วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
บทความพิเศษ : การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทความพิเศษ : การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันอาทิตย์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

พันโทกมล ประจวบเหมาะ นายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสาระสำคัญ น่าสนใจ ดังนี้

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัด (ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ร้ายแรงของการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น ที่ ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา จนทำให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ต้องเสียชีวิตไป 15 ศพ และบาดเจ็บอีก 5 ราย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้นั้น แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐในการใช้ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธวิธีที่ผู้ก่อความไม่สงบนำมาใช้ก็เป็นวิธีการที่บุคคลเหล่านี้ได้เคยใช้มาแล้ว ก่อนเกิดเหตุความไม่สงบในครั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2562 เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าทำการจับกุมอุสตาซจากโรงเรียนปอเนาะที่ลำพะยา ในข้อหาก่อการร้าย นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่พวกผู้ก่อการร้ายได้กระทำการตอบโต้ฝ่ายรัฐบาลด้วยความเคียดแค้น และระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2562 ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียนที่ประเทศไทย นับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ก่อความไม่สงบจะได้สร้างภาพให้สังคมโลกได้เห็นว่า มีกลุ่มผู้เรียกร้องสันติภาพเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อจะดึงสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เข้าสู่เวทีโลกต่อไปได้


ในอดีตที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านองค์กรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ศ. 2524 และให้กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ให้การสนับสนุน ศอ.บต. และ พตท.43 ได้ดำเนินการมาด้วยดีเหตุการณ์ร้ายต่างๆ เริ่มสงบลง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกทางแล้ว

เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มมีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 เป็นต้นมา ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุแห่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก รัฐบาลในขณะนั้นเห็นว่าเป็นอาชญากรรมธรรมดา จึงไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร และสั่งยุบ ศอ.บต. และ พตท.43 ในปี พ.ศ. 2545 มอบการป้องกันและปราบปรามให้แก่ตำรวจฝ่ายเดียว แต่จะเห็นว่า เหตุการณ์กลับทวีความรุนแรงมากขึ้น จนเกิดเหตุภัยขึ้นที่มัสยิดกรือเซะเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 รัฐบาลชุดนั้นได้พยายามแก้ไขปัญหา โดยตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แม้หลังรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีการจัดตั้ง ศอ.บต.และ พตท. ขึ้นมาใหม่ และหลักการของ ศอ.บต.ใหม่นี้ มีอำนาจหน้าที่ผิดแผกไปจากเดิม แทนที่จะสังกัดกระทรวงมหาดไทย กลับไปขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติขึ้นกับ กอ.รมน. ซึ่งผิดหลักงานพัฒนาการในพลเรือนเป็นผู้ดำเนินการ และการปฏิบัติการของขบวนการโจรก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ถือเป็นสงครามแย่งชิงประชาชน การจะเอาชนะในกรณีความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว ต้องเอาชนะจิตใจประชาชน โดยต้องใช้การเมืองนำหน้าการทหาร หมายถึง การปฏิบัติงานต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ เพื่อความสงบสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเจริญ ความกินดีอยู่ดี มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีอาชีพที่มั่นคง แก้ไขปัญหาความยากจน มีการศึกษาความรู้ตามมาตรฐานของรัฐ ซึ่งจะต้องมีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาพื้นที่ การให้การศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน การประชาสัมพันธ์ การทำความเข้าใจระหว่างรัฐกับประชาชนและมวลชนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งต้องทำอย่างจริงใจ และต่อเนื่อง

ถึงแม้ว่าในปัจจัย จะมี ศอ.บต. ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ซึ่งได้กำหนดบทบาท หน้าที่ ไว้อย่างชัดเจน ในด้านการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งควรจะเป็นเรื่องของฝ่ายพลเรือนในด้านการพัฒนาเพื่อความสงบ แต่ในปัจจุบันกลับให้ กอ.รมน. มาเป็นผู้กำหนดโครงสร้าง นโยบาย วิธีการปฏิบัติ รวมทั้งผู้บริหารสูงสุดที่เป็นทหาร ทำให้ ศอ.บต. มีการดำเนินการในลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กรของทหาร คือการสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติ ไม่มีการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากองค์กรอื่นๆ รวมทั้งจากประชาชนในพื้นที่ นั่นเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลประการหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากองค์กร กระบวนการ วิธีการแก้ไขปัญหานั้น พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยหลายประการ ดังนี้

1.การขาดการบูรณาการและการประสานงานกันอย่างแท้จริง การประสานงานกันระหว่างหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ไม่มีการกระทำอย่างชัดเจนและจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น
ด้านการข่าว ด้านการปฏิบัติการในพื้นที่ เช่น การปล้นทองที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ก่อนมีเหตุการณ์ปล้นรถตู้โดยผู้ก่อความไม่สงบ และทำไมปล้นร้านทอง ซึ่งถ้ามีการประสานงานด้านการข่าวระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่และปฏิบัติงานร่วมกันได้ ก็จะไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึง การข่าวที่ล้มเหลวของฝ่ายรัฐบาล ทำให้เราไม่สามารถหาข่าวได้ว่าฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ มีเป้าหมายในการดำเนินการอะไร ทำอย่างไร ทำที่ไหน เรื่องของการหาข่าวล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบ จุดอ่อน จุดแข็ง ของเป้าหมาย เราไม่สามารถทำได้ นับเป็นความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์การดับไฟใต้ของรัฐบาลจุดหนึ่ง

2.การทุจริต ประพฤติมิชอบ การฉ้อราษฎร์บังหลวงในโครงการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทำให้ได้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความแตกแยกในหน่วยราชการต่างๆ เช่น การซื้อกล้องวงจรปิด ที่ก่อให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือประการแรก การจัดซื้อกล้องที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประการที่ 2 การบังคับให้ข้าราชการในพื้นที่เป็นกรรมการในการตรวจรับพัสดุ เมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ข้าราชการเหล่านี้ต้องตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตดังกล่าว ทั้งๆ ที่หน่วยที่กำหนดคุณสมบัติของพัสดุ คือฝ่ายความมั่นคง

3.ขบวนการโจรก่อการร้าย ในส่วนบัญชาการของขบวนการล้วนอยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง มาเลเซียเป็นที่มั่นในการสนับสนุนขบวนการดังกล่าว สถานการณ์จึงยังไม่มีทีท่าที่จะสงบลงได้ การทำลายโครงสร้างในพื้นที่ ที่เป็นเครือข่ายของ BRN ที่เป็นเส้นเลือดของขบวนการ เช่น เส้นทางการเงิน
กองกำลังเยาวชน และสตรียังไม่ถูกทำลาย บุคคลเหล่านี้ก็จะยังเข้าสู่ขบวนการเพื่อเป็นแนวร่วมของ BRN รัฐบาลต้องเร่งทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นแหล่งพักพิงของสมาชิกขบวนการโจรก่อการร้ายและทำลายโครงสร้าง เครือข่ายของ BRN ให้ได้ จึงจะสามารถลดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

4.การไม่ถอดบทเรียน ของทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่านโยบาย แนวทางการปฏิบัติ และวิธีการปฏิบัตินั้น มีผลสัมฤทธิ์หรือไม่ มีปัญหา จุดอ่อน จุดแข็งในการดำเนินการอย่างไร ที่จะต้องนำมาปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ที่ทางรัฐบาลจะต้องนำมาบูรณาการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อดับไฟใต้ ให้ได้อย่างจริงจัง และยั่งยืนต่อไป

ในส่วนบทบาท และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ที่มีหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ราษฎร คือการรับใช้ การให้บริการ และงานพัฒนาประชาชนในชนบท รวมตลอดจนการรักษาความมั่นคงภายใน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินนั้น ถือว่าเป็นองค์กรหลักฝ่ายพลเรือนที่มีบุคลากรอยู่ในความรับผิดชอบ ตั้งแต่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ปลัดจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่านี้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญกับบทบาท ภารกิจ และหน้าที่ในด้านการพัฒนา การข่าว การสื่อสารมวลชน การสร้างจิตวิทยามวลชน เป็นหลัก รวมตลอดทั้งการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย เช่น การระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ ปัญหาผู้มีอิทธิพลทางการเงินปัญหาการค้ามนุษย์และของเถื่อน เป็นต้น ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรทั้งสิ้น นอกจากนั้นกระทรวงมหาดไทยยังมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติอีกมากมายนับร้อยฉบับ ที่กระทรวงมหาดไทยจะต้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

มีข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับการใช้กำลังเพื่อความมั่นคงภายใน คือชุดคุ้มครองหมู่บ้าน ชุดคุ้มครองตำบล และอาสาสมัครรักษาดินแดนนั้น โดยเฉพาะชุด ชรบ. ซึ่งเป็นกำลังหลักในพื้นที่ เพื่อปกป้องพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน ที่เราจะต้องยอมรับความจริงว่าเป็นยุทธการที่ผิดพลาดประการหนึ่ง เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็คือ
ชาวบ้านธรรมดาที่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวนเป็นส่วนใหญ่ มิได้มีความรู้และประสบการณ์ในการสู้รบ และก็มิได้มีความต้องการที่จะต่อสู้กันเอง อาวุธประจำกายก็น้อย และไร้ประสิทธิภาพในการต่อสู้ ชุดกองกำลังก็จะมีประมาณ 4-5 นาย ไม่สามารถโต้ตอบกับขบวนการโจรก่อการร้ายได้ ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี อาวุธครบมือ และมีประสิทธิภาพ มีอุดมการณ์ที่มั่นคง มาเป็นกลุ่มใหญ่ ส่วน ชรบ.ไม่มีหัวหน้าชุดที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ รวมทั้งความอ่อนล้า อ่อนเพลีย ในการคุ้มกันหมู่บ้าน ทำให้เกิดความประมาทเลินเล่อ ประกอบกับความอ่อนด้อยทางยุทธการ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ลำพะยา ขึ้น

ประเด็นที่เสนอนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา คือ

1.กระทรวงมหาดไทย จะต้องดำเนินการพัฒนาในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ทั้งด้านการรับใช้
การให้บริการ และการพัฒนาประชาชน

2.กระทรวงมหาดไทย จะต้องสนับสนุนชุดปฏิบัติการป้องกันเหตุต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ชรบ. ชคต. และ อส. ให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบ ชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งรักษาแผ่นดินและมีขวัญกำลังใจ

3.จัดแบ่งงบประมาณในการดำเนินการให้ฝ่ายพลเรือน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ให้เต็มที่ เพื่อใช้จ่ายในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน ซึ่งส่วนมากยากจน และติดยาเสพติดเป็นจำนวนไม่น้อย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : การยกเว้นวีซ่าแก่จีนที่ไม่คุ้มค่าและอันตราย บทความพิเศษ : การยกเว้นวีซ่าแก่จีนที่ไม่คุ้มค่าและอันตราย
  • บทความพิเศษ : ถาม-ตอบ ทุกประเด็นคาใจ  ไขข้อสงสัยกรณี ทรูไอดี VS อ.พิรงรอง บทความพิเศษ : ถาม-ตอบ ทุกประเด็นคาใจ ไขข้อสงสัยกรณี ทรูไอดี VS อ.พิรงรอง
  • บทความพิเศษ : ประชาธิปไตย แบบไทยคิด บทความพิเศษ : ประชาธิปไตย แบบไทยคิด
  • บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี  กันใหม่ จะดีไหม (4) บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี กันใหม่ จะดีไหม (4)
  • บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี  กันใหม่ จะดีไหม (3) บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี กันใหม่ จะดีไหม (3)
  • บทความพิเศษ : เมื่อผมถูกน้ำท่วม อยู่ถึง 2 เดือน บทความพิเศษ : เมื่อผมถูกน้ำท่วม อยู่ถึง 2 เดือน
  •  

Breaking News

เลือกตั้งสมุทรสาคร! จยย.ขนคนไปลงคะแนน คอยคุมแจกติ้ว-ขึ้นเงินหลังปิดหีบ

วัดใจคนธัญบุรี! ‘นายกเบี้ยว-ลูกพีช’ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเทศบาล ลั่นพร้อมแถลงไม่ว่าแพ้-ชนะ

‘ดุสิตโพล’เผยคนไทยกังวลค่าครองชีพ-ปัญหาเศรษฐกิจ อึ้งมีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 1 เดือน

ฝนถล่มไม่กระทบ‘เลือกตั้งเทศบาล68’ กกต.เร่งสอบซื้อเสียง‘กาฬสินธุ์’หัวละ 3 พันบาท

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved