วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563

วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 14.41 น.
Tag : สรุปมติคณะรัฐมนตรี ครม. คณะรัฐมนตรี
  •  

วันนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม พ.ศ. ....

 

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

 

                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                   กำหนดให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาธรณีวิทยาและสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพิ่มเติม (ปัจจุบันมี 4 สาขา ได้แก่ (1) สาขานิวเคลียร์ (2) สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ (3) สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย (4) สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค)

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                   ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ สมช. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2554 ดังนี้

การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน

การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง

1. สำนักงานเลขาธิการ

2. สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม

3. สำนักนโยบายและแผนความมั่นคง

4. สำนักประเมินภัยคุกคาม

5. สำนักยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมและการป้องกันประเทศ

6. สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน

7. สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ

8. สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายในประเทศ

9. สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างประเทศ

สำนักงานเลขาธิการ (คงเดิม)

กองความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม (เปลี่ยนชื่อ)

กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (เปลี่ยนชื่อ)

กองประเมินภัยคุกคาม (เปลี่ยนชื่อ)

กองความมั่นคงด้านการเตรียมพร้อมและการป้องกันประเทศ (เปลี่ยนชื่อ)

กองความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน (เปลี่ยนชื่อ)

 

กองความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ (เปลี่ยนชื่อ)

 

กองความมั่นคงภายในประเทศ (เปลี่ยนชื่อ)

กองความมั่นคงระหว่างประเทศ (เปลี่ยนชื่อ)

 

กองความมั่นคงทางทะเล (ตั้งใหม่)

 

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

 

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด โดยมีอธิบดีกรมบังคับคดีเป็นประธานกรรมการ และมีผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดและการวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา 

                   2. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น มีหน้าที่และอำนาจกำหนดราคาทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้  

                             2.1 กรณีที่ราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึดทรัพย์ หรือราคาประเมินของเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์มีราคาตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป

                             2.2 กรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายจากอธิบดีให้ดูแลการขายทอดตลาด หรือผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควรเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์พิจารณากำหนดราคาทรัพย์ใหม่ เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคาในการขายทอดตลาด ราคาทรัพย์ที่จะขายเปลี่ยนแปลงไป หรือ             มีการโต้แย้งหรือมีคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสียในราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ 

                   3. กำหนดรายการที่ต้องมีระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้น ขั้นตอนและวิธีการในการประกาศขายทอดตลาด และกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบว่าผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดทุกรายได้ทราบถึงการประกาศขายทอดตลาดนั้นแล้วหรือไม่

                   4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้เข้าเสนอราคา และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติในการเสนอราคา 

                   5. กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่และอำนาจในการควบคุมการขายทอดตลาดให้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเที่ยงธรรม และต้องป้องกันมิให้มีการสมยอมในการเสนอราคาหรือกระทำการใดที่ทำให้เสียความยุติธรรมทั้งในการดำเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดีและในการขายทอดตลาด รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขายทอดตลาด

 

เศรษฐกิจ - สังคม

4. เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ยืมเพื่อนำไปดำเนินการตามโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 มีกำหนดชำระคืนภายใน 6 ปี ระยะเวลาโครงการ ปี 2563 – 2568 โดยอนุมัติวงเงินจำนวน 508,200,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงินยืม (เงินหมุนเวียน) จำนวน 500,000,000 บาท เพื่อให้สมาชิกสถาบันเกษตรกรกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ให้มีระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ใน 2 ปีแรก และเงินจ่ายขาดจำนวน 8,200,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการและติดตามงาน ตามมติของคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   1. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร โดยให้สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร) นำเงินทุนที่ได้ไปจัดสรรให้สมาชิกกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อนำไปลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำในแปลงไร่นาของตนเองอย่างเป็นระบบ ลดความเสี่ยงการพึ่งพาน้ำจากระบบชลประทานและจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้สมาชิกสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี และสามารถประกอบอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงปลา ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น เพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

                   2. โครงการฯ ระยะที่ 2 ที่ กษ. เสนอในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการสืบเนื่องมาจากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 กรกฎาคม 2559) อนุมัติการจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ยืมเงิน เพื่อดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นเงินยืมจำนวน 300,000,000 บาท โดยจัดเก็บดอกเบี้ยร้อยละ 0 กำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี (ปี 2559 – 2564) เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปขุดสระเก็บกักน้ำ/ขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของตน และเงินจ่ายขาด จำนวน 2,997,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานโครงการ โดยผลการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 มีสมาชิกสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 28,000 ราย แต่สามารถจัดสรรเงินให้ได้เพียง 6,014 ราย ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 พบว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์จากการมีแหล่งน้ำในที่ดิน และมีรายได้เพียงพอผ่อนชำระหนี้ ซึ่งทำให้กรมส่งเสริมสหกรณ์สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์และส่งชำระหนี้โครงการฯ ระยะที่ 1 ได้ตามแผน และคาดว่าอีก 2 ปีที่เหลือจะสามารถส่งชำระหนี้ได้ตามแผนเช่นกัน 

                   3. จากเหตุผลข้างต้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงจัดทำโครงการฯ ระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อจัดสรรเงินให้สมาชิกที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ ระยะที่ 1 หรือโครงการอื่นของภาครัฐที่มีลักษณะเดียวกัน จำนวน 10,000 ราย (สำรอง 3,714 ราย) โดยโครงการฯ ระยะที่ 2 มีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (ปี 2563 – 2568) โดยขอรับการจัดสรรเงินยืมจำนวน 500,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 และปลอดการชำระหนี้ใน 2 ปีแรกของโครงการ (ชำระคืนในปีที่ 3 – 6 ของโครงการ รวม 4 งวด งวดละอย่างน้อยร้อยละ 25 ของเงินต้นกู้ยืม) จัดสรรให้สมาชิกสถาบันเกษตรกร กู้ยืมในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท (หากไม่พอดำเนินการสมาชิกต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบในส่วนที่เกินมา) และเงินจ่ายขาด จำนวน 8,200,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานโครงการและติดตามงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบแล้ว

 

5. เรื่อง การกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะอนุกรรมการ ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และอนุกรรมการที่ คนร. แต่งตั้งตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

 

คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ

ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเฉพาะเดือนที่มาร่วมประชุม

อัตราไม่เกิน (บาท : คน : เดือน)

ประธานกรรมการ/ประธานอนุกรรมการ

รองประธานกรรมการ/  รองประธานอนุกรรมการ

กรรมการ/อนุกรรมการ

คนร.

10,000

9,000

8,000

คณะอนุกรรมการ

5,000

4,500

4,000

 

6. เรื่อง รายงานผลการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 – 2566

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานผลการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 – 2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (29 มกราคม 2562) อนุมัติและเห็นชอบการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลกของราชอาณาจักรไทย วาระปี พ.ศ. 2562 – 2566 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 

                   1. การคัดเลือกกรรมการมรดกโลกจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ในระหว่างการประชุมสมัชชารัฐภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการหารือร่วมกันระหว่างรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานตามพันธกรณีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงการคัดเลือกกรรมการมรดกโลกทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง 

                   2. การคัดเลือกกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 – 2566 เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง จำนวน 9 ที่นั่ง จัดขึ้นในระหว่างการประชุมสมัชชารัฐภาคีฯ ดังกล่าว ครั้งที่ 22 (22nd General Assembly of States Parties to the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ 27 – 28 พฤศจิกายน 2562 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยการคัดเลือกคณะกรรมการมรดกโลกใช้วิธีการหย่อนบัตรเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบที่ 1 สำหรับที่นั่งจัดสรร (Allocated seats) และที่นั่งสลับ (Rotational seat) และรอบที่ 2 สำหรับที่นั่งที่เปิดแข่งขัน (Non Allocated seats) และผลการคัดเลือกสรุปได้ ดังนี้ 

ประเภทที่นั่ง

กลุ่มภูมิภาค

จำนวนที่นั่ง

ประเทศ

2.1 ที่นั่งจัดสรร

(Allocated seats)  

กลุ่มที่ 5A แอฟริกา

3

สาธารณรัฐมาลี

สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

 

กลุ่มที่ 5B อาหรับ

1

รัฐสุลต่านโอมาน

2.2 ที่นั่งสลับ (Rotational seat)

กลุ่มที่ 3 ลาตินอเมริกา

  •  
  •  

 

กลุ่มที่ 4 เอเชียและแปซิฟิก

1

ราชอาณาจักรไทย

2.3 ที่นั่งเปิดเพื่อการแข่งขัน (Non Allocated seats)

ทุกภูมิภาค

4

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย สหพันธรัฐรัสเซีย ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

                   ทั้งนี้ ราชอาณาจักรไทยได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการมรดกโลกด้วยคะแนน 156 เสียง จากจำนวนรัฐภาคีสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม 170 ประเทศ (บัตรดี 156 ใบและบัตรเสีย 14 ใบ)

 

7. เรื่อง การดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562

                   คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง การดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้

                    1. รับทราบคู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 และผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ

                    2. อนุมัติให้ กษ. ดำเนินการถัวจ่ายงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ระหว่างโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ กรอบวงเงิน 2,967.50 ล้านบาท (กรอบวงเงินทั้งหมด 3,120.86 ล้านบาท)

                    สำหรับประเด็นที่ขออนุมัติให้กรมการข้าวปรับเปลี่ยนปริมาณของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดข้าวและปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิต (กรมการข้าว สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร และศูนย์ข้าวชุมชนและแปลงใหญ่) ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรและตามความสามารถในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและปริมาณที่จะสนับสนุนของแต่ละแหล่งผลิต (ในปริมาณ 63,200 ตัน เท่าเดิม) นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของหน่วยงานไปประกอบการพิจารณา

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กษ. รายงานว่า

                   1. คู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ กษ. ได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ ของ 4 โครงการ (จากทั้งหมด 5 โครงการ) ประกอบด้วย (1) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ (2) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ (3) โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมงฯ และ (4) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

                        1.1 พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ประสบสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและพื้นที่ประสบสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากพายุ “โพดุล” (PODUL) และ/หรือ พายุ “คาจิกิ” (KAJIKI) โดยเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงและได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมทั้งสิ้น 39 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2562) จำแนกเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้ง ช่วงวันที่ 1 มิถุนายน – 31 ตุลาคม 2562 จำนวน 19 จังหวัด และพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย (น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก) ช่วงวันที่ 23 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2562 จำนวน 28 จังหวัด ดังนี้

ภาค

จังหวัด

ภาคเหนือ

14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี และหนองคาย

ภาคกลาง

7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคใต้

1 จังหวัด ได่แก่ จังหวัดพัทลุง

                       1.2 คุณสมบัติของเกษตรกรและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

                             1) เป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้งหรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง และได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ โดยให้เกษตรกรมีสิทธิ์เลือกได้ 1 โครงการ เท่านั้น (ยกเว้นโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงฯ เนื่องจากเป็นโครงการที่กรมประมงดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเองโดยไม่ได้ให้เกษตรกรดำเนินการและไม่มีการรับสมัครเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ)

                             2) เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการด้านใดด้านหนึ่งได้โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับด้านที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบพบว่า คุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการที่ประสงค์เข้าร่วม ให้ถือว่าเกษตรกรสละสิทธิ์และจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการอื่นได้

                             3) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านพืช มีเงื่อนไข ดังนี้

                                 3.1) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ มีเงื่อนไขคือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกพืชได้มากกว่า 1 ชนิด (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว) แต่พื้นที่รวมกันไม่เกิน 20 ไร่ต่อรายหรือครัวเรือน และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ

                                 3.2) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ มีเงื่อนไข คือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกรับการสนับสนุนพันธุ์ข้าว 1 พันธุ์ (ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว) ชนิดใดชนิดหนึ่งตามพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ (ไร่ละ 10 กิโลกรัม) และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ

                             4) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านประมง มีเงื่อนไข ดังนี้

                                 4.1) เกษตรกรจะต้องมีบ่อดิน

                                 4.2) มีปริมาณน้ำเพียงพอและเหมาะสมในการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ

                             5) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านปศุสัตว์ มีเงื่อนไข ดังนี้

                                 5.1) เกษตรกรต้องมีโรงเรือนสัตว์ปีก พร้อมลานปล่อยที่มีตาข่ายป้องกันสัตว์พาหะ

                                 5.2) อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด (มีเพียงพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ได้รับความเสียหายในด้านปศุสัตว์) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน น่าน พิจิตร พิษณุโลก สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ นครพนม และมุกดาหาร

                             6) เกษตรกรต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีที่รับการสนับสนุนเป็นเงินโอนเข้าบัญชีตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก

                   1.3 ระยะเวลาดำเนินการ เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

                   1.4 ขั้นตอน/แผนการดำเนินงาน มีดังนี้

ขั้นตอน/แผนการดำเนินงาน

ช่วงเวลา

1) ตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรเป้าหมาย เพื่อดูความซ้ำซ้อนของแต่ละด้านและความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยต้องเป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้งหรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง และได้รับความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์

ตุลาคม – พฤศจิกายน 2562

2) การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยใช้กลไกคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ (Operation Team) ที่มีนายอำเภอ เป็นที่ปรึกษา เกษตรอำเภอ เป็นประธานคณะทำงาน หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอหรือเทียบเท่าของหน่วยงานในสังกัด กษ. ที่ได้รับมอบหมาย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทน เป็นคณะทำงาน และเกษตรตำบลที่ได้รับมอบหมาย เป็นคณะทำงานและเลขานุการ รับผิดชอบหลัก เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสมของพื้นที่หรือให้เกษตรกรสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสถานอื่น ๆ ที่กำหนด โดยให้ดำเนินการวางแผนการลงพื้นที่ ชี้แจงโครงการ และบันทึกข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผ่านระบบฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อน

25 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2562

3) ประมวลผลความต้องการขอรับการช่วยเหลือและประมาณการวงเงินและเป้าหมาย (กรณีวงเงินหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา)

11 – 14 พฤศจิกายน 2562

4) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานหรือจัดซื้อจัดจ้างตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขของแต่ละโครงการ

15 พฤศจิกายน 2562 – 30 มีนาคม 2563

5) เตรียมโอนเงินหรือจัดซื้อจัดจ้าง และประสาน ติดตามผลการพิจารณาจัดสรรเงินงวดจากสำนักงบประมาณ (สงป.)

21 – 28 พฤศจิกายน 2562

6) ดำเนินกระบวนการเพื่อโอนเงินให้กับเกษตรกรหรือแจกปัจจัยการผลิตตามเงื่อนไขโครงการ

พฤศจิกายน 2562 – มกราคม 2563

7) ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง และกรมปศุสัตว์ 

ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

8) ติดตามประเมินผลโครงการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

                   2. สรุปผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการ ดังนี้

                       2.1 ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัครให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ (ยกเว้นโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงฯ) รวมทั้งสิ้น 587,420 ครัวเรือน จำนวน 2 รอบ แบ่งเป็น

รอบที่

ช่วงเวลา

จำนวน

(ครัวเรือน)

1

วันที่ 25 ตุลาคม – 10 พฤจิกายน 2562

469,544

2

วันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2562

117,876

รวม

587,420

ทั้งนี้ มีรายละเอียดผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ ดังนี้

 

โครงการ

เป้าหมาย

ผลการรับสมัคร

 

หมายเหตุ

เกษตรกร

(ครัวเรือน)

วงเงิน

(ล้านบาท)

เกษตรกร

(ครัวเรือน)

วงเงิน

(ล้านบาท)

1) ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร

150,000

325.00

12,296

25.87

-

2) รักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64

827,000

1728.90

452,753

957.85

ได้รับอนุมัติงบประมาณงวดที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 จำนวน 932.15 ล้านบาท

3) พัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน

50,000

250.00

44,394

221.97

-

4) ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย

48,000

232.80

77,977

378.19

-

5) สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน

-

430.80

-

430.80

ได้รับอนุมัติเงินงวดแล้วอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง

รวม

1,075,000

2,967.50

587,420

2,014.68

 

                    ทั้งนี้ ผลการรับสมัครโครงการที่ 1) – 4) ปรากฏว่า โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมาย [ตามข้อ 2.1 4)] ส่วนโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ และโครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมงฯ เกษตรกรประสงค์เข้าร่วมต่ำกว่าเป้าหมาย [ตามข้อ 2.1 1) – 3)] ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติถัวจ่ายงบประมาณระหว่างโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 3,120.86 ล้านบาท ซึ่งใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,967.50 ล้านบาท

                       2.2 กรมการข้าวประมาณการรายละเอียดเมล็ดพันธุ์ข้าวและแหล่งจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว 63,200 ตัน จำแนกเป็น กรมการข้าว 23,100 ตัน สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร 3,300 ตัน ศูนย์ข้าวชุมชนและแปลงใหญ่ 36,800 ตัน แต่ความต้องการชนิดข้าวเปลี่ยนแปลงไปจากที่กรมการข้าวประมาณการไว้ในโครงการ ประกอบกับสหกรณ์การเกษตรขอเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะสนับสนุนโครงการจากเดิม 3,300 ตัน เป็น 14,300 ตัน เนื่องจากสหกรณ์การเกษตรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้เพิ่มขึ้น จึงขอเพิ่มเติมจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการฯ ซึ่งกรมการข้าวเห็นว่าควรให้สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกรเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สนับสนุนโครงการฯ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างแรงจูงใจให้แก่สหกรณ์การเกษตรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยขอให้กรมการข้าวปรับเปลี่ยนปริมาณของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดข้าวและปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิตได้

 

ต่างประเทศ

8. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียกับองค์การงานระบายน้ำแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sewage Works Agency)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียกับองค์การงานระบายน้ำแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sewage Works Agency) และให้ผู้แทนองค์การจัดการน้ำเสียเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ

                   สาระสำคัญของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสและอำนวยความสะดวกสำหรับความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน และเพื่อให้การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ โดยขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมด้านต่าง ๆ เช่น นโยบายการพัฒนาและการจัดการเกี่ยวกับงานบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีและเทคนิคการประเมิน มาตรฐาน และคู่มือสำหรับงานบำบัดน้ำเสีย การส่งเสริมและการสนับสนุนในกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการในหมู่เทศบาล/บริษัทของไทยและญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ องค์การงานระบายน้ำแห่งประเทศญี่ปุ่นมีความประสงค์จะลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563 หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมอบหมายให้ผู้แทนองค์การจัดการน้ำเสียแห่งประเทศไทยเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าว

 

แต่งตั้ง

9. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ รวม 9 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งและลาออก ดังนี้

                   1. นายชวลิต ชูขจร                                             ประธานกรรมการ

                   2. รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก                          กรรมการ

                       (ด้านการศึกษา)                    

                   3. นายสรวิศ ธานีโต                                             กรรมการ

                       (ด้านสัตวแพทย์และสวัสดิภาพสัตว์)        

                   4. รองศาสตราจารย์วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์                    กรรมการ

                        (ด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม)

                   5. นายภัทระ คำพิทักษ์                                             กรรมการ

                       (ด้านบริหารธุรกิจ)                          

                   6. นางภานุมาศ สิทธิเวคิน                                       กรรมการ

                       (ด้านกฎหมาย)                              

                   7. นางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์                                  กรรมการ

                       (ด้านการเงิน และบัญชี)           

                   8. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา                               กรรมการ

                       (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)     

                   9. นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์                                      กรรมการ

                       (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)                  

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป

 

10. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอแต่งตั้ง นายสมชาย เจริญอำนวยสุข เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ด้านคนพิการและผู้สูงอายุ) แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน
  • ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม. ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม.
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568
  •  

Breaking News

‘ประเสริฐ’ฉะคนปล่อยข่าว‘ภท.’คว่ำงบ69 มุ่งเสี้ยมรัฐบาลระแวงกันเอง

‘อนุสรณ์’ชี้ไม่มีเหตุที่พรรคไหน จะคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ทำประเทศเสียโอกาส

‘อนุสรณ์’ขอบคุณชาวเทศบาลนครเชียงใหม่ หนุน‘อัศนี’เพื่อไทยเป็นนายกฯอีกสมัย

‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ติงหลังรู้ผลเลือกตั้งเทศบาล อย่าแดกดันคนในพื้นที่เป็นเมือง‘ทานหญ้าบุรี’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved