วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'เสมา 1'พร้อม'สพฐ.'เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น พัฒนานวัตกรรมไอซีที

'เสมา 1'พร้อม'สพฐ.'เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น พัฒนานวัตกรรมไอซีที

วันศุกร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 16.58 น.
Tag : กระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาไทย ญี่ปุ่น นวัตกรรม เพิ่มพูนชิดชอบ เยาวชนไทย ศธ สพฐ TJSIF2024
  •  

"เสมา 1"พร้อม"สพฐ."เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น พัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีสำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น Thailand-Japan Student ICT Fair 2024 (TJ-SIF 2024) โดยมีนายโอตากะ มาซาโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและนักเรียน เข้าร่วม ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล


โอกาสนี้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยกับหน่วยงานการศึกษาของญี่ปุ่น จนสามารถจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมไอซีทีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ สร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนทางด้าน STEM สู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต พร้อมกันนี้ ได้เน้นย้ำให้เยาวชนตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและยั่งยืน โดยกระทรวงศึกษาธิการพร้อมให้การสนับสนุนนักเรียนได้เรียนในสิ่งที่ชอบตามความถนัดและสนใจ อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาแบบ Anywhere Anytime

“ขอชื่นชมนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยเฉพาะการนำปัญหาของคนในชุมชนเรื่องการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสตูลที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เฉพาะหน้าร้อน มาศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบควบคุมการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกด้วยระบบ IoT เช่น ระดับความเค็ม แสง การไหลเวียนน้ำ สารอาหาร โดยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และการขยายผลสู่ชุมชน สอดคล้องตามแนวนโยบาย Learn to earn เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างอาชีพ การมีรายได้ระหว่างเรียน สร้างชุมชนการค้าที่เข้มแข็งภายในโรงเรียน สนับสนุนการเรียนรู้ด้านการประกอบธุรกิจและส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจด้วยตนเองต่อไป” รมว.ศธ.กล่าว

ทางด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า งานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีทีของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น ในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2567 เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กับกลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools และสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีที ของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จัดการเรียนรู้ของครู และการแข่งขัน Game Programming Hackathon ภายใต้การเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมีกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 18 แห่ง สถาบันการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18 แห่ง กลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools ประเทศญี่ปุ่น 14 แห่ง และ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 11 แห่ง จำนวนกว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีจำนวน 137 ผลงาน ในรูปแบบ Poster Presentation และ Oral Presentation 2. นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีและหุ่นยนต์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 3. การบรรยายด้าน ICT โดยนักวิทยาศาสตร์ไทยและญี่ปุ่น 4. ICT Workshop สำหรับนักเรียน 5. การศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT ในจังหวัดสตูล 6. การประชุมวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น (TJ-ELS 2024) ในหัวข้อ AI for Education

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีของนักเรียนที่น่าสนใจ อาทิ หุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับสวนโกโก้ ที่ใช้ GPS ในการอ้างอิงตำแหน่งของตัวเอง ตรวจจับและทำนายโรคของผลโกโก้จากภาพที่ถ่าย การส่งข้อมูลและการควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชันจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการแชร์รูปภาพบนโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล โดยนักศึกษา Hachinohe KOSEN ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสามารถชมนิทรรศการออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://tj-sif2024.pcshsst.ac.th/member/ex_proj.php

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'สาธิตจุฬาฯ\'ร่วม\'ยูนิโคล่\' สานต่อโครงการ Happy Gloves เพื่อเด็กพิการทางสมอง จากการคิดค้นของนวัตกรเยาวชนไทย 'สาธิตจุฬาฯ'ร่วม'ยูนิโคล่' สานต่อโครงการ Happy Gloves เพื่อเด็กพิการทางสมอง จากการคิดค้นของนวัตกรเยาวชนไทย
  • ไทยเจ้าภาพจัดแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกครั้งที่21 ไทยเจ้าภาพจัดแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกครั้งที่21
  • สกร.เปิดสมัครสอบเทียบครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.-7 ก.ค.นี้ไม่มีค่าใช้จ่าย สกร.เปิดสมัครสอบเทียบครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.-7 ก.ค.นี้ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • สร้างอนาคตเด็กไทย! เปิดหลักสูตร‘นวัตกรรม-AIสุดล้ำ’นำร่องให้นักเรียนในชลบุรี สร้างอนาคตเด็กไทย! เปิดหลักสูตร‘นวัตกรรม-AIสุดล้ำ’นำร่องให้นักเรียนในชลบุรี
  • \'เพิ่มพูน-ผู้บริหาร สพฐ.\' ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ครู-นักเรียน ดูการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุโรงเรียนชายแดนไทย-กัมพูชา 'เพิ่มพูน-ผู้บริหาร สพฐ.' ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ครู-นักเรียน ดูการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุโรงเรียนชายแดนไทย-กัมพูชา
  • ศธ.มอบ 5 Big Rocks พัฒนาการศึกษาเทียบเท่าสากล ศธ.มอบ 5 Big Rocks พัฒนาการศึกษาเทียบเท่าสากล
  •  

Breaking News

บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ

ไฟเขียว! สภาสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ'ทรัมป์'

ทัพอากาศพม่าแค้น! ‘โจมตีคาเรนนี’อย่างหนัก-หลังเครื่องบินถูกสอยร่วง

ยื่นลาออก'ปชป.'แล้ว! 'ดร.เอ้'ลั่นยังเดินหน้าทำงานเพื่อชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved