วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนที่รัฐต้องเร่งพัฒนา  ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน

รายงานพิเศษ : ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนที่รัฐต้องเร่งพัฒนา ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน

วันพุธ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

เวทีระดมสมองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ชายแดน เผยปัตตานีมีคะแนน SDG Index สูงสุด ขณะที่ภาพรวมระดับภาคยังเผชิญกับปัญหาปากท้อง ความยากจนและการศึกษาไม่ตอบโจทย์ ย้ำรัฐเร่งพัฒนาให้ต้องสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน

ผศ.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ศูนย์ฯได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะทำงานระดับภาคใต้ชายแดน เปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “นำเสนอข้อมูลความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับภูมิภาคและรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) บรรยากาศการประชุมเต็มไปด้วยข้อเสนอแนะเข้มข้น ตั้งแต่แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิต ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์พื้นที่ ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคีเครือข่ายระดับนโยบายนำโดย น.ส.แคทรียา ปทุมรส รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และคณะ เข้าร่วมรับฟังอย่างใกล้ชิด

ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.สมพรช่วยอารีย์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้นำเสนอแนวทางสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และนวัตกรรม การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการศึกษาและวิจัย พร้อมเผยโครงการต้นแบบ เช่น โครงการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม ซึ่งใช้จังหวัดปัตตานีเป็นกรณีศึกษา เชื่อมโยงการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่


ขณะที่ทีม SDG Move ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจาก SDG Index ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาคแก่พื้นที่ พบว่า ปัตตานีมีคะแนน SDG Index สูงที่สุด ได้ 56.15 คะแนน โดย SDG 7 : พลังงานสมัยใหม่ SDG 9 :โครงสร้างพื้นฐาน และ SDG 10 :ความเท่าเทียม ทำได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับอีกสองจังหวัดชายแดนในส่วนของจังหวัดนราธิวาสได้คะแนน SDG Index อยู่ที่ 51.79 คะแนน และยะลา ได้ 50.09 คะแนน

สำหรับประเด็นความเสี่ยงร่วมกันของภาคใต้ชายแดนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs มีทั้งสิ้น 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1 : ยุติความยากจน SDG 2 :
ยุติความหิวโหย SDG 3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG 6 : น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล SDG 8 : งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจSDG 11 : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน SDG 12 : การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และ SDG 17 : หุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“ปัญหาร่วมสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนที่ต้องเร่งแก้ไข ได้แก่ ความยากจน การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพและเข้าถึงยาก โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเศรษฐกิจในพื้นที่ตกต่ำ โดยทางออกที่จะแก้ไขปัญหานั้นต้องอาศัยความรู้ข้ามภาคส่วนและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมสะท้อนยุทธศาสตร์ที่คาดหวัง เช่น การสนับสนุนการกระจายองค์ความรู้เรื่องเกษตรแบบผสมผสาน งานวิจัยศึกษาความต้องการสวัสดิการที่ตอบโจทย์ช่วงวัยและบริบทพื้นที่ และนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะแรงงานในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการช่างและหัตถกรรม” ผศ.ชลกล่าวสรุป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ต่อยอด ‘ห้องเรียนเคมีดาว’ สู่เคมีย่อส่วน  จุดประกาย...เด็กไทย รัก ‘วิทยาศาสตร์’ รายงานพิเศษ : ต่อยอด ‘ห้องเรียนเคมีดาว’ สู่เคมีย่อส่วน จุดประกาย...เด็กไทย รัก ‘วิทยาศาสตร์’
  • รายงานพิเศษ : พช.ดันงาน ‘OTOP ภูมิภาค 2568’  ยกทัพสินค้าท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก รายงานพิเศษ : พช.ดันงาน ‘OTOP ภูมิภาค 2568’ ยกทัพสินค้าท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
  • รายงานพิเศษ : อว.เดินหน้าพัฒนาอาหารพื้นถิ่น - อาหารฟังก์ชั่น  สู่นวัตกรรม ‘อาหารปลอดภัย’ ด้วยการฉายรังสี รายงานพิเศษ : อว.เดินหน้าพัฒนาอาหารพื้นถิ่น - อาหารฟังก์ชั่น สู่นวัตกรรม ‘อาหารปลอดภัย’ ด้วยการฉายรังสี
  • รายงานพิเศษ : CGI แนะนำหลักสูตร ‘CGI Open House 2025’ รายงานพิเศษ : CGI แนะนำหลักสูตร ‘CGI Open House 2025’
  •  

Breaking News

#DiogoLivesFOREVER : แด่’เพื่อนพระเอก’ที่จากลา

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น

'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved