วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : อว.เดินหน้าพัฒนาอาหารพื้นถิ่น - อาหารฟังก์ชั่น  สู่นวัตกรรม ‘อาหารปลอดภัย’ ด้วยการฉายรังสี

รายงานพิเศษ : อว.เดินหน้าพัฒนาอาหารพื้นถิ่น - อาหารฟังก์ชั่น สู่นวัตกรรม ‘อาหารปลอดภัย’ ด้วยการฉายรังสี

วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : กระทรวง อว. รายงานพิเศษ
  •  

กระทรวง อว. เดินหน้ายกระดับอาหารพื้นถิ่น และอาหารฟังก์ชั่น สู่นวัตกรรมอาหารปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี เพื่อเพิ่มโอกาสการตลาด ผ่านความร่วมมือ 5 หน่วยงานหลัก นำโดย สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือสทน. พร้อมด้วยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) หรือ สซ. และ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ได้แก่ มรภ.เลย มรภ.ชัยภูมิ และ มรภ.มหาสารคาม

น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมและการใช้ประโยชน์” ภายใต้แนวคิด “ฉายรังสีปลอดภัย อาหารพื้นถิ่นปลอดโรค” ปี 2568 โดยมี รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสทน., รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสซ., รศ.สมเจตน์ ดวงพิทักษ์ อธิการบดี มรภ.เลย, ผศ.ดร.สานนท์ ด่านภักดี อธิการบดี มรภ.ชัยภูมิ และ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่างผู้รักษาการแทนอธิการบดี มรภ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สทน. สซ. และ มรภ. เข้าร่วมงาน


น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. เปิดเผยว่า กระทรวง อว. เป็นกระทรวงที่ดูแลและขับเคลื่อนองค์ความรู้ของประเทศ ทั้งการพัฒนากำลังคนขั้นสูง การวิจัยและพัฒนา การนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ และการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการขับเคลื่อนการวิจัย การลงนามความร่วมมือของทั้ง 5 องค์กรนี้ เป็นโอกาสดีในการที่องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และภาคการศึกษาได้มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน สิ่งที่อยากจะมุ่งเน้น คือ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งจะต้องพึ่งพาข้อมูล ความรู้ และวิทยาการด้วยอย่างมาก เช่น เทคโนโลยีนิวเคลียร์ซึ่งหลายท่านอาจจะมองว่าไกลตัว แต่ก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการได้โดย อว. จะส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า สนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยให้การสนับสนุน การรวมตัวในการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อเพิ่มมูลค่าและต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืนรศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสทน. กล่าวเพิ่มเติมว่า เทรนด์ Soft Power ที่ต้องการยกระดับอาหารพื้นถิ่นไทยสู่สากล และเทรนด์อาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สร้างโอกาสทองให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพออกมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง สทน. จึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีการฉายรังสี มาร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรค ช่วยชะลอการสุกและช่วยยืดอายุการเก็บ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพออกมาจำหน่าย ให้คนไทยได้มีสุขภาพที่ดีต่อไปด้วย พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯในวันนี้ จึงเกิดขึ้นเพื่อให้การฉายรังสีในอาหารเป็นที่ยอมรับและมีการใช้ประโยชน์แพร่หลายมากขึ้น โดย สทน.ได้ดำเนินการโครงการฯ มาแล้วตั้งแต่ปี 2564 และได้ลงพื้นที่ขยายผลต่อเนื่องเป็นประ

สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ทุกหน่วยงานจะทำงานร่วมกันทั้งในเรื่องการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ การสร้างการยอมรับเรื่องประโยชน์ของการฉายรังสี และประสานงานอำนวยความสะดวก ในการส่งผลิตภัณฑ์เพื่อมาฉายรังสี รวมทั้งมีการใช้พื้นที่และทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาตัวสินค้า จนสามารถขยายไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะนำไปจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ นับจากปี 2564 ที่ สทน. ได้ร่วมกับสถาบันราชภัฏ นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้านการฉายรังสีอาหาร ลงไปส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตอาหารพื้นถิ่น และกลุ่มผู้ประกอบการ SME ภายใต้โครงการ “การสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น และอาหารฟังก์ชั่น ด้วยการฉายรังสีอาหาร” ทำให้ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว รวมทั้งสิ้น 786 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น ภาคกลาง 179 ผลิตภัณฑ์ ภาคใต้ 122 ผลิตภัณฑ์ ภาคเหนือ 131 ผลิตภัณฑ์ ภาคอีสาน354 ผลิตภัณฑ์

โดยในจำนวน 786 ผลิตภัณฑ์ มีเพียง 266 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือก แบ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นจำนวน 251 ผลิตภัณฑ์ และอาหารฟังก์ชั่นจำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ในกลุ่มอาหารฟังก์ชั่น สทน. ได้ริเริ่มเพิ่มเติมขึ้นในปี 2567 ที่ผ่านมา

ด้าน ดร.กนกพร บุญศิริชัย รองผู้อำนวยการ สทน. กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมการฉายรังสี เป็นความพยายามของ สทน. ในการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปช่วยผู้ประกอบการที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทุกภาค ที่มีอาหารในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสมุนไพรเพื่อช่วยยกระดับสินค้าเพื่อให้สะอาด ปลอดภัยและมีมาตรฐาน และสามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการได้ซึ่งจากการดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่แม้หลังสิ้นสุดโครงการฯ แล้ว ยังคงใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงไตปลาก้อนบ้านบนนบ จ.พัทลุง ผลิตภัณฑ์น้ำพริกข่าพร้อมทาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์น่ำตั๊บหมู จ.นครราชสีมา เป็นต้น

“สทน.และหน่วยงานภาคีที่ MOUร่วมกันในวันนี้ พร้อมแล้วที่จะนำองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีอยู่ มาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการทุกท่าน ทั้งกลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชนและ SME ให้เป็นธุรกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ท่านมีทางเลือก มีโอกาสในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น ในโอกาสนี้ผมก็ขอเชิญชวนผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่นและอาหารฟังก์ชั่น สมัครเข้าร่วมโครงการฯได้นะครับ” ผอ.สทน.กล่าวทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ต่อยอด ‘ห้องเรียนเคมีดาว’ สู่เคมีย่อส่วน  จุดประกาย...เด็กไทย รัก ‘วิทยาศาสตร์’ รายงานพิเศษ : ต่อยอด ‘ห้องเรียนเคมีดาว’ สู่เคมีย่อส่วน จุดประกาย...เด็กไทย รัก ‘วิทยาศาสตร์’
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนที่รัฐต้องเร่งพัฒนา  ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน รายงานพิเศษ : ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนที่รัฐต้องเร่งพัฒนา ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน
  • รายงานพิเศษ : พช.ดันงาน ‘OTOP ภูมิภาค 2568’  ยกทัพสินค้าท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก รายงานพิเศษ : พช.ดันงาน ‘OTOP ภูมิภาค 2568’ ยกทัพสินค้าท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
  • รายงานพิเศษ : CGI แนะนำหลักสูตร ‘CGI Open House 2025’ รายงานพิเศษ : CGI แนะนำหลักสูตร ‘CGI Open House 2025’
  •  

Breaking News

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved