‘นิด้าโพล’กางผลสำรวจประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 33.45% ทุบเปรี้ยงสถานการณ์‘แย่เหมือนเดิม’ ขณะที่ 42.36% มองรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสำคัญแก้ไขปัญหา 47.55% พิจารณานโยบาย ก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง
4 พฤษภาคม 2568 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “2 ทศวรรษ แก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,100 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
เมื่อถามถึงสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า
+ ร้อยละ 33.45 ระบุว่า สถานการณ์แย่เหมือนเดิม
+ ร้อยละ 20.36 ระบุว่า สถานการณ์ดีเหมือนเดิม
+ ร้อยละ 18.55 ระบุว่า สถานการณ์ค่อนข้างดีขึ้น
+ ร้อยละ 14.64 ระบุว่า สถานการณ์ค่อนข้างแย่ลง
+ ร้อยละ 10.00 ระบุว่า สถานการณ์แย่ลงมาก
+ ร้อยละ 3.00 ระบุว่า สถานการณ์ดีขึ้นมาก
ด้านการพัฒนาความเจริญในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า
+ ร้อยละ 42.18 ระบุว่า การพัฒนาค่อนข้างดีขึ้น
+ ร้อยละ 37.45 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการพัฒนาเท่าไร
+ ร้อยละ 14.55 ระบุว่า ไม่มีการพัฒนาเลย
+ ร้อยละ 5.82 ระบุว่า การพัฒนาดีขึ้นมาก
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า
+ ร้อยละ 33.55 ระบุว่า ความสัมพันธ์ดีเหมือนเดิม
+ ร้อยละ 30.64 ระบุว่า ความสัมพันธ์ค่อนข้างดีขึ้น
+ ร้อยละ 19.91 ระบุว่า ความสัมพันธ์แย่เหมือนเดิม
+ ร้อยละ 7.09 ระบุว่า ความสัมพันธ์ค่อนข้างแย่ลง
+ ร้อยละ 5.64 ระบุว่า ความสัมพันธ์ดีขึ้นมาก
+ ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ความสัมพันธ์แย่ลงมาก
+ ร้อยละ 0.17 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พบว่า
+ ร้อยละ 42.36 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
+ ร้อยละ 31.82 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย
+ ร้อยละ 18.82 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ
+ ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก
+ ร้อยละ 1.09 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า
+ ร้อยละ 47.55 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก
+ ร้อยละ 27.36 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ
+ ร้อยละ 15.55 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
+ ร้อยละ 9.18 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย
+ ร้อยละ 0.36 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ซึ่งร้อยละ 37.82 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 33.73 จังหวัดปัตตานี และร้อยละ 28.45 จังหวัดยะลา โดยตัวอย่าง ร้อยละ 48.64 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.36 เป็นเพศหญิง
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี