‘นิด้าโพลชี้ปชช.ห่วงอนาคตการศึกษาไทย ‘ค่าใช้จ่ายสูง-ไกลบ้าน’ตัดโอกาสเข้าเรียน
18 พฤษภาคม 2568 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย Thailand Education Partnership (TEP) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “เปิดเทอมแล้ว ลูกหลานเรียนที่ไหนดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความกังวลที่มีต่ออนาคตของเยาวชนไทยในด้านการศึกษาและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
เมื่อถามถึงความกังวลที่มีต่ออนาคตของเยาวชนไทย ทั้งในเรื่องการเข้าถึงระบบการศึกษา ความเท่าเทียม คุณภาพ การสนับสนุน และนโยบายด้านการศึกษา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.69 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล รองลงมา ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล ร้อยละ 22.21 ระบุว่า กังวลมาก และร้อยละ 21.91 ระบุว่า ไม่กังวลเลย
สำหรับประเภทของโรงเรียนที่สามารถมอบการศึกษาที่มีคุณภาพดีแก่เด็กไทย พบว่า
+ ร้อยละ 46.26 ระบุว่า โรงเรียนรัฐ
+ ร้อยละ 26.18 ระบุว่า โรงเรียนเอกชน
+ ร้อยละ 7.18 ระบุว่า โรงเรียนนานาชาติ
+ ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
+ ร้อยละ 5.80 ระบุว่า โรงเรียนสาธิต
+ ร้อยละ 5.04 ระบุว่า โรงเรียนสองภาษา (Bilingual School)
+ ร้อยละ 1.22 ระบุว่า โรงเรียนศาสนา และโรงเรียนทางเลือก (โรงเรียนที่มีระบบการศึกษาแบบเปิดให้มีความยืดหยุ่น ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผล โดยเน้นพัฒนาทักษะตามความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก) ในสัดส่วนที่เท่ากัน
+ ร้อยละ 0.23 ระบุว่า โฮมสคูล (Homeschool เป็นแบบการศึกษาที่ผู้เรียนเลือกใช้บ้านเป็นฐานการเรียนรู้แทนการไปเรียน โดยมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นครูผู้สอน)
ทั้งนี้ เหตุผลที่ประชาชนเลือกประเภทของโรงเรียนที่สามารถมอบการศึกษาที่มีคุณภาพดีแก่เด็กไทย พบว่า
+ ร้อยละ 46.64 ระบุว่า ครูมีคุณภาพ
+ ร้อยละ 44.75 ระบุว่า หลักสูตรที่ทันสมัย
+ ร้อยละ 33.69 ระบุว่า ใกล้บ้าน
+ ร้อยละ 32.46 ระบุว่า โรงเรียนมีอุปกรณ์การเรียน การสอนที่ทันสมัย
+ ร้อยละ 31.31 ระบุว่า ราคาที่เหมาะสม
+ ร้อยละ 26.48 ระบุว่า มีสังคมที่ดีในโรงเรียน
+ ร้อยละ 26.23 ระบุว่า ความปลอดภัย
+ ร้อยละ 15.33 ระบุว่า เด็กได้ภาษาที่ 2 (เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น)
+ ร้อยละ 11.23 ระบุว่า ชื่อเสียงที่ผ่านมาของโรงเรียน
+ ร้อยละ 8.03 ระบุว่า การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก
สำหรับการมีโอกาสให้บุตรหลานหรือเยาวชนในความดูแลได้เข้าเรียนในโรงเรียนตามที่เลือกไว้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.44 ระบุว่า มีโอกาสทุกคน , ร้อยละ 15.16 ระบุว่า ไม่มีใครมีโอกาส , ร้อยละ 12.63 ระบุว่า มีโอกาสบางคน , ร้อยละ 11.23 ระบุว่า ไม่มีบุตรหลาน/เยาวชนในความดูแล และร้อยละ 2.54 ระบุว่า บุตรหลานในความดูแลยังไม่ถึงวัยเข้าโรงเรียน
ผู้ที่ระบุว่า มีโอกาสบางคน และไม่มีใครมีโอกาส ให้เหตุผลที่ทำให้บุตรหลานหรือเยาวชนในความดูแลบางคนหรือทุกคนไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนตามรูปแบบที่เลือกได้ พบว่า
+ ร้อยละ 56.05 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
+ ร้อยละ 14.16 ระบุว่า อยู่ไกลบ้าน
+ ร้อยละ 8.55 ระบุว่า สอบไม่ผ่าน และบุตรหลาน/เยาวชนในความดูแล ปฏิเสธที่จะทำตาม ในสัดส่วนที่เท่ากัน
+ ร้อยละ 7.97 ระบุว่า รับจำนวนจำกัด
+ ร้อยละ 4.72 ระบุว่า ในอดีตไม่มีโรงเรียนที่มีรูปแบบที่หลากหลายอย่างปัจจุบัน
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงหน่วยงานที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนในการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ พบว่า
+ ร้อยละ 65.50 ระบุว่า รัฐบาล (รวมกระทรวงและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง)
+ ร้อยละ 18.86 ระบุว่า ไม่มีภาคส่วนใดทำได้ ต้องพึ่งพาตนเอง
+ ร้อยละ 9.54 ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
+ ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ (เช่น การเปิดโรงเรียนเองของภาคธุรกิจ)
+ ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ประชาสังคม หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไร
+ ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี