วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
ท่าน‘วัส’โปรดทราบ!‘ปธ.ศาลฎีกา-ปธ.ศาลปกครอง’ ยันไม่ได้เพิกเฉย

ท่าน‘วัส’โปรดทราบ!‘ปธ.ศาลฎีกา-ปธ.ศาลปกครอง’ ยันไม่ได้เพิกเฉย

วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 07.35 น.
Tag : ตั้งกก.สิทธิมนุษยชน ปธ.ศาลฎีกา ปธ.ศาลปกครอง วัส ติงสมิตร 2คนปฏิเสธ
  •  

ประธานศาลฎีกาออกแถลงการณ์โต้ “วัส ติงสมิตร”  ไม่ได้เพิกเฉยต่อการตั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนตามที่ถูกกล่าวหา  พร้อมแจ้งขั้นตอนดำเนินการคัดเลือก  แต่ผู้ที่ถูกทาบทาม 2 คนปฏิเสธรับตำแหน่ง 

วานนี้ ( 10 ตุลาคม) สํานักประธานศาลฎีกาออกแถลงการณ์ ว่าตามที่ปรากฏข่าวสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ยื่นคำกล่าวหาขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการไต่สวน และดำเนินการอื่นๆ ต่อประธานศาลฎีกา  กรณีเป็นเจ้าพนักงานละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  และยังปรากฏว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ข่าวแก่สื่อมวลชนอีกหลายครั้ง ในทำนองว่า ประธานศาลฎีกาไม่ดำเนินการแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว เป็นเหตุให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ทำให้ประเทศชาติ ประชาชนและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับความเสียหายนั้น 


เลขาธิการประธานศาลฎีกา และเลขาธิการสานักงานศาลปกครอง ขอชี้แจงสรุปขั้นตอน  การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่จะมาทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประธานศาลฎีกา ดังนี้ 

ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด่วนที่สุดลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 เรื่องขอให้แต่งตั้งบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เป็นการชั่วคราวกราบเรียนมายังประธานศาลฎีกา นั้น ประธานศาลฎีกาจึงโปรดมีดำริให้สำนักประธานศาลฎีกา ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 

1.มีหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอทราบประวัติและผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อมาประกอบการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่เป็นการชั่วคราว  เพราะการแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่ชั่วคราวดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามมาตรา 8  คือต้องแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ในด้านต่างๆตามที่ระบุในมาตรา 8 (1) ถึง (5) ด้านละอย่างน้อยหนึ่งคนแต่จะเกินด้านละสองคนไม่ได้  จึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบประวัติและผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเสียก่อน  เมื่อสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือแจ้งประวัติและผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่กลับมา  สำนักประธานศาลฎีกาจึงกราบเรียนความเห็นต่อประธานศาลฎีกาว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่สามคนอาจจัดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 8 อนุมาตราใด  เพื่อจะได้ไม่แต่งตั้งบุคคลเข้าทำหน้าที่เป็นการชั่วคราวเกินจากที่กฎหมายกำหนด 

2. มีหนังสือสอบถามไปยังเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อขอทราบ  รายชื่อ ข้อมูล และคุณสมบัติของบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ  แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  รายชื่อบุคคลที่ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และรายชื่อประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครหรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณากลั่นกรองและเห็นว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติล่าสุด เพื่อประกอบการพิจารณาของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดในการแต่งตั้งบุคคลเพื่อทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว 

เมื่อเลขาธิการวุฒิสภาในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แจ้งรายละเอียดและข้อมูลดังกล่าวมายังสำนักประธานศาลฎีกาในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 แล้ว  ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดได้ร่วมกันพิจารณามอบหมายให้เลขาธิการประธานศาลฎีกาเป็นผู้ติดต่อไปยังบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2560  และเป็นบุคคลที่ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  และได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่วุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว เพื่อสอบถามความประสงค์ในการได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว   แต่บุคคลดังกล่าวทั้งสองคนไม่ประสงค์รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นการชั่วคราว 

ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดได้หารือที่ ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตคิรั้งที่ 6/2562 กรณีประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือแจ้งให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดเร่งดำเนินการแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบให้เลขาธิการวุฒิสภาในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการเสนอชื่อบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นปัจจุบันต่อ 

ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน คือวันที่ 31 ตุลาคม 2562 บัดนี้ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวกรณีดังกล่าวเลขาธิการประธานศาลฎีกาและเลขาธิการศาลปกครองพิจารณาแล้ว เห็นว่า การแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวมีประเด็นข้อกฎหมาย  ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ จะต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอันอาจ ส่งผลเสียหายโดยรวมต่อประเทศชาติประชาชนและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหง่ชาติทั้งจะต้องได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม ตลอดจนความเสียสละในการเข้ารับหน้าที่เพียงชั่วคราว  ซึ่งอาจส่งผลในอนาคตต่อการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการในองค์กรอิสระอื่นๆและเมื่อประธานศาลฎีกาได้โปรดร่วมกันพิจารณากับประธานศาลปกครองสูงสุดให้สานักประธานศาลฎีกาเชิญบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามมาสอบถามความประสงค์และความยินยอมในการรับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวแล้ว  ก็ไม่มีผู้ใดที่แจ้งความประสงค์และยินยอมที่จะได้รับการแต่งตั้ง  จึงมีเหตุจำเป็นที่ทำให้การแต่งตั้งไม่แล้วเสร็จ  อีกทั้งยังรอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่เป็นปัจจุบัน 

แต่อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงเพิ่มเติมทำความเข้าใจมายังทุกฝ่ายว่า  ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด มิได้เพิกเฉยต่อการแต่งตั้งบุคคลในเรื่องดังกล่าว  เมื่อได้รับรายชื่อของบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นปัจจุบันจะได้นำกราบเรียนประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุดเพื่อโปรดพิจารณาต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'หลิงหลิง'ยอมรับผิดขายขนมEgg Rollsไม่มีอย. ลั่นเป็นแม่ค้ามือใหม่ไม่รู้กฎหมายเมืองไทย

(คลิป) เปิดจักรวาล! เซียนพระสีกากอล์ฟ นักล่า! เจ้าคณะ เจ้าอาวาส เบอร์1

(คลิป) 'กกต.'อยู่ไหน! ยุบพรรคเพื่อไทย ด่วน! 12/7/2568

'ปู่เดือนชัย'ชี้ 'พระ'มีเมียไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะสึกดีกว่าทำเสื่อม เชื่อบาปมีอยู่จริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved