วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
9ปี‘กฎหมายป้องกันทารุณกรรมสัตว์’ พบ‘จัดสวัสดิภาพ’ยังทำน้อยมาก เตรียมเสนอแก้10ประเด็น

9ปี‘กฎหมายป้องกันทารุณกรรมสัตว์’ พบ‘จัดสวัสดิภาพ’ยังทำน้อยมาก เตรียมเสนอแก้10ประเด็น

วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 21.10 น.
Tag : ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ ทารุณกรรมสัตว์m
  •  

9ปี‘กฎหมายป้องกันทารุณกรรมสัตว์’ พบ‘จัดสวัสดิภาพ’ยังทำน้อยมาก เตรียมเสนอแก้10ประเด็น

วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 สมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) และภาคีเครือข่าย จัดการสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ครั้งที่ 23 เรื่อง “9 ปี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 กับการบูรณาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและสัตว์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ณ รร.แคนทารี อมตะ บางปะกง จ.ชลบุรี


รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์ อุปนายกสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า 9 ปีของ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 พบเสียงหลากหลายรูปแบบ ทั้งการให้ความสนใจ การโต้แย้ง ผลของคำพิพากษา การร้องทุกข์กล่าวโทษต่างๆ มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมหรือความสมบูรณ์ของกฎหมายฉบับนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ 

“ถึงเวลาแล้ว 9 ปีที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้มา ปัญหามีมากเหลือเกิน เราได้เสพทั้งข่าว ได้เห็นทั้งของจริงในชุมชน ตัวดิฉันเองในนามของทางสมาคม ได้เห็นถึงความเหนื่อยยากของคณะกรรมการและพนักงานทุกคนของสมาคม ที่ไม่ได้หยุดนิ่งในแต่ละวัน ต้องบอกแนวทางไปจังหวัดต่างๆ เพื่อนำอาหารไปให้ เพื่อนำยารักษาโรคไป พาไปทำหมัน พาไปหาหมอ หรือพาหมอไปลงพื้นที่ สิ่งเหล่านี้เป็นงานภารกิจที่สมาคมได้ทำมาเป็นเวลาช้านาน” รศ.นุชทิพย์ กล่าว

นายนิกร จำนง อดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ (ร่าง) พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. .. กล่าวว่า พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มีปัญหาเรื่องออกมาบังคับใช้เร็วเกินไป ซึ่งก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เช่น เตะเมียดีกว่าเตะหมา เพราะเตะหมาโทษถึงติดคุก เพราะขาดการทำความเข้าใจกับประชาชน และยังถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่เน้นเอาผิดผู้มีพฤติกรรมทารุณกรรมสัตว์ มุ่งไล่จับกุมผู้กระทำผิด ทั้งที่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมาย แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งคือการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ที่พบว่าไม่ได้มีการดูแลเลย

ซึ่งตอนที่ออกกฎหมายก็รู้กันอยู่แล้วว่ามีปัญหาในประเด็นการนำภาระงานตามกฎหมายนี้ไปฝากไว้กับกรมปศุสัตว์ เพราะหน้าที่ของกรมปศุสัตว์คือดูแลสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร แล้วกรมปศุสัตว์จะเอางบประมาณมาจากไหน ดังนั้นสิ่งที่ตนฝากไว้คือ มาตรา 77 ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 กำหนดให้การจะออกกฎหมายต้องถามประชาชน และกฎหมายเมื่อออกมาแล้วก็ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วย ซึ่ง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ปัจจุบันก็กำลังอยู่ในระยะศึกษาผลสัมฤทธิ์ตามมาตราดังกล่าว

“อาศัยจังหวะนี้ ปีนี้มันมีโอกาสแล้ว เขาจะมีการถูกบังคับให้แก้กฎหมายโดยรัฐธรรมนูญ เราเสียบเข้าไปยังได้เลย ผมปวารณาตัวไว้ตรงนี้ว่า ผมมีกฎหมายหลายฉบับ เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องประชามติ เรื่องนิรโทษ ผมเลือกแต่กฎหมายที่จำเป็น ที่ผมคิดว่าสำคัญ ฉบับนี้เข้ามาเมื่อไรผมจะไปเป็นกรรมาธิการทำให้ เพราะเราเคยทำอยู่เดิม เรารู้กลไกของมันว่าควรจะทำอย่างไร” นายนิกร กล่าว

นายสาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มี 10 ประเด็น ที่มีแนวคิดขอปรับแก้ ได้แก่ 1.เจ้าของสัตว์ ที่ผ่านมาหลายกรณีแม้ศาลจะมีคำพิพากษาแต่บางอย่างก็ยังไม่ชัดเจน 2.พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ผ่านมาไม่มีการกล่าวถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3.คณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 

4.การทำร้ายสัตว์เกินสมควร 5.การปล่อยหรือทิ้งสัตว์ 6.การแต่งตั้งผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ 7.เกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกยึดระหว่างดำเนินคดี 8.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยาน กรมประมง ควรเข้ามาดูแลสัตว์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ 9.ว่าด้วยสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 ชนิด หากทุกๆ 5 ปี เพิ่มครั้ง 5 ชนิด ก็ไม่รู้จะต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าจะครอบคลุม และ 10.การจัดสวัสดิภาพสัตว์  ซึ่งหลังจากนี้ สมาคมฯ จะประชุมกันอย่างเข้มข้นเพื่อให้ออกมาเป็นตัวร่างกฎหมายสำหรับเสนอขอปรับแก้ นอกจากนั้นที่สมาคมฯ กำลังศึกษาอยู่ คือการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง

นายธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ นายกสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องของสัตว์กับคน เคยมีการพูดคุยกันในที่ประชุมว่าคนก็คือสัตว์ แต่เป็นสัตว์ประเสริฐ ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตของคนหรือของชาวบ้านด้วย หากเราไม่แก้ปัญหาให้กับคน ต่อไปก็จะมีปฏิกิริยาย้อนกลับ แล้วการที่ประชาชนหรือสังคมไทยอยากสนับสนุนในสิ่งที่สมาคมฯ ทำ หรืออยากทำในสิ่งที่สมควรก็จะลดงง เพราะเขามองว่าเราไม่คิดถึงคนเลย 

สำหรับการสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ครั้งที่ 23 เรื่อง “9 ปี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 กับการบูรณาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและสัตว์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” จัดขึ้น 2 วัน ระหว่างวันที่ 12-13 ก.ค. 2567 ซึ่งจะมีการรวบรวมความเห็นสำหรับสรุปเป็นข้อเสนอแนะต่อไป
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved