วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ไม่ง่ายแต่กำลังดำเนินการ! ‘พิพัฒน์’เผยเตรียมนำ ‘ลูกจ้างงานบ้าน-แรงงานเกษตร’เข้าม.33ประกันสังคม

ไม่ง่ายแต่กำลังดำเนินการ! ‘พิพัฒน์’เผยเตรียมนำ ‘ลูกจ้างงานบ้าน-แรงงานเกษตร’เข้าม.33ประกันสังคม

วันจันทร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 18.31 น.
Tag : กระทรวงแรงงาน ม33 ลูกจ้างงานบ้าน เกษตร แจ๋ว ประกันสังคม คนรับใช้
  •  

10 ก.พ. 2568 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมพบปะพูดคุยกับกลุ่มแรงงานนอกระบบหลากหลายอาชีพ ในงาน “สมัชชาแรงงานนอกระบบ ประจำปี 2568”  จัดโดยสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet Thailand) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่นิยมใช้คำว่าแรงงานนอกระบบ และทางกฤษฎีกาเองก็พยายามจะให้ใช้คำว่าแรงงานอิสระ ซึ่งในทางสากลก็เปลี่ยนไปใช้คำดังกล่าวแล้วเช่นกัน โดยแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนรับงานไปทำที่บ้าน ไรเดอร์ ซึ่งตนก็ไม่อยากใช้คำว่าไรเดอร์อีก เพราะเป็นชื่อของบริษัทเขา อยากใช้คำว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่ว่าจะส่งอาหารหรือส่งคนก็ตาม อยากให้ทำความเข้าใจของคำที่ตรงกันก่อนเพื่อให้ครอบคลุม


ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานทำงานร่วมกับอีกหลายกระทรวง สสส. รวมถึงภาคเอกชน แต่หน่วยงานที่ทำงานแล้วมีความสัมพันธ์อย่างมาก คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรืออย่างประกันสังคมมาตรา 40 ก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข เพราะสิทธิตาม ม.40 ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาล แต่ก็มีเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย เช่น การให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าประกันสังคมมาตรา 33  

“สมมติคนใช้ภายในบ้าน คือผู้รับใช้ภายในบ้าน ถามว่าเราจะเข้าไปในบ้านเขาได้อย่างไร? เป็นบ้านเดี่ยวอยู่ภายในหมู่บ้าน ซึ่งพวกเราไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไป มันก็ต้องทำความเจ้าใจกับเจ้าของบ้านหรือนายจ้าง ว่าถ้าจะเอาลูกจ้างบ้านคุณที่คุณจ้างมา 1 คน 2 คน 3 คน 4 คน หรือ 5 คน จะเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ได้ไหม? ซึ่งตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจแล้วก็หารือ โดยเฉพาะคนบ้านเดี่ยว ยิ่งหลังใหญ่เท่าไหร่ก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เสียเยอะ การเข้าไปก็ไม่รู้จะไปถึงรั้วบ้านหรือเปล่า? ดีไม่ดีจะมีเพื่อนๆ 4 เท้าวิ่งออกมาหาเราก่อน อันนั้นสงสัยคงต้องวิ่งหนีกันพอสมควร แต่อะไรก็แล้วแต่เมื่อมีจุดเริ่มต้น มันก็ต้องมีจุดที่สรุปให้จนได้” นายพิพัฒน์ กล่าว

นายพิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าปัจจุบันเข้าใจมากขึ้น เพราะในอดีตเมื่อลูกจ้างที่บ้านเจ็บป่วย จะเข้าไปสู่สถานพยาบาลนั้นไม่ง่าย ต้องนำหลักฐานต่างๆ ไปแสดงให้โรงพยาบาลดู กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวต้องเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย  นายจ้างที่มาส่งกับนายจ้างตามที่แจ้งรับลูกจ้างคนดังกล่าวทำงานต้องตรงกัน แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องทำแบบเดียวกับสถานประกอบการโดยทั่วไป คือลูกจ้างกับนายจ้างส่งเงินสมทบฝ่ายละร้อยละ 5 ขณะที่รัฐสมทบอีกร้อยละ 2.5  

อีกกลุ่มหนึ่งที่ตนกังวลคือแรงงานในภาคเกษตร โดยหากเป็นแรงงานตามฤดูกาล ทำ 3-4 เดือนแล้วกลับบ้าน นายจ้างจ่ายสมทบตาม ม.33 ไม่ได้ แต่หากเป็นแรงงานที่อยู่ประจำทั้งปี แบบนี้จะเข้า ม.33 ได้ หรืออย่างแรงงานประมงก็เข้า ม.33 ได้ เพราะส่วนมากจ้างกันเป็นปี ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องการนำลูกจ้างทำงานบ้าน แรงงานในภาคเกษตร รวมถึงอีกกลุ่มคือลูกจ้างในกิจการหาบเร่แผงลอยเข้าประกันสังคม ม.33 น่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงปลายปี 2568 และน่าจะประกาศใช้ได้ทันวันที่ 1 ม.ค. 2569   

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 เพจเฟซบุ๊ก “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office” ซึ่งเป็นเพจทางการของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า

ประกันสังคมเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตน ม.33 ครอบคลุมเพิ่มอีก 3 กลุ่มอาชีพ

สำนักงานประกันสังคม เปิดรับฟังความคิดเห็น “การขยายความคุ้มครองให้แก่นายจ้างและลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม” ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการหรือลูกจ้างอื่นที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม พ.ศ. 2560 กำหนดลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม เพื่อสร้างหลักประกันทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองให้กับ 3 กลุ่มอาชีพ ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่

1) กลุ่มลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์

2) กลุ่มลูกจ้างในครัวเรือนในฐานะที่เป็นนายจ้างส่วนบุคคลเช่น แม่บ้าน ผู้ประกอบอาหาร คนรับใช้ส่วนตัวหัวหน้าผู้รับใช้ คนซักรีด คนสวน คนเฝ้าประตู ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง คนขับรถ คนเฝ้าบ้าน

3) กลุ่มลูกจ้างในกิจการค้าแผงลอยที่มีที่ตั้ง มีเลขที่แผงชัดเจน และมีการทำสัญญาเช่า เช่น สัญญาเช่าแผงกับตลาด สัญญาเช่าแผงกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ ลูกจ้างทั้ง 3 กลุ่มอาชีพที่ได้รับขยายความคุ้มครอง จะสามารถเข้าถึงสิทธิประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการรักษาหากเจ็บป่วย รวมถึงมีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีต่างๆ เช่น เงินค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินบำนาญชราภาพ เงินว่างงาน เงินทดแทนทุพพลภาพ และเงินกรณีตาย เป็นต้น ด้านนายจ้างนอกจากจะลดความกังวลในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยแล้ว ยังเป็นการสะท้อนถึงการดูแล และความรับผิดชอบของนายจ้างต่อลูกจ้างอีกด้วย

ขอบคุณเรื่องจาก

https://www.facebook.com/photo?fbid=937522688553895&set=a.243317304641107&locale=th_TH

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://www.naewna.com/local/859997 ‘เข้าม.33ประกันสังคม-ตั้งสหภาพ’ แก้กฎหมายให้สิทธิ์‘ลูกจ้างทำงานบ้าน’เกิดไม่ง่าย

043...

 

 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ก.แรงงาน’ลงลงพื้นที่ติวเข้มหลักประกันให้‘ลูกจ้าง-ผู้ประกันตน’ เพื่อรับสิทธิครบตามกม. ‘ก.แรงงาน’ลงลงพื้นที่ติวเข้มหลักประกันให้‘ลูกจ้าง-ผู้ประกันตน’ เพื่อรับสิทธิครบตามกม.
  • ‘ก.แรงงาน’จัดเต็ม! ‘สงกรานต์’ปลอดภัย ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวครบทุกมิติ ‘ก.แรงงาน’จัดเต็ม! ‘สงกรานต์’ปลอดภัย ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวครบทุกมิติ
  • เปิดลิสต์หน่วยงานสั่ง WFH เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ผลกระทบหลังแผ่นดินไหว เปิดลิสต์หน่วยงานสั่ง WFH เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ผลกระทบหลังแผ่นดินไหว
  • เช็คที่นี่! ‘ประกันสังคม’แจ้งสิทธิ์ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เช็คที่นี่! ‘ประกันสังคม’แจ้งสิทธิ์ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
  • ‘พิพัฒน์’สั่งด่วน!ตั้ง‘วอร์รูม’ เร่งช่วยเหลือเยียวยา‘แรงงาน’เหตุ‘แผ่นดินไหว’ ‘พิพัฒน์’สั่งด่วน!ตั้ง‘วอร์รูม’ เร่งช่วยเหลือเยียวยา‘แรงงาน’เหตุ‘แผ่นดินไหว’
  • ‘แรงงาน’งัดไม้แข็ง‘ล็อกบัญชี’นายจ้าง สกัดโยกย้ายทรัพย์สิน เบี้ยวค่าเลิกจ้าง ‘แรงงาน’งัดไม้แข็ง‘ล็อกบัญชี’นายจ้าง สกัดโยกย้ายทรัพย์สิน เบี้ยวค่าเลิกจ้าง
  •  

Breaking News

แคชเมียร์ระอุ! 'ปากีสถาน'ยกระดับโจมตี ยิงถล่มเสียชีวิต 1 ราย

ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ จำนวน 18 นาย

'แรปเปอร์มะกัน'ไม่จบ! เหยียดแรงยันห้องน้ำไทย ลั่นประเทศนี้ไร้ระบบบำบัดน้ำเสีย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved