วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘สอวช.’เปิด 6 ปัจจัยแนะ‘มหาวิทยาลัยไทย’มุ่งสู่ความสำเร็จ รับโลกเปลี่ยน

‘สอวช.’เปิด 6 ปัจจัยแนะ‘มหาวิทยาลัยไทย’มุ่งสู่ความสำเร็จ รับโลกเปลี่ยน

วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 13.08 น.
Tag : สุรชัย สถิตคุณารัตน์ มหาวิทยาลัยไทย สอวช.
  •  

‘สอวช.’ชี้ทิศทางอนาคต‘มหาวิทยาลัยไทย’ ต้องยืดหยุ่น พร้อมรับโลกเปลี่ยน เร่งกลไกสร้างกำลังคนตอบโจทย์อุตสาหกรรม

21 พฤษภาคม 2568 ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “The Next-Gen University: มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต” ในโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตร TU-EDP (Thammasat University-Executive Development Program) รุ่นที่ 7 จัดโดย สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับ กองทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โดยโครงการฯ นี้ จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริหารยุคใหม่ในระดับคณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย เพื่อต่อยอดวิสัยทัศน์ผู้บริหารให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของโลก เสริมสร้างความรู้ และทักษะด้านการจัดการสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับสถาบันอุดมศึกษา โดยในรุ่นที่ 7 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวม 35 คน


ดร.สุรชัย กล่าวถึงบทบาทของ สอวช. ที่มีหน้าที่หลักในการทำนโยบาย รวมถึงสนับสนุนการทำนโยบายและแผนให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งงานที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย จะทำงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) โดย สอวช. ได้ตั้งเป้าหมายสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อน ด้วยการจัดทำข้อริเริ่มเชิงนโยบาย นำการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เข้าหนุนเป้าหมายระดับชาติ หนึ่งในนั้นคือการผลิตและพัฒนาบุคลากรตอบความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านแพลตฟอร์มบูรณาการมาตรการและกลไกสนับสนุนการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง และปรับระบบการอุดมศึกษาให้เพิ่มคุณภาพการผลิตบัณฑิต

ดร.สุรชัย ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์และทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา ที่โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สอวช. โดย ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight: APEC CTF) จึงได้นำเครื่องมือคาดการณ์อนาคตเข้ามาช่วยดูว่าในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจหรือเป็นกระแสที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนการทำนโยบาย ตัวอย่างสัญญาณโลกที่ควรรับมือเร่งด่วน เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ การย้ายถิ่นฐานของประชากรจากฝั่งตะวันตกไปเอเชีย เพื่อหางานและโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ การแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างประเทศในการควบคุมเทคโนโลยีสำคัญ เช่น AI, 5G, Quantum Computing เป็นต้น

จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบรับกับความท้าทาย ทั้งรูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Non-age group, Non-Degree ผู้เรียนต้องเป็น Agile learners ปรับตัวเร็ว เรียนรู้เร็ว มีรูปแบบการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Personalized Education) มีแพลตฟอร์มและโมเดลการเรียนรู้ใหม่ ๆ และยังต้องมองถึงแนวโน้มอาชีพในอนาคตและทักษะในการจ้างงานด้วย

สำหรับความท้าทายของของการศึกษาไทยในอนาคต คือจำนวนเด็กที่ลดลง คาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะเหลือจำนวนเด็กในวัยเรียนเพียง 6.4 ล้านคน และเข้าถึงระบบการศึกษาได้น้อยกว่า 6 ล้านคน ซึ่งแนวโน้มนักเรียนที่เลือกจะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยก็จะลดลงตามไปด้วย โดย สอวช. ได้ทำการการสำรวจความต้องการบุคลากรทักษะสูง ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568-2572) พบว่ามีความต้องการกำลังคนรวม 1,087,548 คน โดยอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังคนสูงสุดคือ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

ด้านสถานภาพระบบอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ดร.สุรชัย ได้ชี้ให้เห็นข้อมูลอัตราการว่างงานของบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ พบว่าผู้ว่างงานในสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ในกลุ่มบัณฑิตระดับอุดมศึกษา จำนวนประมาณ 220,000 คน โดยมีตัวอย่างสาขาด้านวิศวกรรมที่มีแนวโน้มขาดแคลนในอนาคต ต้องเร่งการผลิตและพัฒนา เพื่อลดความเสี่ยงการขาดความสมดุลในตลาด (Mismatch) ได้แก่ วิศวกรโลจิสติกส์ วิศวกรโยธา วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และคมนาคม วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ผู้อำนวยการ สอวช. ยังได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของต่างประเทศที่ใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน อาทิ Job First, College Included Model โมเดลที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ เน้นการฝึกฝนทักษะสำหรับการทำงานให้กับลูกจ้างของสถานประกอบการ Double MSMEs Value Project โครงการที่เปลี่ยนคนที่ไม่ได้รับการศึกษาให้เรียนออนไลน์แล้วได้วุฒิการศึกษา หรือค้าขายและสร้างรายได้เพื่อเพิ่มวุฒิ Micro-credential ระบบการรับรองดิจิทัลที่ตรวจสอบความสามารถของแต่ละบุคคลในทักษะเฉพาะหรือชุดทักษะ (Skill Set) นำไปสู่การพัฒนาความสามารถที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น จากข้อมูลกรณีศึกษาต่าง ๆ

เมื่อนำมาถอดบทเรียน พบว่ามีปัจจัยความสำเร็จในการจัดการศึกษา ดังนี้ 1. หลักสูตรที่หลากหลาย 2. พันธมิตรที่แข็งแกร่ง 3. บุคลากรที่มีคุณภาพระดับชั้นนำ 4. ความเป็นสากล 5. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ และ 6. สภาพแวดล้อมที่ดี

ในส่วนของนโยบาย กลไกสนับสนุน อววน. ของกระทรวง อว. มีนโยบายและกลไกเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม อาทิ โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนเพื่ออนาคต (Reskill/Upskill) โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศ (GenNX) แพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง ตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ (STEMPlus) Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) การยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยการผลิตบัณฑิตศึกษาและวิจัยพัฒนานวัตกรรม (Hi-FI และ RDI) และการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) โดยล่าสุดมีการอนุมัติหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ไปแล้ว 19 ข้อเสนอ มีเป้าหมายผลิตกำลังคน 25,905 คน อีกทั้งยังมีการขับเคลื่อนหลักสูตร Semiconductor Engineering ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 8 สถานประกอบการ และ 15 สถาบันอุดมศึกษา ที่จะเริ่มเปิดหลักสูตรในปีการศึกษา 2568 ด้วย

นอกจากนี้ สอวช. ยังสนับสนุนให้เกิดกลไก University Holding Company (UHC) โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของรัฐ สามารถร่วมลงทุนกับเอกชนได้โดยตรง ซึ่งการขับเคลื่อนในขั้นต่อไปคือการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือในการจัดตั้ง UHC การพัฒนามาตรการ/กลไก ส่งเสริมระบบนิเวศการร่วมลงทุน รวมถึงการปลดล็อกข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

ดร.สุรชัย ได้กล่าวในช่วงท้ายถึงแนวทางการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต โดยมีนโยบาย กลยุทธ์ แนวทาง มาตรการหรือแผนงานที่ช่วยปิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงานในอนาคต ได้แก่

1. โปรแกรมเติมเต็มสมรรถนะบัณฑิตอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง

2. หลักสูตรนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง

3. โปรแกรมการพัฒนาทักษะบุคลากรผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นแบบเข้มข้นเพื่อการจ้างงาน

4. แพลตฟอร์มส่งเสริมการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง

นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังได้มีแนวทางการทำ Skill Future Thailand คือการนำทักษะที่พึงมีของแต่ละอาชีพมาเทียบกับทักษะของผู้เรียนที่ต้องการประกอบอาชีพนั้น ๆ เพื่อให้รู้ว่าผู้เรียนยังขาดทักษะในด้านใดและจะต้องเสริมทักษะใดเพิ่มเติมด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ครบ 6 ปี สอวช.!‘ดร.สุรชัย’เดินหน้า‘อววน.’ปี 68-71 รับมือโลกเปลี่ยนไว ใช้ Foresight นำไทยสู่อนาคต ครบ 6 ปี สอวช.!‘ดร.สุรชัย’เดินหน้า‘อววน.’ปี 68-71 รับมือโลกเปลี่ยนไว ใช้ Foresight นำไทยสู่อนาคต
  • ‘สอวช.’จับมือ‘มจธ.’เปิดหลักสูตร STIP รุ่น 7 ปั้นนักออกแบบนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลง ‘สอวช.’จับมือ‘มจธ.’เปิดหลักสูตร STIP รุ่น 7 ปั้นนักออกแบบนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลง
  • ‘สอวช.’จับมือ‘คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ-ภาคเอกชน ลุยปั้นครีเอเตอร์ ‘สอวช.’จับมือ‘คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ-ภาคเอกชน ลุยปั้นครีเอเตอร์
  • ‘สอวช.’กางแนวทางผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรม ปลดล็อกข้อจำกัดกม.หนุนเข้าสู่ตลาด ‘สอวช.’กางแนวทางผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรม ปลดล็อกข้อจำกัดกม.หนุนเข้าสู่ตลาด
  • ‘สอวช.-สกสว.-สวทช.’บินหารือมูลนิธิวิจัยแห่งชาติสิงคโปร์ ถกขับเคลื่อนงานวิจัย ‘สอวช.-สกสว.-สวทช.’บินหารือมูลนิธิวิจัยแห่งชาติสิงคโปร์ ถกขับเคลื่อนงานวิจัย
  • ตั้ง 6 ผู้ทรงคุณวุฒินั่งบอร์ด‘กอวช.’ชุดใหม่ ‘สอวช.’โชว์ผลงานปี67 นำประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ตั้ง 6 ผู้ทรงคุณวุฒินั่งบอร์ด‘กอวช.’ชุดใหม่ ‘สอวช.’โชว์ผลงานปี67 นำประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
  •  

Breaking News

'การบวชที่แท้'มิใช่การพักพิงชั่วคราวเพื่อหลีกหนีปัญหาทางโลกแต่เป็นการ'บวชเพื่อระงับดับกิเลส'

ดิ้นช่วย‘ยิ่งลักษณ์’! ทนายเปิดชุดหลักฐานใหม่ ตั้งข้อสังเกตสั่งชดใช้หมื่นล้าน‘เกินคำขอ’หรือไม่

'ภูมิธรรม'โต้'รังสิมันต์' สร้างเขื่อนหรือฝาย​กั้น'ลำน้ำกก'ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณา

จับแก๊งตุ๋นทำภารกิจลวงโอนเงินสุดท้ายเชิดหนี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved