นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2566 และ พ.ศ.2567 ของสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็นประธานเปิดการประชุมในครั้งนี้
การประชุมเสวนาวิชาการ เรื่อง โอกาสและความท้าทายภาคการเกษตรไทยในวิกฤตโลก ณ ห้องพระวิษณุ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 มีสาระสำคัญ และตระหนักในเรื่อง ดินซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อภาคการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหาร พืชพลังงานทดแทน และวัตถุดิบอุตสาหกรรมทางการเกษตร และมีบทบาทหลักต่อการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและภูมิคุ้มกันของประเทศ ปัจจุบันจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรดินอย่างมาก มีการขยายพื้นที่ผลิตและบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ส่งผลให้เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมและการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดการดินและปุ๋ยตามหลักวิชาการที่เหมาะสมสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินมีศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้นและผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้นได้ และยังมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ดังนั้นการวิจัยพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านดินและปุ๋ย จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วน
เพื่อสอดรับกับกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ขณะที่การพัฒนาประเทศมีแนวโน้มปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ดินเสื่อมโทรม ป่าไม้ถูกทำลาย ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม อุทกภัย ภัยแล้ง มีความถี่และรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เกษตรกรยากจนและไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองในที่ดินเป็นของตนเอง ขาดวัยแรงงานเกษตร ทำให้ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูงและราคาผลผลิตไม่แน่นอน จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปภาคการเกษตรของไทย สู่เกษตร 4.0 : เกษตรกรมั่งคั่ง ประเทศมั่นคงด้านอาหาร และเกษตรกรรมยั่งยืน
ในเรื่อง ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม สามารถใช้สำหรับหว่านปุ๋ย แม็กนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน(โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หรือเรียกว่าธาตุอาหารหลัก) พืชได้รับจากน้ำและอากาศ
ส่วนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พืชต้องการในปริมาณมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่น ๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ไม่ใช่ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งชนิดของปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ ปุ๋ยชนิดอื่น ๆ
สำหรับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย มีผลงานอันทรงเกียรติ ได้รับรางวัล King Bhumipol World Soil Day Award 2023 จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO/United Nations) ในงานประชุมใหญ่สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมัยที่ 20 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 (By adminPosted on14 December 2023)
โดยแนวคิด ”Soils, Where Food Begins : อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน” จนได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรด้านทรัพยากรดินจากทั่วโลกของสหประชาชาติ ให้เป็นผู้ชนะเลิศรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกที่ไทยร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2556 เพื่อกระตุ้นให้ทั่วโลกมีกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน นำไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร และการขจัดความหิวโหย ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ผ่านการจัดกิจกรรมเนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคมของทุกปี ด้วยผลงานชื่อ “Spirit of Soils, Spirit of Partnership” ที่แสดงพลังแห่งการบูรณาการ การดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิเช่น มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สมาคมดินโลก ภาคีเครือข่ายเกษตรกร ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อสร้างกิจกรรมปลูกจิตสำนึก “รักษ์ดิน” เห็นความสำคัญของทรัพยากรดินที่เป็นบ่อเกิดของอาหารและชีวิต กระตุ้นให้เกิดการปกป้อง ดูแลรักษาทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีสุขภาพดี สามารถผลิตอาหารหล่อเลี้ยงทุกชีวิตได้อย่างยั่งยืน เพราะทุกคนล้วนเป็นเจ้าของทรัพยากรดินร่วมกัน
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี