วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวกฤติญา จันทนะมาฬะกะ ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ได้ทำหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอความช่วยเหลือเร่งด่วนให้กับผู้เสียหายจาการค้ามนุษย์ จำนวน 6,500 ราย จาก 24 ประเทศ ในพื้นที่ควบคุมของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) และกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ในประเทศเมียนมา
หนังสือระบุว่า เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ขอส่งหนังสือฉบับนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าของปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 110 ราย จาก 9 ประเทศ ซึ่งได้มีการร้องขอเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ผู้เสียหายถูกกักขังโดยขบวนการอาชญากรข้ามชาติชาวจีนซึ่งอยู่ในพื้นที่ควบคุมของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) และกองกำำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ในเมียนมา นับเป็นเวลานานกว่า 3 เดือนแล้ว แต่ไม่มีการรายงานหรือกล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามช่วยเหลือผู้เสียหายกลุ่มดังกล่าวจากหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด ขณะที่จำำนวนผู้เสียหายได้เพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ราย โดย 5,000 รายอยู่ในพื้นที่ควบคุมของกองกำำลัง DKBA และในจำำนวนนี้ 4,500 รายเป็นพลเมืองจีน
ผู้เสียหายส่วนใหญ่ถูกหลอกให้เดินทางมาทำำงานที่ประเทศไทย ผ่านทาง Social Media Platform ต่างๆ และโดยการชักจูงของนายหน้าซึ่งแฝงตัวไปในประเทศต่างๆ และยื่นข้อเสนออ้างถึงอัตราค่าตอบแทนสูง แต่เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยกลับถูกหลอกให้เดินทางไปยัง อ.แม่สอด จ.ตาก และบังคับให้ข้ามไปยังประเทศเมียนมาตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ถูกบังคับให้เข้าสู่การหลอกลวงออนไลน์สร้างความเสียหายให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น กรณีของนายหวังซิงซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา แม้ว่าการช่วยเหลือจะทำำในเวลาอันรวดเร็ว แต่เนื่องจากยังมีผู้เสียหายชาวต่างชาติอีกจำำนวนมากที่ได้พยามร้องขอความช่วยเหลือผ่านทางครอบครัวและสถานฑูตฯ ไปยังรัฐบาลเมียนมาและกองกำำลังชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ จึงได้ประสานมายังเครือข่ายฯ ซึ่งเคยประสานช่วยเหลือผู้เสียหายนับพันคนจากหลายๆ เคส รวมทั้งเคสเล้าก่าย ทางตอนแหนือของรัฐฉาน ประเทศเมียนมาในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือของรัฐบาลไทย-จีน-เมียนมา-และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จนเป็นผลสำเร็จ
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2567 ด้วยความพยายามผลักดันของเครือข่ายฯ ประสานขอความช่วยเหลือไปยังนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำำไปสู่ความร่วมมือช่วยเหลือผู้เสียหายชาวโมรอคโคจำนวน 20 คนในพื้นที่ของกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA จนเป็นผลสำเร็จ ทว่าในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน แม้ว่าทางเครือข่ายฯ จะได้พยามประสานไปทางนายกรัฐมนตรีแพทองธารและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความเคลื่อนไหวในการช่วยเหลือผู้เสียหายกลุ่มดังกล่าวจากฝ่ายรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน
ความล่าช้าในการช่วยเหลือทำให้ผู้เสียหายต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส หลายคนที่เคยร้องขอความช่วยเหลือตอนที่ยังเดินได้ปกติ เวลานี้ถูกทารุณกรรมอย่างหนักจนลุกขึ้นเดินไม่ไหวแล้ว บางคนถูกบังคับให้ทำแท้ง ผู้เสียหายที่ไม่ยินยอมทำงานในขบวนการหลอกลวงออนไลน์หรือไม่สามารถทำยอดได้จะถูกบังคับให้เลือกระหว่างยอมจ่ายค่าไถ่จำนวนหลายแสนบาทเพื่อแลกกับอิสรภาพ หรือต้องล่อลวงคนใหม่ 5 คนเข้ามาทำงาน มิเช่นนั้น จะต้องถูกทรมานด้วยการช็อตไฟฟ้า เฆี่ยนตี ขังในห้องมืดพร้อมการอดอาหารและการทารุณกรรมอย่างโหดร้าย เช่น ถูกน้ำร้อนลวกตามร่างกายเป็นต้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วนและต้องดำำเนินการโดยไม่เลือกปฏิบัติ ขณะนี้มีการเรียกร้องและนำเสนออย่างต่อเนื่องจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ
การอภิปรายผ่านญัตติเร่งด่วนในรัฐสภา การร้องขอโดยตรงจากเอกอัคราชทูตและสถานทูตประเทศต่างๆ ทุกฝ่ายรอคอยที่จะได้เห็นรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายชาติอื่นๆ ได้สำำเร็จเหมือนดังเช่นในกรณีของนายหวังซิง ซึ่งได้รับความชื่นชมไปทั่วโลก
ท่ามกลางวิกฤต รัฐบาลไทยสามารถพลิกสถานการณ์และบทบาทสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการฉ้อโกงออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติและการค้ามนุษย์ ซึ่งไม่เพียงแต่คุกคามชีวิตผู้คนแต่ยังส่งผล กระทบต่อความมั่นคง เสถียรภาพของภูมิภาค เศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งการตัดไฟ อินเทอร์เน็ต เชื้อเพลิง และเสบียงไปยังพื้นที่อาชญากรรมเหล่านี้แล้วนั้น รัฐบาลยังสามารถดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ครอบคลุมมิติอื่นๆ และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. ให้ความสำำคัญกับการใช้มาตรการเร่งด่วนในการประสานช่วยเหลือผู้เสียหายทั้งหมดในพื้นที่ควบคุมของ DKBA และ BGF
2. ดำำเนินการตรวจสอบและดำำเนินคดีเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ให้การสนับสนุนขบวนการค้ามนุษย์
การฉ้อโกงทางออนไลน์และอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ โดยไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพล
3. กดดันผู้ให้บริการ Social Media Platform ต่างๆ ให้ใช้มาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการโฆษณาและจัดหางานปลอม ตลอดจนการฉ้อโกงและการค้ามนุษย์ออนไลน์ในทุกรูปแบบภายในกรอบระยะเวลาที่จำำกัด
4. ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยเพื่อรับมือกับการค้ามนุษย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและซับซ้อน โดยใช้กรณีศึกษาจากประเทศจีนเป็นต้น
ทางเครือข่ายฯ ยินดีให้ข้อมูล สนับสนุนและทำงานร่วมกับรัฐบาลในการเดินหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเด็ดขาดเท่านั้น ที่จะช่วยให้รัฐบาลไทยสามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากนานาชาติ กอบกู้ชื่อเสียง ภาพลักษณ์และเกีรยติยศของประเทศในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติและการค้ามนุษย์ได้อย่างแท้จริง จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และขอขอบคุณแทนผู้เสียหายและครอบครัวที่รอคอยการช่วยเหลือ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี