วิรัช คงคาเขตร ปธ.คกก.การจราจรฯ
คกก.การจราจรและการขนส่ง สภากทม. ติดตามการติด CCTV ในกรุงเทพฯ/แนะทำ Command roomแต่ละเขต แยกจอดูความปลอดภัย-สภาพการจราจร Real Time
นายวิรัช คงคาเขตร ประธานคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง พร้อมคณะกรรมการได้ประชุมร่วมกับผู้แทนสำนักการจราจรและขนส่ง ณ ห้องประชุมอาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกทม. 2 ดินแดง เพื่อพิจารณาติดตามการดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) ในพื้นที่กรุงเทพฯ
ที่ประชุมสำนักการจราจรและขนส่งได้รายงานการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยแยกรายละเอียด ระหว่างการเช่า (แยกประเภทการเช่า) กับการจัดซื้อกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) (แยกประเภทกล้อง) โดยจัดทำในรูปแบบของแผนภูมิกราฟในการเปรียบเทียบด้านราคาในปัจจุบัน ความคุ้มค่า ความแตกต่าง และประสิทธิภาพ รวมทั้งเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยงสัญญาณไปยังหน่วยงานอื่น โดยสรุปเปรียบเทียบการจัดหาระบบ CCTV กรณีโครงการจัดหาพร้อมติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) บริเวณตรอก ซอย พื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ ดังนี้ 1.การซื้อกล้อง มูลค่างาน 31,990,000 บาท ค่าดูแลรักษาปีที่ 3, ปีที่ 4 และปีที่ 5 ปีละ 2,405,281 บาท รวมมูลค่าทั้งหมดในระยะเวลา 5 ปี คือ 39,195,843 บาท 2.การเช่ากล้อง มูลค่างาน 46,460,000 บาท ค่าดูแลรักษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ปีละ 4,798,200 บาท รวมมูลค่าทั้งหมดในระยะเวลา 5 ปี คือ 56,056,400 บาท
ผลดีแบบการซื้อกล้อง 1.ใช้งบประมาณน้อยกว่าแบบเช่า 2.ได้ระบบเป็นของหน่วยงาน 3.อิสระในการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงหรือดำเนินการใดๆ ต่ออุปกรณ์ในระบบส่วนผลเสียแบบการซื้อกล้อง 1.ต้องใช้บุคลากรเพื่อดูแลระบบ 2.ต้องใช้บุคลากรซ่อมบำรุงพร้อมอะไหล่สำรองเอง 3.เปลี่ยนแปลงระบบหรืออุปกรณ์ได้ยากในอนาคต 4.การของบประมาณมีความเสี่ยง อาจจะช้าหรือไม่ได้งบทำให้ระบบใช้ไม่ได้
ผลดีของการเช่ากล้อง 1.สะดวกในการแจ้งซ่อม/ซ่อมบำรุง ระบบเสถียรกว่าแบบซื้อระบบ 2.ไม่ต้องมีสำรองอะไหล่โดยให้ผู้รับจ้างสำรองเอง 3.สามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ เนื่องจากเป็นการเช่า และผลเสียของการเช่ากล้อง 1.ใช้งบประมาณสูงกว่าแบบซื้อระบบ 2.ระบบเป็นของผู้รับจ้าง จะเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือดำเนินการอื่นๆ ได้ยาก โดยความคิดเห็นของสำนักการจราจรและขนส่ง แบบเช่าระบบจะเหมาะสำหรับหน่วยงานสมัยนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใหม่อยู่ตลอดส่งผลต่อภาพลักษณ์ในทางที่ดีต่อหน่วยงานนั้นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมประกอบกับกรณีระบบมีปัญหาผู้รับจ้างที่ให้เช่าระบบมีความชำนาญการในระบบตัวเองจะทำให้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันจำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีทั้งหมด จำนวน 65,016 กล้องแยกตามประเภทการใช้งาน 1.CCTV สำหรับงานด้านความปลอดภัยมีจำนวน 63,400 กล้อง เป็นกล้อง ชนิด Analogจำนวน 33,668 กล้อง และกล้อง ชนิด IP หรือ Digigtal จำนวน 29,732 กล้อง 2.CCTV สำหรับงานด้านจราจรและความปลอดภัยมีจำนวน 1,616 กล้อง แยกเป็น เพื่อการบังคับใช้กฎหมาย จำนวน 557 กล้อง, เพื่อการจัดเก็บข้อมูล จำนวน 268 กล้อง และเพื่อการจราจรทั่วไป จำนวน 791 กล้อง
และแยกจำนวนกล้อง CCTV ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 8 ปี โดยแยกตามจำนวนปีการใช้งาน ทั้งกรุงเทพฯ 1.กล้องเพื่อความปลอดภัย
มีทั้งหมด 63,400 กล้อง อายุไม่เกิน 8 ปี จำนวน11,221 กล้อง อายุเกิน 8 ปี จำนวน 52,179 กล้อง2.กล้องเพื่อจราจรและความปลอดภัย มีทั้งหมด 1,616 กล้อง อายุไม่เกิน 8 ปี จำนวน 845 กล้อง อายุเกิน 8 ปี จำนวน 771 กล้อง รวมทั้งกรุงเทพฯมีทั้งหมด 65,016 กล้อง อายุไม่เกิน 8 ปี จำนวน 12,066 กล้อง อายุเกิน 8 ปี จำนวน 52,950 กล้อง
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีข้อเสนอแนะ 3 เรื่อง ดังนี้ 1.กล้องเพื่อจราจรและความปลอดภัยที่มีทั้งหมดจำนวน 1,616 กล้อง ควรเจรจาหารือกับตำรวจจราจรในการเชื่อมระบบทั้งหมด เพื่อใช้จับภาพในการจับปรับกับผู้ละเมิดหรือฝ่าฝืนข้อบังคับการจราจร 2.ควรพิจารณาจัดทำห้อง Command room เพื่อใช้ดูกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในแต่ละสำนักงานเขต โดยสามารถแยกจอภาพเพื่อตรวจดูความปลอดภัย และตรวจดูสภาพการจราจรได้แบบ Real Time และ 3.สำนักการจราจรและขนส่งควรสำรวจและลดปริมาณกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)ที่มีอายุการใช้งานที่เกินกว่า 8 ปีที่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ลดภาระค่าดูแลและบำรุงรักษาประจำปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี