วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้’ผนึกกำลัง‘ชาวบ้าน-นักวิจัย’ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้แข่งขันได้

‘ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้’ผนึกกำลัง‘ชาวบ้าน-นักวิจัย’ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้แข่งขันได้

วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567, 12.04 น.
Tag : ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ เศรษฐกิจฐานราก
  •  

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ที่โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานประกวดและนิทรรศการ “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” ครั้งที่ 2 (The 2nd Learning and Innovation Community Award) โดย รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ หัวหน้าโครงการชุดประสานงานชุมชนนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า งานครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เสริมพลังนวัตกรด้วยนวัตกรรมเด่น สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน” เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัยที่เชื่อมโยงการแก้ปัญหาของคนในชุมชน

รวมถึงการสร้างชุมชนนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรชุมชน และการบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยภายใต้แผนงานชุมชนนวัตกรรม และแผนงานขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สาธารณะ ให้เกิดการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง นักวิจัยและนวัตกรชุมชนได้รับการเชิดชูเกียรติ เกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน ได้เพิ่มเติมทักษะความรู้ความสามารถ สานต่อการทำงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าประกวดในเวทีระดับนานาชาติ


“การจัดงานในครั้งนี้ประกอบไปด้วยคณะนักวิจัยจำนวน 250 คน นวัตกรชุมชนที่เกิดจากโครงการวิจัย ที่มีทักษะ ความรู้ความสามารถ เป็นแกนนำสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จำนวน 100 คน และผุ้สนใจทั่วไปรวม 500 คน มีกำหนดการจัดงานเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งแบ่งเป็นการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยจำนวน 34 บูธผลงาน และการประกวดผลงานนวัตกรรมจำนวน 100 ผลงาน แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.ประเภทชุมชนนวัตกรรม 2.ประเภทนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ 3.ประเภทนวัตกรชุมชน” รศ.ดร.วารุณี กล่าว

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า กิจกรรมนี้อยู่ภายใต้แผนงานการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ส่วนกรอบวิจัยคือชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับพื้นที่ โดยใช้เครือข่ายเศรษฐกิจฐานราก การเรียนรู้และนวัตกรรม

โดยสิ่งที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ทำไปแล้ว คือการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning &Innovation Platform) ซึ่งสิ่งที่คิดว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนา คือกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชุมชนมีหุ้นส่วนที่สำคัญคือมหาวิทยาลัยซึ่งมีงานวิจัย ขณะเดียวกัน นักวิจัยในมหาวิทยาลัยก็ได้มีโอกาสสำคัญในการได้เรียนรู้ร่วมไปกับชุมชน ซึ่งหลายแห่งก็มีศักยภาพจากภูมิปัญญาเดิมอยู่แล้ว

“ในมุมของ สกสว. เอง เวลาเราได้มีโอกาสไปร่วมงานในต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่เราแสดงให้เห็นก็คือประเทศไทยนั้นมีกระบวนการพัฒนา ที่ไม่ใช่นักวิจัยลงไปทำโน่นทำนี่ แต่เป็นการทำร่วมกันของหลายภาคส่วนทั้งชาวบ้านทั้งนักวิชาการ แล้วก็หน่วยงานในพื้นที่ ฉะนั้นในลักษณะการทำงานร่วมกันแบบนี้ มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และที่สำคัญมากกว่านั้นคือชุดความรู้-ชุดความคิดใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากการบูรณาการกันอย่างแท้จริง” รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าว

นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า มีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งพบธุรกิจขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ธุรกิจขนาดใหญ่คิดเป็นร้อยละ 5 ของธุรกิจทั้งหมด ในขณะที่อีกร้อยละ 95 คือธุรกิจเล็กๆ ที่กระจายกันอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้รวมกันแล้วก็ยังไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาท้องถิ่น และต้องพัฒนาให้สามารถแข่งขันได้ในกลไกตลาดเสรี

แต่อีกด้านหนึ่งก็มีหน่วยงานอย่าง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ที่ทำงานด้านการพัฒนาแกนนำชาวบ้าน มีกองทุน มีโครงการบ้านมั่นคงและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการจะนำทั้ง 2 ส่วนมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Key Agent) ที่ใช้ข้อมูลความรู้เป็น หมายถึงสามารถใช้เพื่อพัฒนาทั้งตนเองและผู้อื่นได้ เรื่องนี้สำคัญมากกับการที่ประเทศจะมองไปข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ด้วยพลวัติต่างๆ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) หรือสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) หายไป จึงไม่อาจมองเพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่ต้องมองบริบทโดยรวมตั้งแต่ชุมชน เมือง จังหวัด กลุ่มจังหวัด ระเบียบเศรษฐกิจ ไปจนถึงระดับโลก และคนที่เป็นแกนนำคือจุดเชื่อมต่อที่สำคัญที่สุด ซึ่งอยากเห็นแบบนี้ในทุกตำบล อย่างน้อยตำบลละ 5 คน  หรืออาจมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงสัก 35,000 คน เพื่อทำให้ชุมชนเติบโตและก้าวทันต่อพลวัติของโลก ด้วยความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“วันนี้อยากชี้ให้เห็น คือส่วนทั้งหมดมันจะไปด้วย Academic Support (การสนับสนุนจากภาควิชาการ) ก็คือข้อมูลความรู้ แต่ความยั่งยืนจะตอบที่ Learning Outcome (ผลลัพธ์การเรียนรู้) คือกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมในบริบทของพวกเรา แล้วทำให้เราเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้ผู้อื่น เรียนรู้เทคโนโลยี-นวัตกรรม แล้วไปรับความรู้ใหม่ได้ ไม่ปิดกั้นตัวเอง ไม่ปิดกั้นโอกาสที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐ ตลาดหรือผู้อื่น” นายกิตติ กล่าว

สำหรับงานประกวดและนิทรรศการ “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย. 2567 โดยมีกิจกรรมมากมาย อาทิ นิทรรศการรวม 34 บูธ แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1.สัตว์เศรษฐกิจ 2.งานหัตถกรรม 3.สินค้าเกษตรมูลค่าสูง และ 4.คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การประกวดผลงานวิจัย นวัตกรรม/เทคโนโลยีที่เหมาะสม นวัตกรชุมชนและชุมชนนวัตกรรม ตลอดจนการเสวนา การบรรยายและการฝึกอบรมอีกหลายหัวข้อ

- 006

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

อาลัย! 'เจ้าจิราพันธุ์ ณ เชียงใหม่' ถึงแก่กรรมอย่างสงบ สิริรวมอายุ 100 ปี

‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ตีกลับ‘ประธานสภา’ตรวจสอบลายมือชื่อก๊วนสส.ร้องสอบ‘พิเชษฐ์’ฝ่าฝืนรธน.

Wharfedale Pro เปิดตัว 5 ซีรีส์ใหม่ในตลาดไทย ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีเสียงระดับโลก

‘แก้รธน.’ติดหล่ม!‘ศาลรัฐธรรมนูญ’รอความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก่อนวินิจฉัยปมทำ‘ประชามติ’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved