เสริมศักยภาพ แพทย์-เภสัชกร ช่วยเลิกยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ได้สำเร็จ
นพ.สุนทร สุนทรชาติ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของกรุงเทพมหานครในด้านการให้บริการช่วยเลิกยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ ณ ห้องปรินซ์บอลรูม โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ซึ่งกรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้เท่าทันสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้า และพัฒนาการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ด้วยยาไซทีซีน (Cytisine) ซึ่งได้บรรจุในบัญชียาหลักของสำนักอนามัยและอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พญ.ภาวิณี รุ่งทนต์กิจรองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดกิจกรรม
รองปลัดกทม. กล่าวว่า การเลิกยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่มีหลายวิธี ยาไซทีซีน (Cytisine) ก็เป็นส่วนหนึ่ง เมื่อก่อนยามีราคาแพงทำให้คนไข้เข้าถึงไม่ได้ แต่วันนี้ยาราคาถูกลง ทุกคนต้องช่วยกันผลักดันกันต่อไปรวมถึงในเรื่องของการรักษาพยาบาลด้วย การกำหนดให้ยานี้อยู่ในรายการยาและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule จะช่วยในเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพราะในกรุงเทพฯ ไม่ได้รักษาแบบเหมาจ่ายเหมือนกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้จะมีกิจกรรมเชิญชวนข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครเลิกบุหรี่ รวมถึงได้มีการขายไอเดียให้กระทรวงสาธารณสุขในการให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อบัญญัติกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามความเหมาะสมนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายยาสูบกำหนดบริบทในกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการในส่วนนี้ได้ การจัดกิจกรรมในวันนี้จะเป็นมิติที่สำนักอนามัยจะช่วยให้คนที่อยากเลิกบุหรี่ทำได้สำเร็จ
ทั้งนี้ ในปี 2564 กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีคนสูบบุหรี่จำนวน 1,232,467 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 มีการสูบบุหรี่ประมาณ 10 มวนต่อวัน และนักสูบหน้าใหม่ มีอายุเฉลี่ย 18.5 ปี องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มขึ้น 5 เท่า จาก 3.3% ในปี 2558 เพิ่มเป็น 17.6% ในปี 2565 แต่บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนักมากในปี 2566 และ 2567 จากการตลาดล่าเหยื่อที่ผลิต Toy Pod ซึ่งระบาดมาที่เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้ามีฤทธิ์ให้เกิดการเสพติด ส่งผลให้เกิดนักสูบหน้าใหม่อายุน้อย มีระยะเวลาเสพติดยาวนานส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อการเรียนและครอบครัว
สำหรับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 22 พ.ย. 2567 และรุ่นที่ 2 วันที่ 29 พ.ย. 2567 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย แพทย์ และเภสัชกรประจำและห้วงเวลา รวม 250 คน จากศูนย์บริการสาธารณสุข และเภสัชกรจากกองเภสัชกรรม สำนักอนามัย วิทยากร ได้แก่ รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ พญ.ธญรช ทิพยวงษ์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข และ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงานพลังวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยไร้ยาสูบ ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี