วันจันทร์ ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘หมอยง’ชี้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์เร็ว ยากจะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน-ภูมิคุ้มกันดั้งเดิม

‘หมอยง’ชี้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์เร็ว ยากจะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน-ภูมิคุ้มกันดั้งเดิม

วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 10.47 น.
Tag : โควิด โควิดวันนี้ ภูมิต้านทาน หมอยง โควิด19
  •  

‘หมอยง’ชี้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์เร็ว ยากจะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน-ภูมิคุ้มกันดั้งเดิม

12 พฤษภาคม 2568 ศ.ดร.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด 19 หลากหลายสายพันธุ์ จึงยากที่จะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน และ imprint immunity หรือภูมิคุ้มกันที่จำไว้เดิม จะเป็นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม” ระบุว่า...


โควิด 19 หลากหลายสายพันธุ์ จึงยากที่จะป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน และ imprint immunity หรือภูมิคุ้มกันที่จำไว้เดิม จะเป็นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม

โควิดไวรัส เป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและ เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมากและรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายขึ้น แต่ลดความรุนแรงของโรคลงตามกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการ

ระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อ จะยังคงความเดิมของสายพันธุ์เดิม หรือจำไว้เดิม เมื่อได้รับสายพันธุ์ใหม่ หรือฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ภูมิคุ้มกันจะไปกระตุ้นความจำเดิม imprint immunity ได้ดีกว่าสายพันธุ์ใหม่ ทั้งที่เราต้องการให้กระตุ้นสายพันธุ์ใหม่ไม่ใช่สายพันธุ์เดิม

จึงเป็นเหตุผลที่ การฉีดวัคซีนซ้ำๆ หรือการติดเชื้อซ้ำมาอีก ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นสายพันธุ์เดิมมากกว่าสายพันธุ์ใหม่ จึงทำให้ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้น้อยลง โดยเฉพาะจากวัคซีน

อย่างไรก็ตามการติดเชื้อหรือวัคซีนที่เคยฉีด ร่างกายจะมีหน่วยความจำระดับเซลล์ ต่อตัวไวรัสโดยเฉพาะการทำลายไวรัสในระดับเซลล์ โดยภูมิที่สร้างความจำไว้ให้กับเซลล์ โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อ และหรือวัคซีน ทำให้การกำจัดไวรัสหลังการติดเชื้อ ได้ดีและเร็วขึ้น จึงเป็นการลดความรุนแรงของโรคลง

ประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อแล้ว หน่วยความจำระดับเซลล์ จึงมีความจำที่ดีมากต่อไวรัสโควิดไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ทำให้การติดเชื้อครั้งที่ 2  หรือครั้งหลังๆ ความรุนแรงจะลดลงตามลำดับ

มีผู้ป่วยรายหนึ่งติดเชื้อแล้วถึง 7 ครั้ง จากการทำงานในหน่วยโควิด และโรคทางเดินหายใจ จึงมีการติดเชื้อซ้ำได้บ่อย และ เห็นได้ชัดเจน การติดเชื้อครั้งแรกรุนแรงที่สุด และการติดเชื้อครั้งหลังๆ แทบจะไม่รู้เลยว่าเป็นโควิด 19 และจากการศึกษาของเรา การติดเชื้อครั้งที่ 2 จำนวนหลายร้อยคน เห็นได้ชัดเจนว่าความรุนแรงลดลง

ในเด็ก หลายคนเคยกลัวว่า เมื่อติดเชื้อโควิดจะทำให้เกิด ความรุนแรงคล้ายหัดญี่ปุ่น (Kawasaki disease) เรียกว่า MIS-C แต่กลับพบว่าเมื่อเข้าสู่ยุคของโอมิครอน อัตราการเกิด MIS-C ได้ลดลงอย่างมาก และอย่างไรก็ตามที่จริง MIS-C ก็พบได้ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีโควิดเสียอีก

ดังนั้นในระบบของภูมิคุ้มกัน ทำให้ในปัจจุบัน บริษัทวัคซีนโควิด 19  จำนวนมากได้เลิกผลิตวัคซีนแล้ว ที่รู้ยังคงเหลืออยู่ 2 บริษัท ที่เป็น mRNA อยู่ 1 บริษัท และ protein subunit อีกหนึ่งบริษัท แต่การนำเข้าวัคซีนมาในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียว และมีราคาแพงมาก ซึ่งหาฉีดได้ยากมาก เพราะโรงพยาบาลต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่เอาเข้าโรงพยาบาล เพราะการเก็บรักษาค่อนข้างยาก ดังนั้นความจำเป็นในการฉีดวัคซีนในประเทศไทย จึงมีน้อยมากมาก และเชื่อว่าต่อไปก็คงจะหาวัคซีนในประเทศไทยไม่ได้

โควิด 19  ในปัจจุบันถึงแม้จะพบผู้ป่วยได้มาก แต่ส่วนใหญ่อาการจะน้อยลง และดูแลรักษาเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจ เมื่อไม่มีอาการก็ไปโรงเรียนได้ไปทำงานได้ ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องหยุดกี่วัน

สิ่งสำคัญขนาดนี้คือการป้องกันทางด้านสุขอนามัย ด้วยการล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ ถ้าป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และการให้ความรู้กับเด็กนักเรียนในการป้องกันโรคทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคมือเท้าปากไปพร้อมๆกัน จึงมีความสำคัญมากกว่า

-005

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘จริยธรรม’อยู่สูงกว่ากฎหมาย ทุกคนต้องยึดมั่น ไม่ใช่เฉพาะแพทย์ ‘จริยธรรม’อยู่สูงกว่ากฎหมาย ทุกคนต้องยึดมั่น ไม่ใช่เฉพาะแพทย์
  • โควิดติดเชื้อพุ่งแค่สัปดาห์เดียว พรวด1.11แสน  เสียชีวิต31ศพ โควิดติดเชื้อพุ่งแค่สัปดาห์เดียว พรวด1.11แสน เสียชีวิต31ศพ
  • โควิด’ป่วยพุ่ง  วันเดียว2หมื่น  ปิดรร.สระแก้ว พบระบาดหนัก โควิด’ป่วยพุ่ง วันเดียว2หมื่น ปิดรร.สระแก้ว พบระบาดหนัก
  • โควิดติดเชื้อพุ่ง หมอจุฬาชี้น่าเป็นห่วง สธ.ยันพร้อมรับมือได้ โควิดติดเชื้อพุ่ง หมอจุฬาชี้น่าเป็นห่วง สธ.ยันพร้อมรับมือได้
  • ‘สมศักดิ์’ยืนยัน สธ.พร้อมรับมือ‘โควิด-19’ ชี้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มลดลง ‘สมศักดิ์’ยืนยัน สธ.พร้อมรับมือ‘โควิด-19’ ชี้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มลดลง
  • ยังน่าห่วง! โควิด-19 พุ่งต่อเนื่อง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีก ยังน่าห่วง! โควิด-19 พุ่งต่อเนื่อง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีก
  •  

Breaking News

'ผู้พันเบิร์ด'เผยสถานการณ์ไฟไทย-กัมพูชา พบตัดแค่ 3 จุด-ยังจ่ายอยู่ 6 จุด หลังประกาศ 17 มิ.ย. 68

'ฮุน มาเนต'ซัดไทยรุกราน! เปรียบ'กัมพูชา'เป็นเหมือน'งู'อยู่นิ่งๆแต่พร้อมกัดให้ตาย

'ปิยบุตร' เสนอ 3 หลักการ 7 ข้อเสนอ เมื่อนายกฯไม่ยุบสภา ไม่ลาออก

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องการโอนกิจการ ของสำนักงานพระคลังข้างที่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved