สกสว.ระดมสมองทบทวนแผน ววน. เพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าแก้ปัญหาท้าทายของประเทศ รวมถึงการร่วมหารือปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ร่วมทำงานแบบบูรณาการ
นายขจร ศรีชวโนทัย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับ รศ.ดร.สุจริต ธนกุลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. "น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง” และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ณ ห้องประชุมราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อเตรียมพร้อมในการประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการดำเนินการความร่วมมือแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่ ระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สกสว.
นายขจร ศรีชวโนทัย รองปลัด มท. กล่าวว่า งบประมาณของกระทรวงกระจายอยู่หลายส่วน แต่จะพยายามให้อยู่ในแผนเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาค่อนข้างมีความซับซ้อนโดยจะต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในแต่ละพื้นที่ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน นอกจากนี้ยังมีกระทรวงอื่น ๆ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้แผนงานน้ำจะสำเร็จหรือไม่ต้องดูอุปสรรคหน้างานด้วย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลักในการรวบรวมข้อมูลจากท้องถิ่นและภาคเอกชน โดยทุกหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยยินดีสนับสนุนข้อมูลและทำงานร่วมกับ อว. และ สกสว.
ด้าน รศ.ดร.สุจริต ระบุว่า สกสว.ได้รับโจทย์จากข้อสั่งการของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในการนำ ววน. มาเป็นเครื่องมือแก้จน บริหารจัดการน้ำ บนฐานองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งมอบผลลัพธ์ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมแก่ฝ่ายนโยบาย เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีประกาศแต่งตั้งคณะทำงานฯ โดยมี สกสว. เป็นโซ่ข้อกลาง และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ร่วมทำงานแบบบูรณาการ ปรับตัวเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ภายใต้เครือข่ายการทำงานร่วมกันของทั้งสองกระทรวง เพื่อขับเคลื่อนโครงการสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
ทั้งนี้ แผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. "น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง” มีเป้าหมายน้ำไม่ท่วมไม่แล้งใน 100 ตำบลเป้าหมายใน 8 จังหวัดเป้าหมาย คือ เชียงใหม่-ลำพูน พะเยา-เชียงราย ชัยภูมิ-ขอนแก่น สงขลา-พัทลุง โดยมีจังหวัดน่านและกำแพงเพชรเป็นพื้นที่ต้นแบบ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทดลองในลุ่มน้ำแม่กลองและเขื่อนใหญ่ ประกอบด้วย กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยประชาชนได้รับความเดือดร้อนลดลง 1.2 แสนครัวเรือน และมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือลดค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ 900 ล้านบาท ในปี 2569
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี