วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 30 เมษายน 2562

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 30 เมษายน 2562

วันอังคาร ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562, 18.52 น.
Tag : สรุปมติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ครม.
  •  

30 เม.ย.62  เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

 


กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กองทุนเพื่อ    ความเสมอภาคทางการศึกษารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ  ธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                สาระสำคัญของร่างข้อกำหนด

                1. กำหนดให้การลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของ กสศ. ต้องคำนึงถึงความเสี่ยง  ด้านสภาพคล่องทางการเงิน กระทำด้วยความระมัดระวัง โดยควรลงทุนในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำให้เกิดผลประโยชน์ ตอบแทนที่เหมาะสม 

                2. กำหนดกิจการการลงทุนหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของ กสศ. ที่อาจกระทำได้ เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ ซื้อตั๋วเงินคลัง ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินของรัฐ หรือของธนาคารพาณิชย์ หรือของเอกชนที่มีความมั่นคง โดยมีธนาคารเป็นอาวัล และลงทุนในตราสารหนี้  ตราสารทุน กองทุนรวม ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการอนุมัติ โดยมอบหมายให้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นผู้บริหารจัดการ เป็นต้น 

                3. ในระหว่างที่ยังไม่ได้นำเงินไปลงทุนตามข้อ 2. ให้นำเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารพาณิชย์ ตามที่คณะกรรมการกำหนด และให้สำนักงานเสนอแผนงานการลงทุนต่อคณะอนุกรรมการโดยเร็ว

 

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 2915 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5126 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย - สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 7 ลงวันที่ 31 มกราคม 2562 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 

                รง. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้มีมาตรฐานการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล อันจะทำให้การดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                1. กำหนดบทนิยาม คำว่า “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” “บุคลากร” “คณะบุคคล” และ “หน่วยงานฝึกอบรม”

                2. กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร และคณะบุคคลได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง 

                3. กำหนดหลักสูตรและระยะเวลาการฝึกอบรม โดยรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

                4. กำหนดวิธีการดำเนินการจัดฝึกอบรมสำหรับนายจ้างหรือหน่วยงานฝึกอบรม

                5. กำหนดคุณสมบัติวิทยากรผู้ทำการฝึกอบรม

 

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ เพื่อให้นายจ้างใช้เป็นเกณฑ์ในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้ 

                1. กำหนดบทนิยาม “งานประดาน้ำ” “นักประดาน้ำ” “หัวหน้านักประดาน้ำ” “พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ” และ “นักประดาน้ำพร้อมดำ” ฯลฯ

                2. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับสำหรับงานประดาน้ำที่ทำในน้ำลึกตั้งแต่ 10 ฟุต แต่ไม่เกิน       300 ฟุต

                3. กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้พนักงานตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีการทำงานทราบ

                4. กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างตรวจสุขภาพตามกำหนด 

                5. กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานประดาน้ำในตำแหน่งต่าง ๆ 

                6. กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน การพัก และจัดให้มีลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ พยาบาลใต้น้ำ การบริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 

                7. กำหนดให้ลูกจ้างอาจปฏิเสธการทำงานหรือนายจ้างอาจสั่งให้หยุดการปฏิบัติงานใต้น้ำในกรณีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

                8. กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าว

                9. กำหนดบทเฉพาะกาลให้นำผลการตรวจสุขภาพและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2548 มาใช้บังคับได้ต่อไป

 

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เพื่อควบคุมสีของผนังอาคารและสีของหลังคาอาคารให้เป็นโทนสีเดียวกัน รวมทั้งความสูงของอาคาร เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสวยงาม ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว

 

6. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงาน  ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

                เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ โดยเพิ่มเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้การกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศครอบคลุมในมิติ  สาขาการจัดการน้ำ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปตามกฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เศรษฐกิจ - สังคม

7. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงกาชาดไทย

                        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สภากาชาดไทยเสนอให้สภากาชาดไทย หรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทยผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่ง หรือสลากกาชาดประจำปี 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย ตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ได้

                      สาระสำคัญของเรื่อง

                         สภากาชาดไทยรายงานว่า

                        1. สภากาชาดไทยได้กำหนดจัดงานกาชาดประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 15 – 24 พฤศจิกายน 2562 รวม 10 วัน 10 คืน ณ บริเวณสวนลุมพินี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงกิจกรรมของสภากาชาดไทย ด้านการบริการทางการแพทย์ การบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การบริการโลหิตและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย

                        2. การเล่นสลากกินแบ่งในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ข้อ 12 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้ซื้อก่อนหักรายจ่าย

 

8. เรื่อง  การจ่ายค่าชดเชย  เยียวยา ค่าที่ดิน  ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่บ้านเมาะหลวง  ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพของราษฎรบ้านห้วยคิง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้

                1. เห็นชอบจ่ายค่าชดเชย  เยียวยา ค่าที่ดิน  ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่บ้านเมาะหลวง  ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพของราษฎรบ้านห้วยคิง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยใช้งบประมาณ จำนวน 72,800,561 บาท จากวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติหลักการไว้แล้ว  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 จำนวน 2,970,500,000 บาท ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จำนวน 2,452,500,000 บาทคงเหลือ 518,000,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เหลือดังกล่าวสามารถนำมาจ่ายเป็นค่าชดเชยได้

                2. ในกรณีที่ในอนาคต  หากราษฎรในพื้นที่ตำบลบ้านดง นาสัก จางเหนือ แม่เมาะ และสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ประกาศกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เกิดปัญหาหรือความเดือดร้อนที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ กฟผ. ใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว

                สาระสำคัญของเรื่อง

                1. ในการดำเนินการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ระหว่างปี 2521 -  2549 มีการอพยพราษฎรในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้ไปอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ แล้วจำนวน  6 ครั้ง โดยมีราษฎรกลุ่มหนึ่งถูกอพยพไปบริเวณบ้านเมาะหลวงหมู่ที่ 8 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน แต่เนื่องจากราษฎรกลุ่มนี้อ้างว่าพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ จึงได้ บุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณใกล้เคียงเนื้อที่ประมาณ 590 ไร่ ต่อมาในปี 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้อพยพราษฎร          5 หมู่บ้าน รวมถึงราษฎรบ้านห้วยคิง หมู่ที่ 6 ด้วย โดยให้อพยพไปบริเวณบ้านเมาะหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง  ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 590 ไร่ ข้างต้น (คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ความเห็นชอบการใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว) ซึ่งมีราษฎรจำนวน 63 ราย จากการอพยพครั้งก่อนหน้านี้ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอยู่  ทำให้ไม่สามารถดำเนินการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง หมู่ที่ 6 ให้เข้าไปอาศัยในพื้นที่รองรับดังกล่าวได้  โดยราษฎรจำนวน 63 รายนี้ได้ร้องขอต่อทางราชการว่า หากจะเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่แปลงดังกล่าว  ขอให้ทางราชการชดเชย เยียวยา ค่าที่ดินต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรฐานราคาของกรมชลประทานเช่นเดียวกันกับราษฎร 5 หมู่บ้านที่จะขออพยพตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556

                2. สำหรับการจ่ายค่าชดเชยแก่ราษฎรที่บุกรุก จำนวน 63 ราย ดังกล่าว คณะกรรมการอำนวยการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน พิจารณาแล้วมีมติให้จ่ายค่าชดเชย เยียวยา ค่าที่ดิน ต้นไม้ และสิ่ง ปลูกสร้าง โดยใช้หลักเกณฑ์และราคาประเมินในราคามาตรฐานของกรมชลประทานรอบบัญชีราคาประเมินปี 2556 เป็นจำนวนเงิน 72,800,561 บาท กระทรวงพลังงานจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้จ่ายค่าชดเชยฯ ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่บ้านเมาะหลวง  ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพของราษฎรบ้านห้วยคิง  หมู่ที่ 6 อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยใช้งบประมาณจำนวน 72,800,561 บาท จากกรอบงบประมาณวงเงินรวม 2,970,500,000 บาท ที่ได้รับอนุมัติหลักการไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ซึ่งมีเงินคงเหลือจำนวน  518,000,000 บาท ทั้งนี้ หากในอนาคตมีราษฎรในพื้นที่ตำบลบ้านดง  นาสัก จางเหนือ แม่เมาะ และสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางซึ่งอยู่ในพื้นที่ประกาศกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ  เกิดปัญหาหรือความเดือดร้อนที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ  เห็นควรให้ กฟผ. ใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว

 

9. เรื่อง  ขอยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 เพื่อการสำรวจปิโตรเลียม การผลิตปิโตรเลียม การเก็บรักษา การขนส่ง หรือกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ  ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 7 (2) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 แก่บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด  ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 3/2546/60 เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเป็นผู้ยื่นขออนุญาตทำประโยน์ในเขตป่า เพื่อการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง หรือกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมต่อกรมป่าไม้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

               สาระสำคัญของเรื่อง

                เรื่องนี้กระทรวงพลังงานขอความเห็นชอบให้ยกเว้นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของนิติบุคคลที่จะขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เนื่องจากตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 กำหนดให้นิติบุคคลที่จะขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว ซึ่งบริษัทผู้ขออนุญาตในครั้งนี้เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2539 โดยมีบริษัทต่างชาติ รวม 3 แห่ง เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด  จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ขอทำประโยชน์ในเขตป่าตามกฎกระทรวงดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม โดยที่กฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติได้ ในกรณีที่เห็นว่าการอนุญาตจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่า การอนุญาตดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมของบริษัทฯ เป็นการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งในประเทศ  ส่งผลดีในการเสริมสร้างและรักษาความมั่นคงในการจัดหาพลังงานจากเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการนำเข้าพลังงาน สร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐจากค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม รวมทั้งทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นและธุรกิจอันเกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม  กระทรวงพลังงานจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติให้แก่บริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถขออนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าเพื่อการผลิตปิโตรเลียมได้

 

10. เรื่อง  ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมศิลา ที่จังหวัดสระบุรี

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                1. อนุมัติการขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อทำปูนขาวและเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง และหินอุตสาหกรรมชนิดหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ตามคำขอต่ออายุประทานบัตรที่ 3/2557 (ประทานบัตรที่ 32450/15795) ของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมศิลา (หจก.อุดมศิลา) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอและให้กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

                2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) กำกับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมศิลา ดำเนินการให้เป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

                สาระสำคัญของเรื่อง

                กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  อุดมศิลา ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลนอำเภอพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  ผู้ถือประทานบัตรชนิดเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อทำปูนขาวและเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง  โดยได้รับอนุญาตประทานบัตรที่ 32450/15795  มีอายุ 10 ปี(ตั้งแต่วัน 21 ธันวาคม 2550) ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2560) ซึ่งประทานบัตรดังกล่าวสิ้นอายุแล้ว จึงมีความประสงค์จะขออนุมัติขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอเอ็ม  เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างและหินอุตสาหกรรมชนิดหินดินดานในพื้นที่เดิม  รวมเนื้อที่ 124-3-83 ไร่ ตามคำขอประทานบัตรใหม่ที่ 3/2557 (โดยจะดำเนินการเพิ่มเติมชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลงในประทานบัตรอีกชนิดหนึ่งต่อไป) ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบต่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มของแปลงดังกล่าวแล้ว  และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม  และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด  และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด  เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปีละ 1 ครั้ง  ตลอดจนพื้นที่ดังกล่าวไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์  ไม่เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมือง  การปิดประกาศ  การขอประทานบัตรไม่มีผู้ร้องเรียนคัดค้าน

 

11. เรื่อง  การทบทวนมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 เรื่อง  ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินและหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติ  ตามมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ ดังนี้

                1. งบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  กรอบวงเงินจำนวน 4,206,064,156.07 บาทเนื่องจาก สปน. ได้มอบหมายให้กองทัพบก (ทบ.) เป็นหน่วยเบิกจ่ายแทน และ ทบ. ได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว  เห็นควรมอบหมายให้  สปน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณจำนวนดังกล่าวต่อไปจนครบวงเงินหรือการก่อสร้างแล้วเสร็จและมอบหมายให้ ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลและใช้ประโยชน์หอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติฯ เป็นหน่วยงานในการเสนอขอตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป

                2. งบประมาณโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ  เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรอบวงเงินจำนวน 2,078,237,443.93 บาท ซึ่งประกอบด้วย

                        2.1 งบประมาณการก่อสร้างระยะที่ 1 กรอบวงเงินจำนวน 1,277,313,038.69 บาท  ซึ่งเป็นงบประมาณการก่อสร้างตัวอาคารและควบคุมงาน สปน.  ได้มอบหมายให้ ทบ. เป็นหน่วยเบิกจ่ายแทน และ ทบ. ได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้เรียบร้อยแล้วและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของกรมยุทธโยธาทหารบก  เห็นควรมอบหมายให้ สปน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณจำนวนดังกล่าวต่อไปจนกว่าการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ

                        2.2 งบประมาณการก่อสร้างระยะที่ 2 กรอบวงเงินจำนวน 692,104,890.28 บาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างตกแต่งภายในสำหรับการแสดงองค์ความรู้งานจ้างควบคุมงาน จำนวน604,338,400 บาท  และงบประมาณในส่วนสาธารณูปโภคและภูมิสถาปัตยกรรม จำนวน 87,766,490.28 บาท เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณ

                        2.3 งบประมาณการบริหารจัดการดูแลพิพิธภัณฑ์ฯ จำนวน 20,000,000 บาทเห็นควรมอบหมายให้  ทส. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ฯ เสนอขอตั้งงบประมาณรายปีต่อไปภายหลังที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ

                สาระสำคัญของเรื่อง

                  เดิมคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีมติ (2 กรกฎาคม 2557) อนุมัติในหลักการให้กองทัพบก (ทบ.) ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าฯ โดยมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการต่อไป  ซึ่งบัดนี้คณะกรรมการบริหารจัดการไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินในการประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 พิจารณาแล้วเห็นควรให้ทบทวนหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณ  และเพิ่มเติมการมอบหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ   เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหน้าที่ความรับ ผิดชอบของหน่วยงาน  จากเดิม ให้ สปน. เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เป็น ดังนี้

โครงการ

ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เป็น

1. หอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติฯ

(ประมาณ 4,206 ล้านบาท)

1. ให้ สปน. รับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณต่อไป จนครบวงเงินหรือการก่อสร้างแล้วเสร็จ

2. ให้ ทบ. รับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป เนื่องจาก ทบ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลและใช้ประโยชน์หอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติฯ

2. โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก*

(ประมาณ 2,078 ล้านบาท)

1. งบประมาณการก่อสร้างระยะที่ 1 (1,277.31 ล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณการก่อสร้างตัวอาคารและควบคุมงาน ให้ สปน. เสนอขอตั้งงบประมาณดังกล่าวต่อไปจนกว่าการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ

2. งบประมาณการก่อสร้างระยะที่ 2 (692.10 ล้านบาท) และงบประมาณการบริหารจัดการดูแล (20 ล้านบาท) ให้ ทส. เป็น           ผู้เสนอขอตั้งงบประมาณ

หมายเหตุ :  ในส่วนโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ สปน. ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับดูแล ขนย้าย ควบคุม และแปรรูปไม้มีค่าไปแล้ว  จำนวนประมาณ 88 ล้านบาท  ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงิน งบประมาณการ  ก่อสร้างระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และงบประมาณการบริหารจัดการดูแลแล้ว จะครบถ้วนตามกรอบ วงเงินโครงการ จำนวนประมาณ 2,078 ล้านบาท (1,277.31+692.10+20+88)

 

12. เรื่อง  แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 -2580 (PDP2018)  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 -2580                     (Power Development Plan: PDP2018)   ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

               1. เรื่องนี้เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (12 มีนาคม 2562) รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 (ครั้งที่ 16) ซึ่งรวมถึงการเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 -  2580 (PDP2018)  ด้วย  โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานเสนอแผน PDP2018 ให้สำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณากลั่นกรอง  เพื่อให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 (เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี) และนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปเพื่อให้เป็นไปตามนัยมาตรา 9 (3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  ซึ่งกระทรวงพลังงานแจ้งว่าสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบแผน PDP2018 แล้ว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562

                2. แผน PDP2018 มีสาระสำคัญเป็นแผนหลักในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงประชากรที่เพิ่มขึ้น  โดยตั้งเป้าหมายให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าในปี 2580 จำนวน 77,211 เมกะวัตต์ (ปัจจุบันผลิตได้ 46,090 เมกะวัตต์) ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว  จะต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 56,431 เมกะวัตต์ และปลดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุในช่วงปี 2561 - 2580 จำนวน 25,310 เมกะวัตต์ นอกจากนี้จะมีการพัฒนาระบบผลิตและส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับการซื้อขายไฟฟ้ากับเอกชนที่เพิ่มมากขึ้นและเกิดความมั่นคงทางพลังงานในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน  รวมทั้งพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด (Smart Grid) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล  ควบคุม  และบริหารจัดการการผลิตและจ่ายไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการผลิตไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา

                อนึ่ง  แผน PDP2018 สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (7) ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน  ระบบโลจิสติกส์  และดิจิทัล  (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน  ซึ่งกำหนดให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้มีความมั่นคงในระดับที่เหมาะสม  มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า  ส่งเสริมพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

13. เรื่อง  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 เกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลง ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการการเบิกจ่ายเงินที่จัดเก็บได้ของทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วง พระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

                1. กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางสำหรับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน  ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ที่ให้พิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการการเบิกจ่ายเงินที่จัดเก็บได้ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวและได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงเรื่อง การบริหารจัดการงานจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง งานบำรุงรักษา งานกู้ภัย งานจัดการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ถนนสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก)ฯ แล้วเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561

                2. โดยที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับ บางขุนเทียน ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 รวมทั้งกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2555 แต่ก็ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางตามนัยกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเพิ่งได้ข้อยุติเรื่องสัดส่วนปริมาณการจราจรและกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระหว่างกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มี การประชาสัมพันธ์การจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับทางหลวงหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก)ฯ ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ มาโดยตลอด และจะมีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเพิ่มเติมต่อไปด้วย ทั้งนี้ จะเริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

                ทั้งนี้ คค. รายงานว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 แล้ว โดย คค. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน  พ.ศ. 2555 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 127 ก ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2555 โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและประเภทยานยนตร์ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ดังนี้

               

ประเภทยานยนตร์

รถที่มีล้อไม่เกิน

4 ล้อ

รถที่มีล้อเกิน 4 ล้อ แต่ไม่เกิน 6 ล้อ

รถที่มีล้อเกิน 6 ล้อ ขึ้นไป

อัตราค่าธรรมเนียม

15 บาท

25 บาท

35 บาท

 

14. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง ปี 2562 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝน พ.ศ. 2562

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,226.0505 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝน พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                สาระสำคัญ

                1. สทนช. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญการแก้ไขปัญหาตามมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและรับมือความเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2561/2562 เป็นการเร่งด่วน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การเผชิญเหตุและได้ดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในภาวะวิกฤติไปแล้วบางส่วน แต่ปรากฏว่ายังมีแผนงานโครงการที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งเป็นการเตรียมการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกักน้ำรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝนให้ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ สทนช. จึงได้เชิญ 10 หน่วยงานที่มีภารกิจด้านน้ำ ได้แก่ กรมชลประทาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปาส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก ร่วมกันหารือเมื่อวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา ชั้น 2 สทนช. อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการขุดลอกเพิ่มความจุแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำอื่น ๆ อีกทั้งได้เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานโครงการ เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและระยะเวลาดำเนินการ พร้อมทั้งได้รวบรวมแผนงานโครงการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและเพิ่มน้ำต้นทุนจากทุกหน่วยงาน ที่จะต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน 

                2. สทนช. ได้พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมในเบื้องต้นของแผนงานโครงการที่กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปาส่วนภูมิภาค และกองทัพบก รวมทั้งให้หน่วยงานพิจารณาตรวจสอบสถานภาพความพร้อมตามหลักเกณฑ์การพิจารณา และยืนยันแผนงานโครงการ พร้อมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จัดส่งให้ สทนช. เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่ง สทนช. ได้รวบรวมเป็นแผนงานโครงการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและเพิ่มน้ำต้นทุน จำนวน 144 โครงการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,226.0505 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่ 32 จังหวัด ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้เพิ่มขึ้น 28.12 ล้านลูกบาศก์เมตร มีครัวเรือนได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 85,474 ครัวเรือน

 

15. เรื่อง  มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

                1. เห็นชอบในหลักการและการดำเนินการของมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลาง ปี 2562 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และมอบหมายกรมบัญชีกลางดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

                2. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 5 ฉบับ (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่าน  และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง)

                3. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร  ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) จำนวน 1 ฉบับ (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์)

                4. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 (เรื่อง  การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้ 

                สาระสำคัญ

                กระทรวงการคลังเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ซึ่งประกอบด้วยมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและมาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562

                1. มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

                มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อยและเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว  ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยดีขึ้นและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                        1.1 มาตรการเพิ่มเบี้ยคนพิการ

                                1) วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นคนพิการ และมีบัตรประจำตัว คนพิการ ได้รับเบี้ยคนพิการเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การดูแลสุขภาพและการเดินทางเป็นจำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน

                                2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐและเป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ  จำนวนประมาณ 1,160,000 คน (จากฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

                                3) รายละเอียดมาตรการ : กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ใส่ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือน ซึ่งผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture :  EDC) แอพพลิเคชันถุงเงินประชารัฐหรือถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติได้

                                4) ระยะเวลามาตรการ : เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2562 ระยะเวลา 5 เดือน

                                5) งบประมาณ : ประมาณ 1,160 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

                        1.2 มาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่เกษตรกร

                                1) วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือค่าปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นเกษตรกร  ในช่วงที่รายได้เกษตรกรหดตัวอันเนื่องจากปริมาณการผลิตหดตัวและราคาสินค้าเกษตรยังมีความผันผวนสูง เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อคน (ได้รับครั้งเดียว)

                                2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐโดยระบุว่าเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเท่านั้น (ไม่รวมลูกจ้างภาคเกษตรกรรม) จำนวนประมาณ 4,100,000 คน 

                                3) รายละเอียดมาตรการ : กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม  ใส่ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1,000 บาทต่อคน  ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ซึ่งผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้ซื้อปุ๋ย  ยาฆ่าแมลงและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ที่จำเป็น ผ่านเครื่อง EDC แอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐ  หรือถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติเพื่อชำระค่าสินค้าดังกล่าวได้

                                4) งบประมาณ : ประมาณ 4,100 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

                        1.3 มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ช่วงเปิดปีการศึกษา

                                1) วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การศึกษาช่วงเปิด ปีการศึกษาเพิ่มเติมจากการช่วยเหลือของกระทรวงศึกษาธิการที่มีอยู่เดิม  ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้พ่อแม่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุดนักเรียนและอุปกรณ์การศึกษา  เป็นจำนวน 500 บาทต่อบุตร 1 คน (ได้รับครั้งเดียว)

                                2) กลุ่มเป้าหมาย :  ผู้ผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่ระบุว่ามีบุตรอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ โดยปัจจุบันยังมีอายุไม่เกิน 18 ปี (นับจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2562)  และต้องเป็นนักเรียนที่มีรายชื่อในฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ การให้สิทธิจะให้ตามจำนวนบุตรผ่านแม่หรือพ่อที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ซึ่งมีจำนวนบุตรประมาณ 2,700,000 คน

                                3) รายละเอียดมาตรการ : กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม  ใส่ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 500 บาทต่อบุตร    1 คน ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ซึ่งผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้ซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การศึกษาผ่านเครื่อง EDC แอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐ  หรือถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติเพื่อชำระค่าสินค้าดังกล่าวได้

                                4) งบประมาณ : ประมาณ 1,350 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐ เพื่อเศรษฐกิจฐานรากสังคม

 

                        1.4 มาตรการพยุงการบริโภคของผู้มีรายได้น้อย

                           1) วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย และรักษากำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานรากไม่ให้ทรุดตัวมากกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงกลางปี 2562 โดยเพิ่มวงเงินซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคจำเป็นในร้านธงฟ้าประชารัฐ 500 บาทต่อคนต่อเดือน เท่ากันทุกคน (เดิมได้ 300 บาท ให้เพิ่มอีก 200 บาท หรือเดิมได้  200 บาท ให้เพิ่มอีก 300 บาท) เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยเพิ่มช่องทางในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้ครอบคลุมถึงร้านค้าที่มีเครื่อง EDC และรองรับการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐ

                                2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนประมาณ 14,600,000 คน โดยจำแนกเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนจำนวนประมาณ 10,800,000 คน และผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน จำนวนประมาณ 3,800,000 คน

                                3) รายละเอียดมาตรการ : กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม  ใส่ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่องค่าสินค้าร้านธงฟ้าประชารัฐ โดยผู้มีรายได้น้อยที่ได้ 300 บาทต่อคนต่อเดือน  ให้เพิ่มอีก 200 บาท ส่วนผู้มีรายได้น้อยที่ได้ 200 บาทต่อคนต่อเดือน ให้เพิ่มอีก 300 บาท เป็น 500 บาทต่อคนต่อเดือน เท่ากันทุกคน โดยให้ใช้ได้ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2562

                                4) งบประมาณ : ประมาณ 6,600 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

                        ทั้งนี้ มาตรการพยุงเศรษฐกิจช่วงกลางปี 2562 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 13,210 ล้านบาท โดยจะมีวิธีการประเมินผลด้วยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการ และมีการวัดความคุ้มค่าด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการต่อเศรษฐกิจ ซึ่งการประเมินผลและการวัดความคุ้มค่านี้จะดำเนินการหลังจากมาตรการสิ้นสุดแล้ว เพื่อนำผลสรุปรายงานต่อคณะกรรมการฯ ต่อไป

                2. มาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562

                กระทรวงการคลังขอเสนอมาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มการซื้อขายภาคอสังหาริมทรัพย์  และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนภาคเอกชน  เพื่อลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                        2.1 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย

                                1) หลักการ :

                                        1.1) กำหนดให้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดหลักไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง  แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

                                        1.2) กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่ถึงรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว  ค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และค่าที่พักและสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดรองไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง  แต่ไม่เกิน 20,000 บาท

                        ทั้งนี้ การหักลดหย่อนตาม 1.1) และ 1.2) สามารถหักรวมกันได้ตามจ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 20,000 บาท โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายในท้องที่เดียวกัน และเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562

                                2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข :

                                        2.1) จังหวัดหลัก ให้หมายความถึงพื้นที่ ดังต่อไปนี้

                                        จังหวัดกระบี่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพังงา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรีและจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                                        2.2) จังหวัดรอง ให้หมายความถึงพื้นที่ดังต่อไปนี้

                                        จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชุมพร จังหวัดเชียงราย จังหวัดตรัง จังหวัดตราด จังหวัดตาก จังหวัดนครนายก จังหวัดนครพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดน่านจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพะเยา จังหวัดพัทลุง จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยโสธร จังหวัดยะลา จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดระนอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรีจังหวัดเลย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสตูล จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดอุบลราชธานี

                                        2.3) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ : จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 1,000 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ออกกฎกระทรวง ฉบับที่.. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                        2.2 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา

                                1) หลักการ : กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าซื้อสินค้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬาดังต่อไปนี้

                                        1.1)  อุปกรณ์การศึกษา แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

                                        1.2)  เครื่องแต่งกายสำหรับการศึกษา

                                        1.3)  อุปกรณ์กีฬา

                                        1.4)  เครื่องแต่งกายสำหรับการเล่นกีฬา

                                2) หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไข :

                                        2.1)  ต้องได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

                                        2.2)  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ : จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 1,500 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : สนับสนุนให้มีการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                        2.3 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท่องเที่ยวท้องถิ่นไทย

                                1) หลักการ : กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  สามารถนำค่าซื้อสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

                                2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข  : หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ : จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ

150 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : สนับสนุนสินค้าโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ของชุมชน

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                        2.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่าน :

                                1) หลักการ : กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  สามารถนำค่าซื้อหนังสือและค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book) ทุกประเภทที่จะจ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นตามที่จ่ายจริงไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

                                2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข :

                                        2.1 รายจ่ายตามข้อ 1) หากรวมกับรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการตามข้อ 1 (2) และ (3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่  341 (พ.ศ. 2561) ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 16 มกราคม 2562 ต้องไม่เกิน 15,000 บาท

                                        2.2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ : จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 2,250 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : สนับสนุนให้ประชาชนซื้อหนังสือ และได้รับความรู้จากการอ่านมากขึ้น และช่วยยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ อันสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ออกกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                        2.5 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

                                1) หลักการ : กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  สามารถนำค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท ไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการคํานวณภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

                                2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข :

                                        2.1) ต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัย

                                        2.2) ไม่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน

                                        2.3) ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย                                                

                                        2.4) ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ตายหรืออสังหาริมทรัพย์สิ้นสภาพไปทั้งหมด

                                        2.5) หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ: จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 1,350 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : สนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านหลังแรกและเป็นการกระตุ้นการซื้อขายภาคอสังหาริมทรัพย์

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ

                       2.6 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

                                1) หลักการ :

                                        1.1) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและออกหรือรับใบกำกับภาษีหรือใบรับ หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้เป็น 2 เท่าของที่จ่ายจริงสำหรับรายจ่ายดังต่อไปนี้

                                                1.1.1) รายจ่ายเพื่อการลงทุนในการพัฒนาระบบ เครื่อง คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์จัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบจัดทำ  หรือส่งมอบ หรือรับส่ง หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหรือคู่ค้า

                                                1.1.2) รายจ่ายเพื่อค่าบริการระบบคลาวด์ ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทำ หรือส่งมอบ หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Service Provider) ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร

                                                ทั้งนี้  ไม่ให้รวมถึงรายจ่ายของผู้ให้บริการจัดทำ หรือส่งมอบ หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการ (Service Provider)

                                        1.2) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้เป็น 2 เท่าของที่จ่ายจริง สำหรับรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบ POS (Point of Sale) ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อระบบ POS ซึ่งเชื่อมโยงกับการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

                                        1.3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้และผู้ให้บริการการชำระเงินตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน  หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้เป็น 2 เท่าของที่จ่ายจริงสำหรับรายจ่ายดังต่อไปนี้

                                                1.3.1) รายจ่ายเพื่อการลงทุนในการพัฒนาระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์

                                                1.3.2) รายจ่ายค่าบริการระบบคลาวด์ ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์

                                2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข :

                                        2.1) ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

                                        2.2) ให้ใช้สิทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใช้การจริง (มีการจัดทำ  ส่งมอบและเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน POS หรือมีการใช้ระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์)

                                        2.3) ทรัพย์สินต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

                                                2.3.1) ต้องไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน

                                                2.3.2) ต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

                                                2.3.3) ต้องได้มาและได้ใช้การจริงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจในการขยายระยะเวลาดังกล่าว

                                                2.3.4) ต้องไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับอื่น ๆ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

                                                2.3.5) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร

                                        2.4) ต้องใช้ระบบใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และระบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่อง POS แล้วแต่กรณี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย  3 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกัน โดยนับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใช้ระบบเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก

                                        2.5) เครื่อง POS ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อ 1.2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

                                                2.5.1) ต้องเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อระบบ POS

                                                2.5.2) ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรได้

                                                2.5.3) ต้องบันทึกรายละเอียดการขาย และยอดขายได้                                                       

                                                2.5.4) ต้องแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้าและบริการได้

                                                2.5.5) ต้องเชื่อมต่อกับเครื่อง EDC

                                                2.5.6) ต้องรับและส่งข้อมูลจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละรายการที่รับชำระค่าสินค้าและบริการได้

                                        2.6) กรณีได้ใช้สิทธิไปแล้วและต่อมาพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดในรอบระยะเวลาบัญชีใด  ต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น  เว้นแต่กรณีทรัพย์สินถูกทำลายหรือสูญหายหรือสิ้นสภาพ ไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก

                                        2.4) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                                3) ผลกระทบ : จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 2,370 ล้านบาท

                                4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

                                        4.1) ส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan)

                                        4.2) กระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน

                                5) แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย : ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร  ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่) .. พ.ศ. ....จำนวน 1 ฉบับ

                        ผลกระทบ

                        มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 จะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้

                        1. มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562  เป็นการอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ จำนวน 13,210 ล้านบาท และการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายจากประชาชนและเอกชน ซึ่งจะผลักดันให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2562 เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังประมาณไว้คือ เท่ากับร้อยละ 3.9

                        2. ผู้มีรายได้น้อยจะได้รับความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  โดยผู้มีรายได้น้อยจะได้รับการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค  ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ  ค่าใช้จ่ายในการจัดหาปุ๋ย   ยาฆ่าแมลง หรือปัจจัยการผลิตอื่น ๆ รวมถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายพ่อแม่ในช่วงเปิดเทอม เช่น ค่าชุดนักเรียน อุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น

ต่างประเทศ

16.  เรื่อง  ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและยูเนสโกเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 การประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 และประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยนัยทางจริยธรรม กฎหมาย และสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างประเทศเจ้าภาพและยูเนสโกเกี่ยวกับการจัดการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 (26th Session of the International Bioethics Committee of UNESCO : IBC) การประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 (11th Session of the World Commission on Ethics of Scientific Knowledge and Technology : COMEST) และการประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยนัยทางจริยธรรม กฎหมาย และสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสนอ

                สาระสำคัญของเรื่อง

                กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเจ้าภาพและยูเนสโกได้ เห็นพ้องให้กำหนดจัดการประชุม IBC ครั้งที่ 26 การประชุม COMEST ครั้งที่ 11 และการประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยนัยทางจริยธรรม กฎหมาย และสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างวันที่ 2 – 7 กรกฎาคม 2562 ณ กรุงเทพมหานคร โดยยูเนสโกได้จัดทำร่างความตกลงของประเทศเจ้าภาพระหว่างรัฐบาลไทยและยูเนสโกเพื่อเป็นแนวทางและข้อตกลงร่วมกันในการจัดการประชุมฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือและปรับแก้ไขร่างความตกลงฯ จนเห็นพ้องร่วมกันในเนื้อหาและถ้อยคำของร่างความตกลงฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะ ขอบเขตของการประชุม ผู้เข้าร่วม สถานที่ และวันจัดการประชุม เอกสิทธิ์และความคุ้มกันการรักษาความปลอดภัย และการระงับข้อพิพาท รวมทั้งแสดงรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบของยูเนสโกและรัฐบาลไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ เช่น การเตรียมการ การจัดสถานที่ การเดินทาง การรักษาความปลอดภัย คระทำงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

17. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 22

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 22 โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 22 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 22 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

                   สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ประกอบด้วย การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคที่ผ่านมา ทิศทางเชิงกลยุทธ์ของการดำเนินการทางการเงินของอาเซียน+3 มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็น พหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)  AMRO ซึ่งที่ประชุม AFMGM+3 ยืนยันที่จะสนับสนุน AMRO อย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิสระ น่าเชื่อถือ และเป็นมืออาชีพ มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ตลอดจนความร่วมมือทางการเงินของอาเซียน+3 สำหรับเงินทุนและการประกันภัยเพื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (The Southeast Asia Disaster Risk Insurance Facility: SEADRIF)

                   ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 22 (การประชุมฯ) ร่วมกับกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2562 ณ เมืองนาดี สาธารณรัฐฟิจิ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีกำหนดเดินทางเป็นประธานร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 จะพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวในช่วงการประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 22 ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2562

                   สำหรับการประชุมฯ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 จะมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกและของภูมิภาค กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยให้การเติบโตของโลกมีความแข็งแกร่งยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม โดยในปีนี้เป็นการครบรอบ 20 ปีของการดำเนินการทางการเงินของอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Process) จึงจะมีการหารือถึงวิสัยทัศน์ในอนาคต รวมถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพสำหรับรองรับความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต นอกจากนี้ จะมีการติดตามความคืบหน้าของ การดำเนินการทางการเงินนับตั้งแต่การประชุม AFMGM+3 ครั้งล่าสุด ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561  ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

 

18. เรื่อง  ขออนุมัติความเห็นชอบต่อร่างเอกสารรายงานการประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศสมาชิก BIMSTEC ครั้งที่ 3

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารรายงานการประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศสมาชิก BIMSTEC ครั้งที่ 3  ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และจากนั้นให้รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอ

                   สาระสำคัญ การประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศสมาชิก BIMSTEC ครั้งที่ 3 วันที่ 21 มีนาคม 2562 ณ อาคารรับรองเกษะโกมล กรุงเทพมหานคร ในพิธีเปิดการประชุม พลเอก วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยและประธานการประชุมฯ กล่าวต้อนรับผู้แทนประเทศสมาชิกที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม ฯ  โดยเน้นย้ำถึงสถานการณ์ความมั่นคงระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในโลก ซึ่งประเทศสมาชิกในกลุ่ม BIMSTEC ได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาทิ การก่อการร้าย การเผยแพร่แนวคิดสุดโต่ง อาชญากรรมข้ามชาติ และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งนี้ฝ่ายไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมประจำปีฯ จะเป็นเวทีที่ประเทศสมาชิกร่วมกันแสดงความคิดเห็นอันนำมาซึ่งเสถียรภาพและความสงบสุขในภูมิภาค

                  ในการแสดงทัศนะในหัวข้อความท้าทายจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในภูมิภาค หัวหน้าคณะผู้แทนไทยยังได้เน้นย้ำความร่วมมือระดับภูมิภาคในการรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทั้งการก่อการร้าย ภัยคุกคามทางไซเบอร์และการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ จะต้องเป็นความร่วมมือที่ใกล้ชิดและทันต่อเหตุการณ์  

การประชุม ฯ ยังพิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ภายใต้กรอบ BIMSTEC และคณะทำงานย่อยแต่ละคณะ ความคืบหน้าด้านความมั่นคงที่ริเริ่มโดยการประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงของประเทศสมาชิก BIMSTEC    ข้อเสนอแนะจากการประชุม Regional Dialogue of Think Thanks on Security Cooperation  ข้อเสนอแนะแนวทางความร่วมมือด้านความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนวัน เวลา และสถานที่การประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศสมาชิก BIMSTEC ครั้งที่ 4 ซึ่งหัวหน้าคณะผู้แทนเมียนมาได้แจ้งความพร้อมของเมียนมาที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีฯ ครั้งที่ 4 ในห้วงเดือนมีนาคม 2563

                    ทั้งนี้ การประชุมประจำปีของหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงของประเทศสมาชิก BIMSTEC ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันให้ประเทศสมาชิกแจ้งผลการพิจารณาร่างรายงานผลการประชุมและแจ้งรับรองรายงานผลการประชุมฯ ดังกล่าว ให้แก่สำนักเลขาธิการ BIMSTEC ภายในวันที่

30 เมษายน 2562

แต่งตั้ง

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

                1. นายพล ธีรคุปต์ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง) กองสืบสวนและคดี กรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2561

                2. นางสดศรี พงศ์อุทัย รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายสุรศักดิ์  อินศรีไกร ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง ขอรับโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป.

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และ  การสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอรับโอน นายสุวิทย์ อมรนพรัตนกุล ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. (นักบริหารระดับสูง) สำนักงาน ป.ย.ป. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนด้วยแล้ว

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน เพิ่มเติม จำนวน 2 คน ดังนี้

                1. นายมงคล ลีลาธรรม (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) กรรมการ

                2. นางสาวสุปรียา พิพัฒน์มโนมัย กรรมการ 

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

23. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (ผู้อำนวยการ สบพน.) โดยให้มีผล ตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

 

24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่าง

                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายมนูญ สรรค์คุณากร ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 เป็นต้นไป

 

25. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล รวม 3 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ดังนี้

                1. นายธีรพล โตพันธานนท์ ประธานกรรมการ 

                2. รองศาสตราจารย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                3. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 เป็นต้นไป และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ คณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในครั้งต่อไปให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน
  • ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม. ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม.
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568
  •  

Breaking News

เลือกตั้งสมุทรสาคร! จยย.ขนคนไปลงคะแนน คอยคุมแจกติ้ว-ขึ้นเงินหลังปิดหีบ

วัดใจคนธัญบุรี! ‘นายกเบี้ยว-ลูกพีช’ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเทศบาล ลั่นพร้อมแถลงไม่ว่าแพ้-ชนะ

‘ดุสิตโพล’เผยคนไทยกังวลค่าครองชีพ-ปัญหาเศรษฐกิจ อึ้งมีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 1 เดือน

ฝนถล่มไม่กระทบ‘เลือกตั้งเทศบาล68’ กกต.เร่งสอบซื้อเสียง‘กาฬสินธุ์’หัวละ 3 พันบาท

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved