วันนี้ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญ
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและสาขาวิชารัฐศาสตร์และสีประจำสาขาวิชาดังกล่าวดังนี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยาฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 |
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยาฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... |
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565” ฯลฯ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี่แทน ฯลฯ
“มาตรา 7 สีประจำสาขาวิชา มีดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชาการบัญชี สีฟ้าเทา (2) สาขาวิชาการศึกษา สีฟ้า (3) สาขาวิชานิติศาสตร์ สีขาว (4) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สีน้ำเงิน (5) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีชมพู (6) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีส้มอ่อน (7) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล (8) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สีเงิน และประยุกต์ศิลป์ (9) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง (10) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สีเลือดหมู (11) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สีแสด (12) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพู
|
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....” ฯลฯ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ฯลฯ (3) สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.อ.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.” (ข) โท เรียกว่า “ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.อ.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ค.อ.บ.” ฯลฯ (9) สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า “รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.ด.” และ "ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต" ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.” (ข) โท เรียกว่า “รัฐศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.ม.” (ค) ตรี เรียกว่า “รัฐศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.บ.”
“มาตรา 7 สีประจำสาขาวิชา มีดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชาการบัญชี สีฟ้าเทา (2) สาขาวิชาการศึกษา สีฟ้า (3) สาขาวิชาครุศาสตร์ สีม่วงอ่อน อุตสาหกรรม (4) สาขาวิชานิติศาสตร์ สีขาว (5) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สีน้ำเงิน (6) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีชมพู (7) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีส้มอ่อน (8) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล (9) สาขาวิชารัฐศาสตร์ สีดำ (10) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สีเงิน และประยุกต์ศิลป์ (11) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง (12) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สีเลือดหมู (13) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สีแสด (14) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพู |
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญ
1. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 บัญญัติให้คนหางานที่จะไปทำงานในต่างประเทศ นายจ้างในต่างประเทศ หรือผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศเพื่อเป็นสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งเมื่อส่งเงินแล้วจะได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์จากกองทุนฯ เช่น การจัดให้สมาชิกกองทุนฯ (จ่ายครั้งเดียว) ได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อถูกทอดทิ้งอยู่ในต่างประเทศ การคัดเลือกและทดสอบฝีมือ และการฝึกอบรมสมาชิกกองทุนฯ ก่อนจะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ กำหนดเวลา และอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนฯ เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ซึ่งได้กำหนดวิธีการส่งเงินเข้ากองทุน โดยให้ผู้ที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ต้องมายื่นคำขอส่งเงินเข้ากองทุนฯ พร้อมเอกสารหลักฐานและส่งเงินเข้ากองทุนฯ เป็นเงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ ณ สถานที่ที่กำหนด เพียงช่องทางเดียวและกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนในอัตรา 300 บาท 400 บาท หรือ 500 บาท ต่อคนหางาน 1 คน แล้วแต่ประเทศ หรือทวีปที่คนหางานจะไปทำงาน แต่โดยที่กฎกระทรวงดังกล่าวได้ใช้มานานซึ่งมีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาทิ การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกกองทุนฯ การให้ความช่วยเหลือคนหางานซึ่งประสบปัญหาในต่างประเทศและต้องเดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ในปัจจุบันที่รุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการกำหนดระยะเวลาการคุ้มครองหากสมาชิกกองทุนฯ ยังอยู่หรือทำงานอยู่ในต่างประเทศให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อไป อีก 5 ปีนับแต่วันครบกำหนดหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ อีก ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายกองทุนฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนอาจกระทบกับเสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุนฯ ได้ ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ กำหนดเวลาและอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โดยกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนฯ เพิ่มขึ้นและเป็นอัตราเดียวสำหรับคนหางานไปทำงานต่างประเทศไม่ว่าประเทศใด ในอัตรา 1,000 บาท ต่อคนหางาน 1 คน (เดิมกำหนดอัตรา 300 บาท 400 บาท หรือ 500 บาท ต่อคนหางาน 1 คน แล้วแต่ประเทศหรือทวีปที่คนหางานจะไปทำงาน) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและทำให้กองทุนฯ สามารถปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองแก่สมาชิกกองทุนฯ ให้สอดคล้องกับเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯ ในอัตราใหม่ โดยไม่กระทบกับสถานะทางการเงินของกองทุนฯ รวมทั้งกำหนดวิธีการส่งเงินเข้ากองทุนฯ และการออกบัตรสมาชิกกองทุนฯ โดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมกำหนดให้ดำเนินการ ณ สถานที่ที่กำหนด) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและสอดคล้องการดำเนินการรับเงินของกองทุนฯ ในปัจจุบันตามระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. 2549
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวโดยมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า กระทรวงแรงงานควรสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงแนวทางการดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติเมื่อร่างกฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ บัตรสมาชิกกองทุนฯ ที่ออกให้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ให้ใช้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และสมาชิกกองทุนฯ ยังคงได้รับสิทธิตามระเบียบกระทรวงแรงงาน ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก่อนวันที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ แต่หากคนหางานผู้ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนฯ อยู่ก่อนหรือในวันที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ต้องการจะได้สิทธิประโยชน์จากกองทุนฯ ที่จะเพิ่มขึ้นตามระเบียบที่ออกตามมาตรา 52 และมาตรา 53 หลังวันที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ให้ครบถ้วนตามอัตราที่กำหนด (อัตราส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับคนหางานแต่ละคน 1,000 บาท) เช่น สมาชิกกองทุนฯ ที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ในอัตรา 500 บาท จะต้องส่งเงินเพิ่มอีก 500 บาทให้ครบตามอัตราที่กำหนดภายใน 60 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เพื่อให้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ปัจจุบันลูกจ้างที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพราะถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2547 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดังนั้นเพื่อบรรเทาภาระการดำรงชีพของผู้ประกันกันจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงเห็นสมควรปรับเพิ่มให้ผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราที่สูงขึ้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม
2. ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและปรับปรุง พัฒนาเกี่ยวกับขอบข่ายความคุ้มครองประกันสังคม การจัดเก็บเงินสมทบและการพัฒนาสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 17ตุลาคม 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวัน และให้ได้รับครั้งละไม่เกิน 180 วัน เพื่อเสนอคณะกรรมการประกันสังคมพิจารณา
3. ต่อมาในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 18/2567 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง ในอัตราดังกล่าวตามข้อ 2 ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ รง. เห็นชอบการแก้ไขร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
4. รง. จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2567 โดยปรับเพิ่มอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างจากอัตรา “ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างฯ” เป็น “ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะถูกเลิกจ้างฯ” ทั้งนี้ ให้ได้รับครั้งละไม่เกิน 180 วันเช่นเดิม
5. การปรับรับเพิ่มอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ รง. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยประมาณการรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนดังกล่าว ประมาณ 1,035.40 ล้านบาทต่อปี (แต่ละปีจะเพิ่มขึ้นตามร้อยละของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการจ่ายเงินทดแทนคิดจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง) อย่างไรก็ดี จากข้อมูลการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ประกันภัย การปรับเพิ่มเงินทดแทนดังกล่าวจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มจากร้อยละ 0.53 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 0.62 ของค่าจ้าง ซึ่งยังคงน้อยกว่าเงินสมทบที่จัดเก็บ รวมถึงกองทุนประกันสังคมยังสามารถรองรับวิกฤติสถานการณ์ว่างงานสูงกว่าปกติ 4 เท่า เป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี 6 เดือน ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสถานะของกองทุนประกันสังคม
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมีสาระสำคัญ เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารที่มีน้ำหนักรวมในบริเวณหนึ่งบริเวณใดไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตรไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร (เดิมกำหนดให้การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัย และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ก่อนดำเนินการ) เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศโดยในปัจจุบันอาคารที่ไม่ใช่อาคารอยู่อาศัย เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ซึ่งการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวจะส่งผลให้อาคารที่ไม่ใช่อาคารอยู่อาศัยสามารถติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้และไม่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงหากแผงเซลล์แสงอาทิตย์มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เนื่องจากการแก้ไขให้สามารถติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักหรือส่งผลกระทบกับโครงสร้างของหลังคา ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนปฏิบัติที่อาจสร้างภาระเกินความจำเป็นให้แก่เจ้าของอาคาร อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมอาคาร ครั้งที่ 1550 – 5/2567 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 และครั้งที่ 1551 – 6/2567 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบในหลักการโดยกระทรวงพลังงานเห็นว่า ควรมีการกำหนดแนวทางสำหรับการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาให้มีความชัดเจน เพื่อป้องกันการตีความ ที่คลาดเคลื่อน และควรมีมาตรการการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการสร้างมลพิษ สู่สิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีข้อสังเกตว่า ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีการตัดข้อความ “โดยต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัยและแจ้งให้พนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ” ออก จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2558) ฯ ซึ่งความปลอดภัยในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนอาคารเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรให้มีการตรวจสอบความแข็งแรงหรือต้องติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้หรือผ่านการอบรมแล้ว รวมทั้งควรคำนึงถึงการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อาจส่งผลกระทบกับอาคารข้างเคียง เช่น แสงอาทิตย์ ความร้อน เป็นต้น
เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง แนวทางความร่วมมือการจัดทำแคมเปญ Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางความร่วมมือการจัดทำแคมเปญ Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025 รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามแนวทางขับเคลื่อนบูรณาการการท่องเที่ยวภายใต้หัวข้อ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025” และแจ้งผลการดำเนินงานให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. ท.ท.ช. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 [รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เป็นประธาน] ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางความร่วมมือการจัดทำแคมเปญ Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025 โดยมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการตามแนวทางขับเคลื่อนบูรณาการการท่องเที่ยวภายใต้หัวข้อ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025”
2. แนวทางความร่วมมือการจัดทำแคมเปญ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025” มุ่งเน้นการบูรณาการพันธมิตรทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว และเผยแพร่ภาพลักษณ์ สร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยสู่ระดับสากล โดยได้จัดทำแนวทางขับเคลื่อนบูรณาการการท่องเที่ยวภายใต้หัวข้อ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025” แบ่งเป็นด้านต่าง ๆ จำนวน 11 ด้านโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ด้าน |
แนวทางบูรณาการ |
หน่วยงานรับผิดชอบ |
สายการบิน |
- จัดทำมาตรการสนับสนุนสายการบิน โดยควรมีมาตรการให้ incentive ผ่านค่าธรรมเนียมและค่าบริการเพื่อสนับสนุนสายการบินในประเทศ - เพิ่มเที่ยวบินและกำหนดราคาบัตรโดยสารที่เหมาะสม - เพิ่มจำนวนเที่ยวบินในช่วงวันหยุดและเทศกาลให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว - พัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละสายการบิน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการให้บริการนักท่องเที่ยวทั่วไป โดยใช้วิธีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ API (Application Programming Interface) - ผลักดันสายการบินที่ได้รับโควตา (Slot) เที่ยวบินไว้แล้ว - ขยาย Slot ไปยังเมืองน่าเที่ยว เพื่อลดความแออัดใน |
- กก. - กระทรวงคมนาคม (คค.) - กระทรวงการคลัง (กค.) - สายการบิน
|
โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร บริษัททัวร์
|
- บูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อโปรโมท Hotel Chain Promotion และยกระดับมาตรฐานโรงแรมในประเทศ - เพิ่มการเข้าถึงโรงแรมรายย่อย โดยการร่วมมือกับ Travel Agent และ Travel Platform ต่าง ๆ - ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐานโรงแรม รีสอร์ทและโฮมสเตย์ ได้แก่ มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง (Home Lodge) และมาตรฐาน |
- กก. - สมาคมโรงแรมไทย
|
ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า
|
- มอบส่วนลด สิทธิพิเศษ และของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย และเพื่อกระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ - พัฒนาแพลตฟอร์มสังคมไร้เงินสด เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมทางการเงิน - ติดตั้งเครื่องคืนภาษีอัตโนมัติ และจัดทำระบบให้สามารถคืนภาษีได้หลายอัตราสกุลเงิน |
- กค. - กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) - ห้างสรรพสินค้า
|
OTAs (Online Travel Agency) Agency Tour
|
- ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นล่วงหน้าและจัดเตรียมสิทธิพิเศษที่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือจัดสรรให้ทั่วถึง - จัดทำโปรโมชั่นผ่าน OTA ในรูปแบบแพ็คเกจให้ครอบคลุมทั้งเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว - ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ |
- กก. - กค. - OTA - สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว
|
ระบบ ขนส่งมวลชนสาธารณะ
|
- พัฒนา Mode of Transportation (รูปแบบการเดินทาง) และการเชื่อมโยงเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเมืองน่าเที่ยว โดยมีรูปแบบที่หลากหลายและตอบโจทย์นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เช่น การขนส่งทางบก ทางอากาศ ทางเรือ และทางราง - จัดทำบัตร Amazing Pass 1 day Bangkok |
- คค.
|
ความปลอดภัย
|
- พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อการเป็นเจ้าบ้านที่ดี - จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (Tourist Assistance Center: TAC) ในการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้ครอบคลุม 77 จังหวัด - บูรณาการความร่วมมือในการให้บริการ 1155 Call center เป็น one - Stop service ให้บริการ 24 ชั่วโมง และจัดหาล่ามแปลภาษาต่างประเทศมาปฏิบัติงานเพิ่มเติม |
- กก. - กระทรวงมหาดไทย (มท.) - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว)
|
การตรวจลงตรา (Visa)
|
- ขยายเวลา Visa Exemption ให้แก่นักท่องเที่ยว - เปิดตัวโปรแกรม Visa พิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจจากต่างประเทศ เช่น Visa ท่องเที่ยวที่มีระยะเวลานานขึ้นหรือการลดค่าใช้จ่ายในการขอวีซ่าหรือการยื่นขอ Visa ผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวกยิ่งขึ้น |
- กก. - กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) - สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
|
Event
|
- จัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์ในพื้นที่เมืองน่าเที่ยว - ผลักดันให้เกิด event ในระดับสากลที่มากขึ้น - ส่งเสริมให้นักลงทุนเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทางองค์ประกอบในด้านต่าง ๆ ทั้งสถานที่จัดงาน ห้องประชุม สถานบันเทิงและโรงแรม - หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมจัดงานขนาดใหญ่เพื่อประเมินสถานการณ์และเตรียมความพร้อม รวมทั้งปรับปรุงการให้บริการขนส่งสาธารณะให้สะดวกและเพิ่มความถี่ของการให้บริการและการใช้บริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่รวมถึงการบริการรถสาธารณะในราคาเป็นธรรม
|
- กก. - คค. - กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) - สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) - สสปน.
|
แหล่งท่องเที่ยว
|
- จัดกิจกรรมงาน Night at The Museum ในพิพิธภัณฑ์ วัดและโบราณสถานในยามค่ำคืน - ขยายเวลาเปิด - ปิด แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นตามความเหมาะสม |
- วธ. - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
|
ประชาสัมพันธ์
|
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และช่องทาง ดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อกระจายข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ |
- กก. - กรมประชาสัมพันธ์
|
อื่น ๆ
|
- พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส อิตาเลียน สเปน รัสเซีย อารบิค จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ - ขอความร่วมมือค่ายโทรศัพท์มือถือ ในการให้บริการซิมการ์ดสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย Tourism Sim เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการเดินทางตลอดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย |
- กก. - กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) - กสทช.
|
3. การจัดทำแคมเปญ Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025 จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกผ่านกิจกรรมและเทศกาลระดับโลกกว่า 39 ล้านคน และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว กีฬา การพัฒนาทักษะ และภาพลักษณ์ของประเทศในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมการเติบโตในหลายภาคส่วนของประเทศไทยด้วย
6. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,049.69 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,049.69 ล้านบาท ประกอบด้วยกรมทางหลวง จำนวน 1,619.90 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน 429.79 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 17 จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กระทรวงคมนาคม (คค.) แจ้งว่า เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในช่วงเดือนพฤษภาคม -ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท ได้รับความเสียหายและสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจึงขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ ซึ่งสำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่านายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ คค. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 2,049.69 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติในพื้นที่รวม 17 จังหวัด (จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย เลย ภูเก็ต ยะลา พิษณุโลก อุดรธานี หนองคาย และกาญจนบุรี) โดยเบิกจ่ายในงบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายละเอียดงบประมาณสรุปได้ ดังนี้
รายการ |
วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท) |
(1) กรมทางหลวงขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น |
1,619.90 |
(2) กรมทางหลวงชนบทขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและ |
429.79 |
รวม |
2,049.69 |
1 จังหวัดที่ยังไม่ได้รับจัดสรรในครั้งนี้ ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา ตราด และกาญจนบุรี โดยจะกันเงินเหลือจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มาใช้แทน
2 จังหวัดที่ยังไม่ได้รับจัดสรรในครั้งนี้ ได้แก่ อุทัยธานี ลำพูน มหาสารคาม ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และยะลา โดยจะกันเงินเหลือจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มาใช้แทน
7. เรื่อง สรุปผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และแจ้งให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงคมนาคมได้เสนอสรุปผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการฯ สภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุปได้ ดังนี้
1. ด้านการศึกษา เช่น ได้มีการศึกษาความเป็นได้ของปริมาณตู้สินค้าที่จะผ่านโครงการดังกล่าว สำรวจออกแบบ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อคาดการณ์ปริมาณสินค้า โดยจัดทำแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทั้งกรณีไม่มีโครงการและมีโครงการ พบว่า ในปี พ.ศ. 2573 จะมีปริมาณสินค้าส่งผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่สายนี้ 1.34 แสน TEU/ปี และเพิ่มเป็น 2.62 ล้าน TEU/ปี ในปี พ.ศ. 2602
2. ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และเวนคืนที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรอยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง กรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชุมพร - ระนอง และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2568 เพื่อศึกษารายละเอียดของทางรถไฟ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้มีการบูรณาการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้ง 3 หน่วยงานต่อไป
3. ด้านการขับเคลื่อนโครงการ เช่น ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีถึงจังหวัดสงขลาคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติเห็นชอบในการขออนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 และการขยายเส้นทางไปถึงด่านปาดังเบซาร์ คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบในการขออนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างเตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
4. ด้านความมั่นคง ได้มีการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยมีการประเมินความเสี่ยง ผลกระทบ และเตรียมความพร้อมในมิติความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ประกอบด้วยประเด็นทางกฎหมาย ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาชญากรรมข้ามชาติ ภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ และการส่งเสริมขีดความสามารถด้านสมุทราภิบาล
5. ด้านกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การนำพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาเป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากมีบริบทที่แตกต่างกัน จึงควรนำปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย
6. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่ข้อมูลของโครงการดังกล่าวให้เกิดการรับรู้และเกิดความเข้าใจที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
7. ด้านเศรษฐกิจ ได้มีการคาดการณ์ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และจะเป็นส่วนช่วยให้ GDP ของประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
8. ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการเวนคืน และอื่น ๆ ได้ดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ SEA เสร็จแล้วเมื่อปี 2559 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าหากมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ในพื้นที่นำเสนอที่เป็นมรดกโลกและพื้นที่กันชน จะต้องจัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี หากมีการศึกษาแล้วว่าโครงการมีความคุ้มค่าและเหมาะสมต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งมีแผนที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนมาเหมือนเดิม ขอให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย ตลอดจนนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (24 กันยายน 2567) เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติของสภาผู้แทนราษฎรว่า เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับผลการพิจารณาจากหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำญัตติดังกล่าว พร้อมผลการพิจารณาของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
8. เรื่อง ผลการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
สาระสำคัญของเรื่องนี้
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เสนอผลการพิจารณา ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณา ข้อสังเกตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การสนับสนุนให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดโครงสร้างองค์กร มอบหมายผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของประชาชน และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 1,713,500 บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมคัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะแรกได้มีการจัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์สำนักงานและมอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนการทำงานของสภาที่ปรึกษาไว้บางส่วนและหากแต่งตั้งสภาที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วมีแผนที่จะของบประมาณเพื่อสนับสนุนการทำงานของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป 2) การพิจารณาเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นว่า โดยที่มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มาจากผู้แทนกลุ่มต่าง ๆ โดยกำหนดสัดส่วนผู้แทนแต่ละกลุ่มที่เป็นองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาไว้ชัดเจนแล้วและหากยังขาดผู้แทนภาคส่วนใดก็จะเสนอแต่งตั้งผู้แทนกลุ่มดังกล่าวเพื่อให้สภาที่ปรึกษามีสัดส่วน ที่เหมาะสมระหว่างเพศชาย เพศหญิง และเยาวชน 3) การเร่งรัดจัดทำระเบียบที่จำเป็นและสำคัญ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีระเบียบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ.2554 โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการประชุมซึ่งระเบียบดังกล่าว ยังมีผลใช้บังคับและสามารถรองรับการปฏิบัติงานของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 4) การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และจะนำความเห็นของคณะกรรมาธิการมาประกอบในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวในโอกาสต่อไป และ 5) การสนับสนุนให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนดให้มีผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกระดับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายแต่อย่างใด และปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยแล้ว
ทั้งนี้ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (24 กันยายน 2567) เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาว่า เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับผลการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการฯ จากหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำผลการพิจารณาของ ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
9. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม และ 3 เดือนแรกของปี 2568
คณะรัฐมนตรีรับทราบ เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม และ 3 เดือนแรกของปี 2568
การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (988,362 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 17.8 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 การส่งออกของไทยได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการเร่ง ตัวด้านการผลิต สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่าการค้ารวม 58,123.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.8 การนำเข้า มีมูลค่า 28,575.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 973.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 3 เดือนแรกของปี 2568 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 161,983.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.2 การส่งออก มีมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 การนำเข้า มีมูลค่า 80,451.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.4 ดุลการค้า 3 เดือนแรก ของปี 2568 เกินดุล 1,081.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่าการค้ารวม 1,955,970 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ 6.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 988,362 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.3 การนำเข้ามีมูลค่า 967,608 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.2 ดุลการค้า เกินดุล 20,755 ล้านบาท ภาพรวม การส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 5,511,793 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.7 การส่งออก มีมูลค่า 2,757,249 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.5 การนำเข้า มีมูลค่า 2,754,544 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1 ดุลการค้า เกินดุล 2,705 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.1 (YoY) กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 0.5 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน และสินค้า อุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 5.7 กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 19.5 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น บราซิล อินเดีย และเยอรมนี) ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.1 (ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และไอร์แลนด์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 12.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.1 (ขยายตัวในตลาดจีน เมียนมา กัมพูชา ลาวและออสเตรเลีย) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ขยายตัวร้อยละ 12.5 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และเวียดนาม) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 16.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นออสเตรเลีย และแคนาดา) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 23.4 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และปาปัวนิวกินี แต่ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง และแคเมอรูน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 15.1 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย ลาว อินเดีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 4.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ เกาหลีใต้ และ กัมพูชา) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 27.7 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว จีน และ ไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ แทนซาเนีย ปาปัวนิวกินี ฮ่องกง และญี่ปุ่น) และไขมันและนำมันจากพืชและ สัตว์ หดตัวร้อยละ 38.2 (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เมียนมา จีน กัมพูชา และญี่ปุ่น) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.2
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 23.5 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 80.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี มาเลเซีย และไต้หวัน) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.6 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอฟริกาใต้) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว ร้อยละ 17.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีได้ และอินเดีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 69.8 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย ฮ่องกง สหรัฐฯ สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 41.5 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไต้หวัน) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ไต้หวัน และสาธารณรัฐเช็ก) ขณะที่ สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 31.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเม็กซิโก) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.0 (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดอาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และกัมพูชา) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 19.4
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว จากการเร่งนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการประกาศภาษีของสหรัฐฯ ที่จะมีผลเดือนเมษายน (ระงับชั่วคราว 90 วัน) โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากความต้องการนำเข้า เพื่อลดต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีนำเข้า ขณะที่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน เร่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.3 โดย ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 34.3 จีน ร้อยละ 22.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.5 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.0 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.2 และ CLMV ร้อยละ 10.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 9.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.1 แอฟริกา ร้อยละ 3.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 11.5 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 59.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4 และ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัว ร้อยละ 232.6
2.แนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกของไทยเผชิญกับความท้าทายสำคัญ จากการใช้มาตรการปรับขึ้นภาษีอย่างถ้วนหน้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของนานาประเทศ สร้างความวิตกกังวลต่อภาพรวมการค้าโลก อันอาจนำไปสู่การชะลอตัวทั้งในด้านการค้าและการลงทุน อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อรับมือกับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงนี้ โดยเตรียมความพร้อมด้านการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ เพื่อลดทอนผลกระทบทางภาษี แสวงหาโอกาสจากวิกฤต โดยการผลักดันสินค้าศักยภาพเข้าไปทดแทนในตลาดสหรัฐฯ และสร้างความร่วมมือทางการค้าเพื่อกระจายตลาดให้มากขึ้น พร้อมประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน และผู้ส่งออกไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความเข้าใจ พัฒนามาตรการเยียวยา และกำหนดแนวทางการรับมือกับสภาวะการค้าที่ทวีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต
10. เรื่อง ขอความเห็นชอบกำหนดให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กำหนดให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า “สุขภาพจิตที่ดีหมายถึง ภาวะที่บุคคลสามารถรับรู้ศักยภาพของตนเอง จัดการกับความเครียดในชีวิต ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ มีส่วนร่วมในสังคม” แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพจิตที่ไม่เพียงมีผลต่อตนเอง แต่ยังมีผลต่อคนรอบข้างและส่งผลต่อสังคมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ที่ประสบปัญหาความผิดปกติทางจิตหรือการติดสารเสพติด ทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความพิการ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยปัญหาสุขภาพจิตกำลังเพิ่มขึ้นในทุกระดับของสังคม สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้น
สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยปัจจุบันเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่าการประเมินผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check In (1 ม.ค. 2563 -
20 ก.พ. 2568) จากจำนวน 6,154,474 ราย พบความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 9.14 (562,289 คน) เสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 5.18 (318,917 คน) และความเครียดสูงร้อยละ 7.87 (484,313 คน) โดยกลุ่มอายุ 20 - 29 ปี มีความเสี่ยงสูงสุด ในส่วนสถานการณ์ปัญหาจิตเวชสำคัญ พบว่าผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 5 แสนคน (ข้อมูล Health Data Center (HDC) เดือนพฤศจิกายน 2567) ในขณะที่ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย (2567) พบคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,217 คน หรือเท่ากับ 8.02 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 15 คน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (มบ.1กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, 2567) และคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 33,926 คน หรือเท่ากับ 52.07 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 93 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และจากศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย (2567) คาดการณ์ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,357,562 คน อีกด้วย
นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั้งผลกระทบทางตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษา ค่าเดินทางพบแพทย์ ผลกระทบทางอ้อม เช่น การสูญเสียรายได้และผลิตภาพแรงงานจากการขาดงานหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม การลดกำลังแรงงานย่อมส่งผลให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง จากการศึกษาโดย Arias et al. (2022) ประมาณการจำนวนปีสุขภาวะที่สูญเสียไป (Disability adjusted life years: DALYs) จากโรคจิตเวช ในปี พ.ศ. 2562 พบประชากรทั่วโลกมีการสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคจิตเวช ประมาณ 418 ล้านปี หรือคิดเป็น 16% ของปีสุขภาวะที่สูญเสียไป (DALYs) จากภาระโรคทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าโรคจิตเวชส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรโลกอย่างรุนแรง โดยคิดเป็น 1 ใน 6 ของภาระโรค ทั้งหมดซึ่งสูงกว่าการประมาณการแบบเดิมถึง 3 เท่า และมีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากภาระโรคจิตเวชอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 169 ล้านล้านบาท โดยประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) มีการสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคจิตเวช ประมาณ 32 ล้านปีหรือคิดเป็น 10.7% ของปีสุขภาวะ ที่สูญเสียไป (DALYs) จากภาระโรคทั้งหมด และการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคจิตเวชคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยในปี 2568 จะมีมูลค่าประมาณ 19,284.9 พันล้านบาท ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคจิตเวชคิดเป็นประมาณ 964 พันล้านบาท ดังนั้น การลงทุนส่งเสริมสุขภาพใจให้เกิดขึ้นในระดับชาติ จึงไม่ใช่แค่เรื่องของสุขภาพ แต่เป็นการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ที่ช่วยลดต้นทุนระยะยาวและสร้างสังคมที่มีศักยภาพ
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิตตระหนักดีว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชาชนในวงกว้าง การจัดการปัญหานี้ไม่สามารถดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียวได้เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ดังนั้น การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม
2. จากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต โดยอาศัยการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม กรมสุขภาพจิตได้จัดการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ณ ทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ดร.ธีราภา ไพโรหกุล) มอบหมายให้ทบทวนการจัด “Mental Health Awareness Week” ในวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2568 และจากการประชุมทบทวนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 กรมสุขภาพจิตจึงได้เสนอแนวคิดเดือนแห่งสุขภาพใจ หรือ Mind Month ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2568 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล เช่น “Mental Health Awareness Month” ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบางประเทศในยุโรป
3. ด้วยสถานการณ์ของประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรงขึ้นปัญหาสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และกำลังเพิ่มขึ้นในทุกระดับของสังคม ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ตระหนักดีว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชาชนในวงกว้าง การจัดการปัญหานี้ไม่สามารถดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียวได้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ดังนั้นการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยการประกาศให้เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) เป็นมติคณะรัฐมนตรี จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความชัดเจน ด้านนโยบายและกำหนดกรอบการดำเนินงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนในประเทศ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิตเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งเห็นชอบให้นำเรื่องขอความเห็นชอบกำหนดให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของมาตรการที่เสนอ
4.1 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาและเห็นชอบในการประกาศให้เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) อย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความสำคัญ ผ่านการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต โดยมุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจ และลดการตีตราที่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีพร้อมทั้งเข้าใจ และสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต
4.2 เพื่อเปิดพื้นที่ความร่วมมืออย่างเป็นระบบระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน ในการรณรงค์ลดการตีตรา (Stigma) สร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต (How to seek help) และสนับสนุนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) ให้สามารถวางแผนดำเนินกิจกรรมร่วมกับกรมสุขภาพจิตได้อย่างมีทิศทางเดียวกัน และยังเอื้อต่อการขอความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่ ในการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองบริบทของตน โดยมีจุดร่วมเดียวกัน คือ “สุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพใจของประชาชนอย่างยั่งยืน
4.3 เพื่อยกระดับการรับรู้ของประชาชนไทยต่อประเด็นสุขภาพจิตให้เป็นวาระ แห่งชาติที่ได้รับความสำคัญเทียบเท่ากับสุขภาพกาย สร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ประชาชนทุกคนสามารถดูแลใจของตนเองและผู้อื่นได้ในชีวิตประจำวัน
5. บทบาทของเครือข่ายในการขับเคลื่อนกิจกรรม Mind Month ตามประเด็นเป้าหมายเพื่อให้การประกาศเดือนแห่งสุขภาพใจ (Mind Month) เป็นกลไกระดับชาติในการบูรณาการความร่วมมือ
ทุกภาคส่วน กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาและดำเนินโครงการร่วมกับเครือข่ายใน ประเด็นหลัก ดังนี้
5.1 การลดการตีตรา (Stigma) ทางสุขภาพจิตช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการและการเปิดเผยปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน
ตัวอย่างโครงการที่จะขับเคลื่อนร่วมกับภาคเครือข่าย อาทิ
(1) โครงการชุมชนล้อมรักษ์ (Community Based Treatment and Care : CBTx) โครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในชุมชนสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบูรณาการแนวทางการดูแลแบบองค์รวม โดยใช้กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ 740 อำเภอจาก 878 อำเภอทั่วประเทศ มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดสะสมแล้ว 11,316 ราย และเกิด ต้นแบบการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
(2) Policy Watch: Gentle Society สังคมไทยไร้ความรุนแรง เป็นกิจกรรมที่มุ่งติดตามและประเมินนโยบายของภาครัฐในการลดความรุนแรงในสังคม เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การกลั่นแกล้งในโรงเรียน และการรังแกทางออนไลน์ ผ่านเวทีเสวนาเชิงนโยบาย การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัย และองค์กรภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิเพื่อเด็กและสตรี เครือข่ายชุมชนล้อมรักษ์
บทบาท หน่วยงานเหล่านี้มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเชิงนโยบายส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรม และดำเนินกิจกรรมในระดับพื้นที่ รวมถึงให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้และการประเมินผลลัพธ์เชิงสังคม
สิ่งที่กรมสุขภาพจิตต้องการการสนับสนุน งบประมาณและกำลังคนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายการใช้ช่องทางสื่อของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการเผยแพร่แนวคิดลดการตีตราและการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมกับชุมชน
5.2 การสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง ช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพจิตตั้งแต่เริ่มต้น
ตัวอย่างโครงการที่จะขับเคลื่อนร่วมกับภาคเครือข่าย อาทิ
(1) แอพพลิเคชั่น DMIND (Detection and Monitoring Intelligence Network for Depression) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถประเมินสุขภาพจิตของตนเองเบื้องต้นได้ ผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่วิเคราะห์ใบหน้าและน้ำเสียง ซึ่งแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 4 ระดับและกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเฉพาะรายได้อย่างเหมาะสม พร้อมระบบติดตามกลุ่มเสี่ยงรุนแรงภายใน 24 ชั่วโมง และเชื่อมต่อกับทีมปฏิบัติการช่วยชีวิต HOPE Task Force
(2) วัดใจ.com เป็น Web Application สำหรับประเมินสุขภาพจิตออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินสุขภาพจิตของตนเองหรือผู้อื่นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ
ทันสถานการณ์ โดยประเมินจาก 5 มิติ ได้แก่ ความเข้มแข็งทางใจ ความเครียด ภาวะหมดไฟ ซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตาย พร้อมระบบแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวและช่องทางการขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญออนไลน์ทันที โดยมีผู้ใช้แล้วมากกว่า 6 ล้านคน
(3) สุขภาพจิต.com พัฒนาเป็นช่องทางกลางของประเทศในการให้ความรู้สุขภาพจิตที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันสมัย โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลเครื่องมือ สื่อสร้างสรรค์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตสำหรับประชาชน
(4) อาสาสมัครสาธารณสุขสุขภาพจิต (อสม.) เป็นกลไกภาคประชาชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลทางใจ และสามารถช่วยดูแลสุขภาพจิตในชุมชนอย่างใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายอบรมไม่น้อยกว่า 15,000 คนภายในปี 2568
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ (วัยเรียน) กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วัยเรียน) กระทรวงแรงงาน (วัยทำงาน) กระทรวงมหาดไทย (ชุมชน)กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (วัยสูงอายุ) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
บทบาท พัฒนาเครื่องมือสุขภาพจิต ประชาสัมพันธ์ข้อมูล และใช้งานเครื่องมือในองค์กร พร้อมสนับสนุนการประเมินผลสุขภาพจิตกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ นักเรียน พนักงานบริษัท
สิ่งที่กรมสุขภาพจิตต้องการการสนับสนุน การเชิญชวนให้องค์กรเอกชนและรัฐใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ในพื้นที่ของตน การให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี วิชาการ และช่องทางสื่อสาร กับประชาชน
5.3 การเข้าถึงบริการสุขภาพจิต (How to seek help) ช่วยให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงการสูญเสียชีวิตหรือผลกระทบทางสังคมอื่น ๆ
ตัวอย่างโครงการที่จะขับเคลื่อนร่วมกับภาคเครือข่าย อาทิ
(1) School Health HERO เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและครอบคลุมกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ระบบออนไลน์เพื่อประเมินสุขภาพจิตและติดตามช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยงในด้านพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะทางสังคม โดยมีนักเรียนเข้าระบบแล้วกว่า 1.3 ล้านคน
(2) ต่อเติมใจ เป็นเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการดูแลสุขภาพจิตด้วยตนเองเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลใจของตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนพร้อมเส้นทางช่วยเหลือสำหรับกลุ่มเสี่ยงผ่านระบบผู้ช่วยออนไลน์ (E-Helper) และส่งต่อกรณีเสี่ยงสูง
(3) สายด่วนสุขภาพจิต 1323 เป็นบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตฟรีตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่ โทรศัพท์ เว็บไซต์ ระบบนัดออนไลน์ เพจ Facebook และ DMIND Application เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต ได้สะดวกและทันต่อความต้องการโดยเฉพาะในภาวะวิกฤต มีระบบ AI ช่วยประเมินความเร่งด่วน และเชื่อมต่อทีม HOPE TASK FORCE โดยมีปริมาณผู้ขอรับบริการรวมกว่า 2.7 ล้านสาย ในช่วงปี 2563 – 2567
(4) ศูนย์ให้การปรึกษาสุขภาพจิต ดำเนินการในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ เพื่อให้การปรึกษาที่ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา ทั้งแบบ onsite และ online
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กรมประชาสัมพันธ์ องค์กรสื่อ องค์กรเอกชน และมหาวิทยาลัย
บทบาท ประชาสัมพันธ์แนวทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้บริการสุขภาพจิตระดับปฐมภูมิ สนับสนุนเครื่องมือและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีตลอดจนให้ทุนสนับสนุนและการเชื่อมโยงระบบการดูแลผู้ป่วย
สิ่งที่กรมสุขภาพจิตต้องการการสนับสนุน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญโดยเฉพาะเยาวชน งบประมาณเพื่อขยายการจัดบริการด้านสุขภาพจิต การจัดสรรบุคลากรเพิ่มเติมและการเชื่อมโยงบริการสุขภาพจิตเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพทั่วไปในทุกพื้นที่
5.4 การสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถพูดคุย ปรึกษา และได้รับความช่วยเหลือในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร เปิดกว้าง และปลอดภัยมากขึ้น
ตัวอย่างโครงการที่จะขับเคลื่อนร่วมกับภาคเครือข่าย อาทิ
(1) Holistic Health Advisor พัฒนาเจ้าหน้าที่ในสถานประกอบการให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาสุขภาพแบบองค์รวม โดยครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ และการเงินเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางใจในสถานประกอบการอย่างยั่งยืน ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
(2) Thai Triple-P เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผ่านการสร้างวินัยเชิงบวกและพัฒนาทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและการสนับสนุนจากชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยสนับสนุนการเลี้ยงดูที่สร้างเสริมความมั่นใจ การควบคุมตนเอง และความรับผิดชอบของเด็ก พร้อมทั้งขยายผลสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ (วัยเรียน) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วัยเรียน) กระทรวงแรงงาน (วัยทำงาน) กระทรวงมหาดไทย (ชุมชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (วัยสูงอายุ) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถานประกอบการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโครงการพระราชดำริฯ ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น
บทบาท สร้างระบบสนับสนุนทางใจเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว องค์กรและสถานศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาแกนนำในพื้นที่
สิ่งที่กรมสุขภาพจิตต้องการการสนับสนุน การให้ความร่วมมือในการอบรม พ่อแม่ ครู เจ้าหน้าที่ในสถานประกอบการ รวมทั้งเพิ่มการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร เปิดกว้าง และปลอดภัยในระดับครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษา
ประโยชน์และผลกระทบ
1) การลดการตีตรา (Stigma) ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการและการเปิดเผยปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน
2) การเพิ่มความตระหนักรู้ (Awareness) จะทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้างมากขึ้น ช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพจิตตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ดีขึ้น
3) การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต (How to seek help) จะช่วยให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4) การสร้างสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการพูดคุย ปรึกษา (Safe space) รับฟังปัญหาสุขภาพจิตอย่างไม่ถูกตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ ช่วยให้ผู้คนรู้สึกมั่นใจ ปลอดภัยและกล้าเปิดเผยปัญหาทางใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการฟื้นฟูและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน
ต่างประเทศ
11. เรื่อง การขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรี ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 7 (7th APEC Human Resources Development Ministerial Meeting: HRDMM)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 7 (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) (7th APEC Human Resources Development Ministerial Meeting: HRDMM) (การประชุม HRDDMM) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ รง. ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทย (ไทย) ได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงแรงงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค ครั้งที่ 7 (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) (7th APEC Human Resources Development Ministerial Meeting: HRDMM) (การประชุม HRDMMM) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ โดยการประชุม HRDMM ครั้งที่ 7 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2568 ณ เกาะเชจู สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพและมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้าร่วมการประชุม โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ในหัวข้อ “ตลาดแรงงานที่ยั่งยืนและงานแห่งอนาคต” เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นการปรับโครงสร้างตลาดแรงงาน การคุ้มครองแรงงานกลุ่มเปราะบาง และการเตรียมความพร้อมสำหรับงานในอนาคตผ่านนโยบายตลาดแรงงานเชิงรุก ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวจะมีการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2568 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมตลาดแรงงานที่มีความยืดหยุ่น ครอบคลุม และพร้อมรับมือ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับแรงงานยุคใหม่ โดยมีประเด็นการหารือ 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่นและมีพลวัต เช่น ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่น แก้ไขความเหลื่อมล้ำในตลาดแรงงาน และ (2) การตอบสนองต่องานในอนาคตผ่านนโยบายตลาดแรงงานเชิงรุก เช่น ปรับระบบอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมและนายจ้าง จัดให้มีบริการจัดหางานที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงได้ โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) เห็นว่า (1) ไม่ขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และ (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ไม่มีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับไม่มีการลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและโดยที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย จึงเข้าข่ายลักษณะเรื่องที่ให้เสนอคณะรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ
ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคในการพัฒนานโยบายแรงงานที่ยืดหยุ่น ครอบคลุมและทันสมัย ซึ่งสามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการจ้างงาน การเพิ่มทักษะแรงงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และการลดความเหลื่อมล้ำในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการส่งเสริมโอกาสให้กับกลุ่มแรงงานเปราะบาง ทั้งนี้ ยังสร้างแนวทางให้ภาครัฐสามารถออกแบบนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการพัฒนาทักษะเพื่อรองรับเศรษฐกิจสีเขียวในอนาคต
12. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ฉบับ 1) ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 2) ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคที่สนับสนุนแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนเพื่อการพัฒนา โดยหากมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติม ปรับปรุง และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนได้รับมอบหมายร่วมรับรองแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 และเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ เช่น (1) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 และเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในปีต่างๆ (2) ความสำคัญของระบบการค้าพหุภาคีภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และการเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรี WTO สมัยสามัญ ครั้งที่ 14 (3) เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกตามถ้อยแถลงอิชมา (4) การทบทวนการดำเนินการตามแผนที่นำทางอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค (5) บทบาทของปัญญาประดิษฐ์เพื่อการค้า (6) ความสำคัญของการนำพิมพ์เขียวความเชื่อมโยงของเอเปคไปปฏิบัติ (7) การส่งเสริมขีดความสามารถภาคบริการของเอเปค (8) การมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ
2 ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคที่สนับสนุนแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการลงทุนเพื่อการพัฒนา มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ (1) การเน้นย้ำบทบาทของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ (2) การสนับสนุนให้สมาชิก WTO หาข้อยุติในการแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเข้าไว้ในกรอบกฎหมายของ WTO และ (3) การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดสามารถปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว รวมถึงให้สมาชิก WTO อื่นพิจารณาเข้าร่วมแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมากขึ้น
ประโยชน์และผลกระทบ
ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2568 และเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวถือเป็นผลลัพธ์สำคัญของการประชุม ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณถึงความร่วมมือทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย -แปซิฟิก ในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืน ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย นอกจากนี้ จะเป็นการส่งเสริมบทบาทร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2568 และเอกสารที่เกี่ยวข้องจะได้รับ การรับรองโดยไม่มีการลงนาม และไม่มีข้อกำหนดให้มีการดำเนินการโดยใช้งบประมาณแต่อย่างใด
13. เรื่อง ร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for
Sustainability Framework)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำของเอกสารดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการให้ความเห็นชอบหรือรับรองเอกสารดังกล่าวให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย มีหนังสือไปยังกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมมาเลเซีย เพื่อแจ้งเห็นชอบร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework)
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีหนังสือไปยังกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมมาเลเซีย เพื่อแจ้งเห็นชอบร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework)
4. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน(ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 46 ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 ณ มาเลเซีย
สาระสำคัญ
ร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework) มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรม วัฒนธรรมสร้างสรรค์ในอาเซียนอย่างยังยืนและครอบคลุม เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานร่วมกัน โดยในการพัฒนาร่างเอกสารดังกล่าว ได้มีการดำเนินการผ่านกระบวนการพิจารณาและหารือเป็นการภายในของหน่วยงานภายใต้สำนักเลขาธิการอาเซียน และองค์กรเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
ทั้งนี้ ร่างกรอบความยั่งยืนฯ ประกอบด้วย หลักการชี้นำ 10 ประการ ผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ 5 ประการ และประเด็นสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ 13 ด้าน เพื่อดำเนินการในลักษณะเป็นความร่วมมือ การประสานงาน และการมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นแนวทางแบบ “ทั้งอาเซียน (Whole-of-ASEAN)” การจัดตั้งแพลตฟอร์มเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน และการทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน โดยใช้แนวทางการทำงานแบบ “ทั้งภาครัฐ (whole-of-government approach)” และการแก้ปัญหาเชิงประเด็น (Issue-based approach) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติปีที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์และผลกระทบ
ร่างกรอบความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียน (ASEAN Creative Economy for Sustainability Framework) แสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาอุตสาหกรรม วัฒนธรรมสร้างสรรค์ในอาเซียนอย่างยั่งยืนและครอบคลุม โดยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทย รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาภายใต้บริบทความท้าทายในปัจจุบันของภูมิภาคอาเซียน
14. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับ (1) ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน ว่าด้วยความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สื่อและสารนิเทศ (2) ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์
ว่าด้วยการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบสำหรับอาเซียน (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม ครั้งที่ 8
2. ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของประเทศไทยเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว ในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่
4-9 พฤษภาคม 2568 ณ บรูไนดารุสซาลาม อย่างเป็นทางการ
3. หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างปฏิญญาดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน ว่าด้วยความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สื่อและสารนิเทศ เป็นเอกสารสำคัญเพื่อแสดงจุดยืนของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนที่มุ่งมั่นในการพัฒนาสื่อและสารสนเทศ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เพื่อการพัฒนาอาเซียนที่ยืดหยุ่นและครอบคลุม พร้อมรับมือความท้าทายระดับโลก
2. ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบสำหรับอาเซียน เป็นเอกสารสำคัญเพื่อแสดงจุดยืนของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ เพื่อลดความเสี่ยงจากข่าวปลอม การบิดเบือนข้อมูล การใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง และการล่อลวงทางออนไลน์ รวมถึงการปกป้องกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และชุมชนที่ขาดโอกาส
3. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม ครั้งที่ 8 เป็นเอกสารแสดงจุดยืนร่วมกันของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบทบาทของสื่อเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจอันดีระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินอยู่
4. ร่างเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 3 ฉบับดังกล่าว ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีที่ผูกพันทางกฎหมายจึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ
15. เรื่อง ผลการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 69 ณ นครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women-CSW 69) (การประชุม CSW 69) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
สาระสำคัญ
พม. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เข้าร่วมการประชุม CSW 69 ระหว่างวันที่ 10-21 มีนาคม 2568 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีนายอับดุลอะซีซ เอ็ม อัลวาซิล (Mr. Abdulaziz M. Alwasil) เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำสหประชาชาติเป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนรัฐบาล จำนวน 189 ประเทศ องค์กรระหว่างประเทศองค์กรไม่แสวงหากำไร นักวิชาการ กลุ่มเยาวชน และภาคประชาสังคม สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. หัวข้อหลักและประเด็นสำคัญ การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อหลัก ได้แก่
(1) การทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานตามปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ รวมถึงผลลัพธ์จากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยพิเศษ สมัยที่ 23 และ (2) การรับรองปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ โดยให้แต่ละประเทศดำเนินการใน 12 ประเด็น ได้แก่ ความยากจน การศึกษาและการฝึกอบรม สุขภาพ ความรุนแรง ความขัดแย้งทางอาวุธ เศรษฐกิจอำนาจและการตัดสินใจ กลไกเชิงสถาบัน สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน สิ่งแวดล้อม และเด็กหญิงสำหรับประเด็นการประชุมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการทบทวนและประเมินปัญหาท้าทายในปัจจุบัน ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความก้าวหน้าในการบรรลุความเสมอภาคทางเพศและการเสริมพลังสตรี รวมถึงพิจารณาบทบาทของแผนปฏิบัติการในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 โดยประเด็นที่เน้นย้ำ ได้แก่ ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสตรีและเด็กหญิง การมีส่วนร่วมของสตรีในกระบวนการตัดสินใจ การส่งเสริมผู้นำของเยาวชน โดยประเทศต่าง ๆ ได้กล่าวถ้อยแถลงนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของสตรีในทุกมิติ
2. การร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม คือ ปฏิญญาทางการเมือง เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ 4 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 มีนาคม 2568) ให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว] โดยฉันทามติ และไม่มีการลงนาม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง มีสาระสำคัญ คือ การยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐในการปฏิบัติตามปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรีในการส่งเสริม สิทธิสตรีและการจัดการกับความท้าทายและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาอย่างครอบคลุม ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันและงานที่มีคุณค่า (2) การขจัดความยากจน การประกันสังคมและการบริการทางสังคม (3) อิสรภาพจากความรุนแรง การตีตราและทัศนคติแบบเหมารวม (4) การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และสถาบันที่ตอบสนองต่อเพศสภาพ (5) สังคมที่สันติและทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วม และ (6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความยืดหยุ่น โดยปฏิญญานี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสตรีและเด็กหญิงทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ เช่น การมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำของสตรีในทุกขั้นตอน การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ สิทธิของสตรีและเด็กหญิงในการเข้าถึงการศึกษาโดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ การย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐสมาชิก ในการขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบต่อสตรีและเด็กหญิง และยอมรับว่าการบรรลุความก้าวหน้าในประเด็นเหล่านี้จำเป็นต้องมีทรัพยากรและเงินทุนจำนวนมาก พร้อมเรียกร้องให้มีการเสริมสร้างระบบและกลไกระดับชาติเพื่อสตรีและกลไกระหว่างประเทศ รวมถึงการฟื้นฟูบทบาทของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีแห่งสหประชาชาติเพื่อเร่งผลักดันความเท่าเทียมระหว่างเพศในระดับโลก ทั้งนี้ ปฏิญญาที่ได้รับการรับรองดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงจากร่างปฏิญญาฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (3 มีนาคม 2568) ให้ความเห็นชอบ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญกล่าวคือ เป็นการตัดถ้อยคำที่ซ้ำซ้อนและมีการจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ โดยเน้นย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำของสตรี
3. การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ในหัวข้อกลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้หญิงและเด็กผู้หญิง : การยืนยันเจตนารมณ์ การจัดสรรทรัพยากร และการเร่งรัดการดำเนินงานตามปฏิญญาปักกิ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ร่วมอภิปรายกับรัฐมนตรีอีก 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐทร์เคีย สาธารณรัฐโดมินิกัน สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย และสาธารณรัฐมอนเตเนโกร เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นมาตรการและกลไกทางสถาบันระดับชาติด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่สนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมของประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ บูรณาการมุมมอง มิติเพศภาวะในแผนงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน (2) คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ นำโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายด้านเพศภาวะ และ (3) กลไกผู้บริหารด้านการส่งเสริมบทบาทหญิงชาย (Chief Gender Equality Officer-CGEO) ทำหน้าที่ผลักดันและประสานนโยบายความเท่าเทียมทางเพศระหว่างกระทรวงต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็กหญิงที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติในหลายมิติว่า ประเทศไทยได้ตรากฎหมายหลายฉบับเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็กหญิง ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 (กฎหมายสมรสเท่าเทียม) รวมถึงมีมาตรการเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
4. การอภิปรายทั่วไป (General Discussion) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญเป็นการกล่าวถึงการครบรอบ 30 ปี ของปฏิญญาปักกิ่งและตระหนักถึงการดำเนินการตามหัวใจหลักของปฏิญญาปักกิ่ง คือ สิทธิสตรีคือสิทธิมนุษยชนประเทศไทยมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ผนวกมุมมองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศเข้าสู่การขับเคลื่อนนโยบายในทุกด้าน โดยประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำสตรีรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ ได้ริเริ่มนโยบายหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนพันธสัญญาภายใต้ปฏิญญาปักกิ่ง เช่น นโยบายด้านการจ้างงานและเศรษฐกิจ การยุติความรุนแรงต่อสตรี การขจัดความยากจน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรี เด็กหญิง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQA+) และบุคคลที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติที่ซับซ้อนหลากหลายมิติ โดยประเทศไทยมีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือ การออกกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่ 3 ในเอเชีย และประเทศที่ 37 ของโลก ที่ออกกฎหมายนี้ โดยมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2568 ในส่วนของนโยบายการจัดการกับความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) บริการตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านสายด่วนและแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่เผชิญปัญหาทางสังคมโดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงทางเพศ นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านโครงสร้างประชากร ผู้หญิงจึงเป็นพลังสำคัญในการเอาชนะกับปัญหานี้ ซึ่ง พม. ได้พัฒนานโยบาย “ 5x5 ฝ่าวิกฤตประชากร” ที่มุ่งรับมือกับความท้าทายจากสังคมสูงวัยโดยให้โอกาสและทางเลือกในการเสริมสร้างความสามารถของผู้หญิงในตลาดแรงงานและการดูแลครอบครัว
5. การหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับสูงและองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่
(1) การหารือทวิภาคีกับนายอาคิม สไตเนอร์ (Mr. Achim Steiner) ผู้บริหารโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme-UNDP) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการลงทุนทางสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางรวมถึงคนพิการและเยาวชน เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป เช่น โครงการของ พม. ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย 5 แห่ง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมทักษะ (upskill/reskill) และศักยภาพของคนพิการให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีคนพิการเข้าร่วมโครงการมากกว่า 300 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป รวมทั้งจะขยายความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อต่อยอดความร่วมมือในด้านการส่งเสริมทักษะกับสถาบันอาชีวศึกษา ทั้งนี้ UNDP กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของ พม. ในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและเครือข่าย ด้านการเรียนรู้ กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของประเทศไทยที่สอดคล้องกับหลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงแสดงความสนใจอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับไทยในการดำเนินโครงการลักษณะดังกล่าว และ (2) การหารือกับนางสาวออง ไอ ฮัว (Ms. Ong Ai Hua) รองปลัดกระทรวงด้านครอบครัวและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว หัวหน้าคณะสาธารณรัฐสิงคโปร์เกี่ยวกับประเด็นท้าทายที่ทั้งสองประเทศกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตประชากร อัตราการเกิดต่ำและการร่วมกันผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไป รวมถึงความร่วมมือ “Collaboration on Understanding the State of ASEAN Families” ที่มุ่งหวังให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันศึกษา วิจัยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ด้านครอบครัวในระดับอาเซียน และพัฒนา กิจกรรม นโยบายที่ส่งเสริมให้ครอบครัวอาเซียนมีความเข้มแข็ง มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นรากฐานของสังคมที่มั่นคง ซึ่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้เชิญชวนให้ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนสำคัญ ร่วมถึงได้มีการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานและแนวปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนาครอบครัว นอกจากนี้ได้ชื่นชมต่อความเป็นผู้นำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการผลักดันประเด็นครอบครัวและการแก้ปัญหาวิกฤตประชากร และได้เชิญชวนคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม “International Conference on Societies of Opportunity 2025” ในเดือนเมษายน 2568 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
แต่งตั้ง
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1.นางสาวสุมนี วัชรสินธุ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567
2. นายสุรชัย อภินวถาวรกุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม) โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม) โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
17. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ราย เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร เจริญผล
2. พลโท จิรันตน์กฤษณ์ เหลืองจินดา
3. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี