วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘ปลาหมอคางดำ’เดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา คืนความสมดุลระบบนิเวศ

‘ปลาหมอคางดำ’เดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา คืนความสมดุลระบบนิเวศ

วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 16.28 น.
Tag : ระบบนิเวศ ปลาหมอคางดำ กรมประมง
  •  

‘ปลาหมอคางดำ’เดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา คืนความสมดุลระบบนิเวศ 

ปลาหมอคางดำ หรือ Sarotherodon melanotheron (Blackchin Tilapia) เป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปี 2567 จากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่เกิดจากการแพร่กระจายของปลาชนินี้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและรอบด้าน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็นสองส่วนหลักในปัจจุบัน ทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของปลา และการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและต้องใช้เวลา 


ปัจจุบัน กรมประมงได้กำหนดแผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำครอบคลุม 5 ขั้นตอนสำคัญ เพื่อจัดการปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและโปร่งใส โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็นมาตรการเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้ :

+ มาตรการเร่งด่วน

- ควบคุมและลดประชากรปลาหมอคางดำ ดำเนินการกำจัดปลาหมอคางดำในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน พร้อมสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความเสี่ยง

- สร้างความตระหนักรู้และการประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของปลาหมอคางดำและแนวทางการแก้ไขแก่ประชาชนผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

- สร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

+ มาตรการระยะกลาง

- ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกงและปลาช่อน รวมถึงพันธุ์สัตว์น้ำอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยตั้งเป้าปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าปลาหมอคางดำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ปลาป่น น้ำหมักชีวภาพ และเมนูอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชน

+ มาตรการระยะยาว

- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ดำเนินการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเหนี่ยวนำโครโมโซม 4N เพื่อทำให้ปลาหมอคางดำเป็นหมัน การใช้ฟีโรโมน และแสงสีในการควบคุมประชากรปลาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2567-2570

- นวัตกรรมการควบคุมเชิงนิเวศ ใช้เทคโนโลยีสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาเพื่อการกำจัดที่ตรงเป้าหมาย ลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบความสำเร็จในการลดจำนวนปลาหมอคางดำอย่างมีนัยสำคัญ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ลดจำนวนปลาจาก 60 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร เหลือ 25 ตัว จังหวัดเพชรบุรี ลดจำนวนจาก 80 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร เหลือไม่ถึง 40 ตัว ด้านจังหวัดสมุทรสาคร ปลาลดลงไป 60-70% ขณะที่จังหวัดสมุทรสงคราม ปลาที่จับได้เป็นปลาขนาดเล็ก และสามารถจับปลาหมอคางดำใน 18 จังหวัด ได้มากกว่า 3 ล้านกิโลกรัม ในจำนวนนี้นำไปทำเป็นปลาป่นแล้ว 2 ล้านกิโลกรัม ส่วนที่เหลือทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับสวนยางพาราและพืชอื่น และยังคงมีการดำเนินงานกำจัดต่อเนื่อง

กรมประมงยังคงเดินหน้าเชิงรุกเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดจำนวนปลาหมอคางดำให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 30 ตัวต่อ 100 ตารางเมตร พร้อมสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาหมอคางดำ เช่น การทำปลาร้าและน้ำปลา โดยร่วมกับกรมราชทัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ต้องขังตลอดจนชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

ปัจจุบัน แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำของกรมประมงเดินหน้ามาถึงมาตรการระยะกลาง การปล่อยปลาผู้ล่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลากะพง ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน โดยในปี 2567 ได้บรรลุเป้าหมายปล่อยปลาผู้ล่าจำนวน 200,000 ตัว รวมถึงการเตรียมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสำรวจแหล่งที่อยู่ของปลาในแหล่งน้ำ เพื่อให้กำจัดปลาได้ตรงเป้าหมายและควบคุมให้อยู่ในพื้นที่จำกัด ตลอดจนทำการศึกษาวิจัยเพื่อนำเทคโนโลยีเหนี่ยวนำโครโมโซม 4N ไปทำให้ปลาหมอคางดำเป็นหมัน ช่วยควบคุมการแพร่พันธุ์ของปลา หรือการใช้เทคโนโลยีฟีโรโมนหรือแสงสีในการควบคุมประชากรปลา เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ที่ไม่เพียงจะช่วยลดต้นทุนแต่ยังลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 

แนวทางปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นจะอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ จนสามารถเดินหน้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การฟื้นฟูความหลากหลายของปลาพื้นถิ่นและสัตว์น้ำ คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 

ในอนาคต แนวทางดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลในระบบนิเวศ พร้อมคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน ตลอดจนความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และคาดว่าปัญหาปลาหมอคางดำจะสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้

#เอมอร อัมฤก นักวิชาการอิสระ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดสารพัดเมนู‘ปลาหมอคางดำ’ แปรปัญหาสู่ของอร่อยบนโต๊ะอาหาร เปิดสารพัดเมนู‘ปลาหมอคางดำ’ แปรปัญหาสู่ของอร่อยบนโต๊ะอาหาร
  • ‘ปลาหมอคางดำ’ไม่ใช่ศัตรู ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์ให้เป็น ‘ปลาหมอคางดำ’ไม่ใช่ศัตรู ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์ให้เป็น
  • ‘ประมงเพชรบุรี’จับมือวิสาหกิจชุมชน แปรรูปปลาหมอคางดำ‘ตราใบโพธิ์’ของดีจากโพพระ ‘ประมงเพชรบุรี’จับมือวิสาหกิจชุมชน แปรรูปปลาหมอคางดำ‘ตราใบโพธิ์’ของดีจากโพพระ
  • \'สมุทรสาคร\'ลุยขับเคลื่อนแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ 'สมุทรสาคร'ลุยขับเคลื่อนแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ
  • จากแอฟริกาสู่ลุ่มน้ำโขง...กัมพูชา ปฐมบทการเข้ามาของ\'ปลาหมอคางดำ\'ก่อนประเทศไทย จากแอฟริกาสู่ลุ่มน้ำโขง...กัมพูชา ปฐมบทการเข้ามาของ'ปลาหมอคางดำ'ก่อนประเทศไทย
  • ผู้ช่วยฯร่วมทำน้ำปลาจาก‘หมอคางดำ’ ผู้ช่วยฯร่วมทำน้ำปลาจาก‘หมอคางดำ’
  •  

Breaking News

สุดกลั้น! 'นุ่น ดารัณ'เปิดบทเรียนเข้มงวดจนลูกหนีออกจากบ้าน

(คลิป) เมื่อลูกศิษย์ ไม่ได้ความเป็นธรรม 'ครูแพทย์จึงเสียน้ำตา' เมื่อ 'หมอตัวโต' ปกป้องนักการเมืองชั่วๆ

'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?

'นายกฯ'ยินดี พระสันตะปาปาลีโอที่ 14 ได้ตำแหน่งสันตะปาปาองค์ที่ 267

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved