“ปลูกทุกอย่างไว้กิน ไว้ใช้ และไว้ขาย ปลูกให้หลากหลายเพื่อความมั่นคงทางอาหารและระบบนิเวศที่ดีขึ้น”
คำกล่าวของ นายพิกุล สีสันต์ เกษตรกรดีเด่นรางวัลแหนบทองคำ จ.บุรีรัมย์ ปี 2532 เผยจุดเปลี่ยนสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชแบบผสมผสานหลากหลายชนิด เนื่องจากเคยทำไร่มันสำปะหลังแต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ อีกทั้งดินยังเสื่อมโทรม จึงเปลี่ยนมาปลูกมะขามหวาน มะม่วง ทุเรียน เงาะ ลำไย กระทั่งในปี 2534 ส.ป.ก. ได้เข้ามาสนับสนุนการขุดบ่อบาดาล ทำให้มีน้ำใช้ทำเกษตร อีกทั้งยังแนะนำให้ปลูกไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด
นายพิกุล เป็นเกษตรกรในพื้นที่หมู่ 20 ต.โคกมะม่วง อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ ใช้พื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา ทำเกษตรในรูปแบบวนเกษตร จำลองสภาพพื้นที่ป่าตามธรรมชาติจนเกิดระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยเสื่อมโทรมก็กลับมาร่วนซุย โดยปัจจุบันปลูก 1.ไม้ป่า/ไม้พื้นถิ่น/ไม้หายาก เช่น มะค่า สัก ประดู่ แดง สมอ 2.ไม้กินได้/ไม้ผล/สมุนไพร เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด เงาะ มะขามหวาน มะนาว มะละกอ กล้วย ผักชีฝรั่ง และ 3.เลี้ยงปลานิล ทำให้มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี และลดรายจ่ายจากการนำผลผลิตมาบริโภคในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ย 2 - 5 แสนบาทต่อปี
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี