วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ทำความรู้จัก 'วันศารทวิษุวัต' เวลากลางวัน ยาวนานเท่ากับกลางคืน วันที่ 22 ก.ย.นี้

ทำความรู้จัก 'วันศารทวิษุวัต' เวลากลางวัน ยาวนานเท่ากับกลางคืน วันที่ 22 ก.ย.นี้

วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567, 15.59 น.
Tag : กลางวันยาวนานเท่ากลางคืน วันศารทวิษุวัต
  •  

NARIT เผยข้อมูล 22 กันยายน 2567 นี้คือ "วันศารทวิษุวัต" วันที่มีช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน

วันที่ 20 กันยายน 2567 มีรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า 22 ก.ย. นี้ "วันศารทวิษุวัต" เวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน นับเป็นวันเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้


"วันศารทวิษุวัต" (อ่านว่า สา-ระ-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้มีช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนยาวนานเท่ากัน

สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า เวลาประมาณ 06:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:14 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกใต้

แม้เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในวันดังกล่าว จะดูเหมือนไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าวันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานไม่เท่ากัน เนื่องจากการนิยามดวงอาทิตย์ขึ้นและตกนั้น จะนับเมื่อเราเห็น "ขอบบน" ของดวงอาทิตย์สัมผัสกับเส้นขอบฟ้า กล่าวคือ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และเมื่อดวงอาทิตย์ตก จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก (หรือเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหมดทั้งดวงนั่นเอง) ซึ่งหากนับจากช่วงเวลาที่จุดกึ่งกลางดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านขอบฟ้า วันดังกล่าวนับว่าเป็นวันที่มีกลางวัน และกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน

สำหรับคำว่า Equinox (อิ-ควิ-นอกซ์) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ aequus แปลว่า เท่ากัน และ nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้นจึงแปลรวมกันว่า "กลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน" ซึ่งตรงกับคำว่า วิษุวัต (विषुवत्) ในภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า จุดราตรีเสมอภาค เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า Vernal Equinox (วสันตวิษุวัต) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า Autumnal Equinox (ศารทวิษุวัต)

สำหรับปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการ ขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ในปีนี้ คือ "วันเหมายัน" (Winter Solstice) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม 2567 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว" สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้จะมีช่วงกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน.

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'รสนา'วอนศาลเมตตา'ฟ้า สุทธินี' จำเลยคดี ม.112 ได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ

'ภูมิธรรม' ถือเค้กอวยพรวันเกิด 'ปลัดมหาดไทย' ชมช่วยทำงานผลักดันนโยบายสำคัญ

เช็คเสียงโหวตร่างนิรโทษฯ!‘สส.รัฐบาล’เหนียวแน่น ‘6 สส.สายเสื้อแดง พท.’โหวตหนุน‘ฉบับส้ม’

'กรมศุลกากรกัมพูชา'สั่งห้ามนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง-ผักผลไม้จากไทยเด็ดขาด/สินค้าอื่นๆเข้าได้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved