สมุทรสาครจัดพิธี ‘สืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบน’ สืบสานวัฒนธรรม-รักษาฟื้นฟูทรัพยากร
วันที่ 8 พ.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ด้านหน้าที่ทำการสมาคมการประมงสมุทรสาคร นายนริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในพิธีสืบชะตาทะเลอ่าวไทย ตอนบน (ตัว ก.) ที่สมุทรสาคร ครั้งที่ 14 โดยมี นายก อบจ.สมุทรสาคร นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และพี่น้องชาวประมง เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก
พิธีสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบน (ตัว ก.) ที่สมุทรสาคร ครั้งที่ 14 เป็นกิจกรรมสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2555 โดยนายกสมาคมการประมงและคณะกรรมการสมัยนั้น ได้ริเริ่มนำเอาพิธีการไหว้ฮ้อเฮียตี๋ ซึ่งปกติชาวประมงจะทำการไหว้ฮ้อเฮียตี๋ที่บ้านกันอยู่แล้ว จากการเล็งเห็นความสำคัญจึงนำมาทำพิธีร่วมกันภายใต้ชื่อ “สืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบน (ตัว ก.) ที่สุมุทรสาคร” เพื่อให้คงไว้ซึ่งความเป็นวัฒนธรรม รวมถึงพิธีทางศาสนา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวประมงและชาวมหาชัยสืบไป
ภายในงานมีกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลากะพงขาว ขนาด 5 เซนติเมตร จำนวน 5,000 ตัว กุ้งกุลาดำ จำนวน 100,0000 ตัว ปูม้า จำนวน 30,000 ตัว และในปีนี้สมาคมการประมงสมุทรสาคร ได้รับความอนุเคราะห์บริษัท กาญจนา คอนกรีต จำกัด บริจาคโม่ปูนที่ปลดระวาง โดยประสานผ่านนายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 14 ลูก เพื่อมาทำกิจกรรมปะการังสี นำไปจมเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ โดยเปิดให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้ร่วมเพ้นท์สีโม่ปูนเพื่อสร้างการรับรู้ และกระตุ้นให้เกิดการรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้มอบประกาศเกียรติบัตรให้กับผู้สนับสนุนโครงการสืบชะตาทะเล และกิจกรรมการนำโม่ปูนไปทำปะการังเทียม นอกจากนี้ นายก อบจ.สมุทรสาคร และผู้มีเกียรติยังได้ร่วมถ่ายภาพกับ นักเรียนที่ได้รับประกาศในการร่วมกิจกรรม ปะการังสีรุ้ง เพ้นท์โม่ปู รวมทั้งได้ร่วมกันประทับรอยมือลงบนโม่ปูน ก่อนที่จะนำไปทิ้งยังแปลงปะการังเทียม ปากอ่าวท่าจีน ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ
นายนริศ นิรามัยวงศ์ กล่าวว่า พิธีสืบชะตาทะเล อ่าวไทย ตอนบน (ตัว ก.) ที่สมุทรสาคร เป็นเจตนารมณ์ที่ทำให้มองเห็นภาพความเป็นจริงได้ใน 3 ประการ ที่ควรจะต่อยอดสืบสานต่อไป คือ 1.การรักษาสืบสานวัฒนธรรมการปฏิบัติจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตที่มีการพึ่งพาอาศัยความสำคัญของการแบ่งปัน และการตอบแทนบุญคุณ การเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อันเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมๆ ที่กำลังจะเลือนหายใบในสังคมปัจจุบัน 2.เป็นกิจกรรมที่ทำแล้วถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ต้องถืองถือปฏิบัติต่อยอดสืบไป และ 3.เป็นการสร้างความตระหนักให้รักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ธรรมชาติให้มา แต่สถานการณ์ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายมากกว่าการฟื้นฟูด้วยปัจจัยหลายประการ ///-026
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี