สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานวิจัยในจุฬาฯ จัดสัมมนาวิชาการ “AI เพื่อสังคม 2025: ปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนอนาคตไทย” เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อจุดประกายความคิดและวางแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม ครอบคลุม และยั่งยืนในสังคมไทย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยไทยในยุค AI เปลี่ยนโลก” โดยเน้นย้ำว่า การศึกษาต้องไม่เพียงให้ความรู้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ต้องสร้างสำนึกและโครงสร้างสังคมใหม่ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในอนาคต AI อย่างเท่าเทียม
ในยุคที่ Generative AI แทรกซึมเข้าสู่ทุกมิติของชีวิต ตั้งแต่ระบบแรงงานไปจนถึงการศึกษา งานสัมมนาครั้งนี้เน้นให้เห็นถึง “โอกาส” ที่เทคโนโลยีจะเพิ่มขีดความสามารถของสังคมไทย ในขณะเดียวกัน “ความเสี่ยง” ที่จะทวีความเหลื่อมล้ำและทำให้ผู้คนบางกลุ่มถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยการสัมมนาครั้งนี้กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ หนึ่งในไฮไลต์ของงานคือ การนำเสนอผลการศึกษา “AI in Thai Society” โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
ซึ่งเผยให้เห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยยังขาดความรู้เท่าทัน AI กลุ่มแรงงานระดับล่างมีโอกาสถูกแทนที่โดยเทคโนโลยี รวมทั้งการใช้ AI ในระบบการศึกษาอาจกระทบจริยธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานสัมมนายังได้สัมผัสนิทรรศการ AI แบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อเรียนรู้ว่า “เราเป็น AI ประเภทใด” ผ่านแบบทดสอบสนุกๆ ที่กระตุ้นให้แต่ละคนหันกลับมาทบทวนบทบาทของตนในโลกที่เทคโนโลยีกำลังนิยามตัวตนของเรา
ยังมีการเสวนา “Thailand Reimagined: When AI Designs the Future” โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคแรงงาน ภาคสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน ร่วมเสนอทางออกในการออกแบบนโยบายที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การคุ้มครองสิทธิพลเมืองในยุคดิจิทัล และการป้องกันอคติที่ AI อาจผลิตซ้ำ อนึ่ง เพื่อสนับสนุนการใช้ AI อย่างสร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้มอบ 7 รางวัลสำหรับผลงาน Generative AI โดดเด่น ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักวิจัย และผู้ประกอบการไทย
งานสัมมนานี้ไม่เพียงเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ AI เท่านั้น แต่ยังปลุกกระแสสังคมให้ตั้งคำถามว่า “เราจะอยู่ร่วมกับ AI อย่างไร ให้เป็นธรรม ครอบคลุม และมีจริยธรรม” รวมถึง “เราจะสร้างคนให้มีปัญญาเพื่อสร้าง ควบคุม และใช้เทคโนโลยีอย่าง AI อย่างเท่าทัน” ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันจุฬาฯ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยนำทางความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในยุค AI
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี