าได้ยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาทางตอนใต้ เมื่อปี พ.ศ.2307 โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ พระยาตากยกทัพไปช่วยรักษาเมืองเพชรบุรี และตีทัพพม่ากลับไปอย่างง่ายดาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2308 พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระยาตากก็สามารถช่วยรักษาพระนครไว้ได้อีก ความดีความชอบนี้ ทำให้ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาตากเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันที่พระยาวชิรปราการจะได้ครองเมืองกำแพงเพชร พม่าก็ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระยาวชิรปราการจึงต้องเข้ากรุงศรีอยุธยา เพื่อป้องกันพระนคร
ระหว่างทำการสู้รบอยู่นั้น พระยาวชิรปราการเกิดท้อแท้ใจที่แม้จะตีค่ายพม่าได้ แต่พระนครกลับไม่ส่งกำลังไปหนุน จนทำให้พม่ายึดค่ายกลับคืนได้ อีกทั้งยังเห็นว่า ทัพพม่ามีกำลังมากกว่า หากออกไปรบคงพ่ายแพ้อย่างหมดทางสู้ และตนเองยังถูกภาคทัณฑ์ที่ยิงปืนใหญ่ใส่ทัพพม่าโดยไม่ได้ขออนุญาต ด้วยเหตุนี้ พระยาวชิรปราการจึงเห็นว่า คงไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ป้องกันพระนคร และเชื่อว่า กรุงศรีอยุธยาคงจะต้องเสียกรุงเสียครานี้ เพราะกษัตริย์ที่เป็นผู้นำ นั้นอ่อนแอ พระยาวชิรปราการจึงนำไพร่พล 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากค่ายพิชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และยึดเมืองระยองได้สำเร็จ ระหว่างนั้น ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ พายุหมุนอย่างรุนแรงจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ตาลขด" ขณะที่เหล่าเสนาบดีทหารทั้งหลายก็ยกย่องพระยาวชิรปราการเป็น "เจ้าตาก"
กรุงศรีอยุธยาแตก ในเมื่อวันที่ 7เมษายน พ.ศ.2310 พระเจ้าตากตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ก่อนกรุงแตกไปเเล้ว ได้ทำการรวบรวมผู้คนทางเมืองชายทะเลตะวันออก เดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรี ไว้เป็นฐานที่มั่น จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อหุงข้าวเสร็จแล้วก็กินให้อิ่ม แล้วสั่งทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้ง ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ ก็ต้องพากันตายทั้งหมด " ซึ่งเป็นกุศโลบายปลุกใจทหาร จากนั้นพระเจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ยิงปืนคาบศิลาเป็นสัญญาณ ไสช้างเข้าพังประตูเมือง นำทหารเข้าตีเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ในเวลาตี 3
เมื่ออยู่ที่เมืองจันทบุรี ก็ได้สั่งสมกำลังพล อาวุธ และเสบียง ครั้นได้นายทัพนายกองเพิ่มเติมมากขึ้น พอถึงเดือน 11 ปี กุน พ.ศ. 2310 สิ้นฤดูมรสุมพระเจ้าตาก ต่อเรือรบได้ 100 ลำ รวบรวมไพร่พล รวมทหารทั้งไทยจีนได้ประมาณ 5,000 นาย จึงได้ยกทัพเรือออกจากจันทบุรี เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเข้าโจมตีข้าศึกพม่ารามัญ ที่เมืองธนบุรี
6 พ.ย พ.ศ. 2310 เมื่อเจ้าตากยกทัพเข้าตียึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้าตียึดค่ายโพธิ์สามต้น นำทัพรบพุ่งปราบพม่าจนราบคาบ โดยสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่ที่เสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่ธนบุรี ตั้งเมืองราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ขนานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" และทรงปราบดาภิเษก จากสามัญชน ขึ้นไปเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ในพระชนมายุ 34 พรรษา ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ได้ทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้งและทรงได้รับชัยชนะทุกครั้ง รวมทั้งทรงทำศึกกับเขมร 3 ครั้ง ส่วนพระราชกรณียกิจด้านอื่น ๆ นอกจากการเมืองและการศึกสงครามแล้ว พระองค์ทรงฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การบำรุงการศึกษาตามวัด การรวบรวมพระไตรปิฎก บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
พระเจ้าตากสิน ทรงรบทำศึก ปราบปรามขุนศึก พิชิต ก๊กต่าง ๆ เพื่อที่จะรวบรวมผนวกแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เป็นอาณาจักร ปกครองดินแดน มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของการสร้างชาติไทย ดร.รัตติกร ทองเนตร กล่าวต่อไปว่า ดิฉันขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนนการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ในปีการศึกษา 2562 นับเป็นเกียรติประวัติของโรงเรียนทั้ง 57 แห่ง ที่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การผ่านการประเมินเป็นการแสดงถึงศักยภาพของคุณครูปฐมวัยที่ตั้งใจ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปีการศึกษา 2562 การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งกิจกรรมการทดลองและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา และยังเป็นการพัฒนา ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยที่จะเป็นรากฐานที่ดีของการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองไทยในอนาคต ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป และประสบผลสำเร็จในการพัฒนาความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยสืบไป
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : สุรศักดิ์ สร้อยเพชร
ผู้เรียบเรียง : ธัญญารัตน์ ธีรหิรัญวัฒน์
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ , สำนักงานประชาสัมพันธ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี