วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2563

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2563

วันอังคาร ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563, 17.48 น.
Tag : สรุปมติคณะรัฐมนตรี ครม. คณะรัฐมนตรี
  •  

วันนี้ (31 มีนาคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                   1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 240 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

                   2. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

                   3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาตและการขอรับใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง การขอรับใบแทนใบอนุญาต พร้อมทั้งแนบเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 2 รวมทั้งกำหนดวิธีการและสถานที่ยื่นคำขอและการแจ้งต่าง ๆ 

                   4. กำหนดวิธีปฏิบัติให้กับผู้รับอนุญาตจำหน่ายมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และต้องจัดให้มีการจัดทำบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 รวมทั้งต้องจัดให้มีการรายงานต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นเดือนและสิ้นปี 

                   5. กำหนดให้แบบต่าง ๆ เช่น คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการฯ กำหนดโดยประกาศราชกิจจานุเบกษา 

                   6. กำหนดบทเฉพาะกาล 

                             6.1 กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน และให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษที่ดำเนินการภายใต้ใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน  

                             6.2 กำหนดให้คำขอหรือหนังสือขออนุญาตที่ได้ยื่นไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคำขอหรือการแจ้ง แล้วแต่กรณี ตามกฎกระทรวงนี้ และหากคำขอดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติม หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

 

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการกีฬา) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 

                   เป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการกีฬาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 596) พ.ศ. 2559 สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ โดยยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินหรือสินค้าเพื่อสนับสนุนการกีฬา สำหรับการบริจาคให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัด สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด สมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรมพลศึกษา ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

 

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

                   ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2557 ดังนี้  

การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน

การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง

1. สำนักงานเลขานุการกรม

2. กองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ

3. กองบริหารจัดการกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ

4. กองบริหารทรัพยากรบุคคล

5. กองบริหารที่ราชพัสดุภูมิภาค

6. กองแผนงาน

7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

8. สำนักกฎหมาย

9. สำนักกษาปณ์

10. สำนักการคลัง

11. สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

12. สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน

13. สำนักบริหารเงินตรา

14. สำนักบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร

15. สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน

16. สำนักพัฒนาธุรกิจและศักยภาพที่ราชพัสดุ

17. สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาอาคารราชพัสดุ

1. สำนักงานเลขานุการกรม (คงเดิม)

2. กองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ (คงเดิม)

 

3. กองบริหารจัดการกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ (คงเดิม)

4. กองบริหารทรัพยากรบุคคล (คงเดิม)

5. กองบริหารที่ราชพัสดุภูมิภาค (คงเดิม)

6. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (เปลี่ยนชื่อ)

7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (เปลี่ยนชื่อ)

8. กองกฎหมาย (เปลี่ยนชื่อ)

9. กองกษาปณ์ (เปลี่ยนชื่อ)

10. กองบริหารการคลัง (เปลี่ยนชื่อ)

11. สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (คงเดิม)

12. กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ (เปลี่ยนชื่อ)

13. กองบริหารเงินตรา (เปลี่ยนชื่อ)

14. กองบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร (เปลี่ยนชื่อ) 

15. กองประเมินราคาทรัพย์สิน (เปลี่ยนชื่อ)

16. กองพัฒนาธุรกิจและศักยภาพที่ราชพัสดุ (เปลี่ยนชื่อ)

17. กองพัฒนาและบำรุงรักษาอาคารราชพัสดุ (เปลี่ยนชื่อ)

18. กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน (ตั้งใหม่)

 

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงนครไทย ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย และศาลแขวงเวียงป่าเป้า เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงนครไทย ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย และศาลแขวงเวียงป่าเป้า เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ 

                   3. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างหน่วยงานและระบบค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ  

                   1. กำหนดให้ยกฐานะศาลแขวงนครไทย ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัยและศาลแขวงเวียงป่าเป้า เป็นศาลจังหวัด และจะเปิดทำการเป็นศาลจังหวัดเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา 

                   2. กำหนดให้ศาลจังหวัดนครไทยมีเขตตลอดท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย ในจังหวัดพิษณุโลก โดยในระหว่างที่ยังไม่เปิดทำการศาลจังหวัดนครไทย ให้ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทยด้วย  

                   3. กำหนดให้ศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัยมีเขตตลอดท้องที่อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอยางสีสุราช ในจังหวัดมหาสารคาม โดยในระหว่างที่ยังไม่เปิดทำการศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัย ให้ศาลจังหวัดมหาสารคามมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอยางสีสุราชด้วย

                   4. กำหนดให้ศาลจังหวัดเวียงป่าเป้ามีเขตตลอดท้องที่อำเภอแม่สรวยและอำเภอเวียงป่าเป้า ในจังหวัดเชียงราย โดยในระหว่างที่ยังไม่เปิดทำการศาลจังหวัดเวียงป่าเป้า ให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอแม่สรวยและอำเภอเวียงป่าเป้าด้วย 

                   5. กำหนดให้บรรดาคดีของท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดพิษณุโลกในวันเปิดทำการศาลจังหวัดนครไทย ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดพิษณุโลก ส่วนคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ก่อนวันเปิดทำการศาลจังหวัดนครไทย ให้โอนไปพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดนครไทย สำหรับบรรดาคดีของท้องที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนในวันเปิดทำการศาลจังหวัดนครไทย ให้ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป ส่วนการฟ้องคดีให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และให้ถือว่าผู้ต้องหานั้นอยู่ในอำนาจของศาลที่ชำระคดีดังกล่าว 

                   6. กำหนดให้บรรดาคดีของท้องที่อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอยางสีสุราช ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดมหาสารคามในวันเปิดทำการศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัย ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดมหาสารคาม ส่วนคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดมหาสารคาม สาขาพยัคฆภูมิพิสัย ก่อนวันเปิดทำการศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัย ให้โอนไปพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัย สำหรับบรรดาคดีของท้องที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างที่ศาลจังหวัดมหาสารคามมีคำสั่งขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนในวันเปิดทำการศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัย ให้ศาลจังหวัดมหาสารคามมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป ส่วนการฟ้องคดีให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และให้ถือว่าผู้ต้องหานั้นอยู่ในอำนาจของศาลที่ชำระคดีดังกล่าว

                   7. กำหนดให้บรรดาคดีของท้องที่อำเภอแม่สรวยและอำเภอเวียงป่าเป้า ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดเชียงรายในวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงป่าเป้า ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดเชียงราย ส่วนคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดเชียงราย สาขาเวียงป่าเป้า ก่อนวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงป่าเป้า ให้โอนไปพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลจังหวัดเวียงป่าเป้า สำหรับบรรดาคดีของท้องที่ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนในวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงป่าเป้า ให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป ส่วนการฟ้องคดีให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และให้ถือว่าผู้ต้องหานั้นอยู่ในอำนาจของศาลที่ชำระคดีดังกล่าว

 

5. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล รวม 2 ฉบับ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้

                   1. อนุมัติในหลักการ 

                             1.1 ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... 

                             1.2 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล

รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   2. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ 

                             2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติและออกหนังสือคนประจำเรือ  

                             2.2 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร. 38/1) และบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) 

                             2.3 ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าว 

                             2.4 ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำสัญญาจ้างและตรวจสอบสัญญาจ้างของคนต่างด้าว และจัดเก็บอัตลักษณ์ (Iris scan) ของคนต่างด้าว และ 

                             2.5 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว 

                   สาระสำคัญของร่างประกาศ 

                   1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้ 

                             1.1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 กันยายน 2560 เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561  

                             1.2 กำหนดให้คนต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนและขอรับหนังสือคนประจำเรือมี 2 กรณี คือ 

                                      1.2.1 กรณีพิเศษ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) โดยคนต่างด้าวไม่จำต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว แต่ต้องเป็นผู้ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลที่ยังไม่หมดอายุและได้รับการตรวจลงตราโดยมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า 

                                      1.2.2 กรณีทั่วไป คนต่างด้าวจะต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 

                             1.3 การพิจารณาออกหนังสือคนประจำเรือ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 

                                      1.3.1 เจ้าของเรือจัดทำหนังสือสัญญาจ้าง โดยอย่างน้อยต้องมีการกำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคาร และให้เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาจ้างและลงลายมือชื่อกำกับไว้  

                                      1.3.2 คนต่างด้าวต้องมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยหนึ่งปี ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

                                      1.3.3 การจ้างคนประจำเรือทำหน้าที่แรงงานประมงต้องไม่เกินจำนวนที่เจ้าของเรือสามารถจ้างได้ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป หรือเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส การจ้างคนประจำเรือทำหน้าที่แรงงานประมง ต้องไม่เกินห้าคน 

                             1.4 กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือที่กรมประมงออกให้ ซึ่งจะหมดอายุวันที่ 30 มีนาคม 2563 และคนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือกรณีทั่วไปสามารถยื่นขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือได้ 

                   2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดยกเว้นให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ที่ยังไม่หมดอายุ และได้รับการตรวจลงตราโดยมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า และระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรให้มาขึ้นทะเบียนและยื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือกลุ่มนี้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 1 ปีได้ ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะออกนอกบริเวณท่าเทียบเรือประมง คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

 

6. เรื่อง ขอทบทวนอัตราตามร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอขอทบทวนอัตราเงินสมทบที่จัดเก็บสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ตามร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ตามร่างข้อ 2 จาก “...ให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละสองร้อยสิบเอ็ดบาท” เป็น “...ให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละแปดสิบหกบาท”

 

7. เรื่อง ขอทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอขอทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. .... ดังนี้

                   1. ข้อ 3 วรรคหนึ่ง จาก “ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรองหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน” เป็น “ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ไม่เกินเก้าสิบวัน”

                   2. ข้อ 3 วรรคสอง “ในกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่ง แต่ทั้งนี้ไม่เกินหกสิบวัน” เป็น “ในกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 ในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งแต่ทั้งนี้ไม่เกินเก้าสิบวัน”

 

เศรษฐกิจ - สังคม

8. เรื่อง การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อการเพิ่มทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (กองทุนฯ) เพื่อการเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการขยายการดำเนินงาน จำนวนไม่เกิน 6,000 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (คณะกรรมการกองทุนฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 มกราคม 2563) อนุมัติการขยายทุนเรือนหุ้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 20,000 ล้านบาท (จากเดิม 60,000 ล้านบาท เป็น 80,000 ล้านบาท) โดยในส่วนของปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลัง (กค.) เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (กองทุนฯ) เพิ่มทุน จำนวน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้จัดทำแผนการขอรับจัดสรรเงินเพื่อการเพิ่มทุนจากกองทุนฯ โดยให้เหตุผลความจำเป็นว่า ธ.ก.ส. มีแผนการขยายงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งด้านการอำนวยสินเชื่อและการทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปีบัญชี 2563 มีการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ จำนวน 101,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นการขยายสินเชื่อเพิ่มเติมจากแผนงานปกติจำนวน 7 โครงการ รวมวงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งจากการประมาณการเติบโตของสินเชื่อปีบัญชี 2563 – 2567 พบว่า ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มทุนในปีบัญชี 2563 จะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) เป็นร้อยละ 11.37 และเท่ากับ 8.08 ในภาวะวิกฤตที่มีสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นจากคุณภาพหนี้ที่ลดลง ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (ร้อยละ 8.5) ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายการดำเนินงานดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีความเห็นเพิ่มเติมให้ ธ.ก.ส. พิจารณากำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมความสามารถในการขยายสินเชื่อ ความสามารถในการบริหารจัดการสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การบริหารความเสี่ยง และการกำหนดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (pre-emptive) ตามแผนการดำเนินงานที่ ธ.ก.ส. เสนอ รวมทั้งให้ ธ.ก.ส. รายงานผลตามตัวชี้วัดดังกล่าวให้กองทุนฯ ทราบ เป็นประจำทุกเดือนด้วย

 

9. เรื่อง การลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโรงไฟฟ้าจะนะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ประจำปี 2562

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

                    1. ลดหย่อนค่ารายปีสำหรับใช้ในการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงไฟฟ้าจะนะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประจำปี 2562 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้คิดค่ารายปีเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 65,661,587.01 บาท ซึ่งคำนวณเป็นค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่ากับ 8,207,698.38 บาท

                    2. มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน (พน.) จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบตามบทบัญญัติในมาตรา 27 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

                    สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. เดิมกระทรวงพลังงานได้เคยเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีเพื่อลดภาระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ต้องชำระให้กับโรงไฟฟ้าจะนะ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน  พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตั้งแต่ปี 2552-2558 เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ (อบต. คลองเปียะ) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงไฟฟ้าจะนะมาโดยตลอด  โดยค่าเช่ามาตรฐานกลางที่ อบต. คลองเปียะ ใช้ในการคำนวณค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงไฟฟ้าจะนะสูงกว่าที่ กฟผ. คำนวณได้  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเช่ามาตรฐานกลางอื่น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิงซึ่งมีพื้นที่ติดกันกับโรงไฟฟ้าจะนะ  หรือเทศบาลอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ดินที่มีความเจริญมากกว่า  ซึ่ง กฟผ. เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินนั้นสูงเกินไปและเกินกว่าที่ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจะรับภาระได้ ต่อมาในปี 2559-2561 กฟผ. (โรงไฟฟ้าจะนะ) ได้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งคำนวณจากบัญชีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนตามที่ กฟผ. คำนวณได้ (ไม่ได้นำเสนอขอคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างที่กระทรวงมหาดไทยยังไม่ได้กำหนดบัญชีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนเพื่อใช้ในการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น  ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 (เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินของรัฐวิสาหกิจ)

                    2. สำหรับปี 2562 กระทรวงพลังงาน ได้ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ อบต. คลองเปียะ ดำเนินการลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปี 2562 ให้โรงไฟฟ้าจะนะ  เนื่องจาก อบต. คลองเปียะ ได้ประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี 2562 สำหรับโรงไฟฟ้าจะนะสูงกว่าค่ารายปีที่ กฟผ. ประเมิน ดังนี้

การประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี 2562

ค่ารายปี (บาท)

ค่าภาษี (บาท)

อบต. คลองเปียะ

143,337,576.45

17,917,197.06

กฟผ.

36,904,806.65

4,613,100.83

ส่วนต่าง

106,432,769.80

13,304,096.23

 

                    3. กระทรวงการคลัง  โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดประชุมหารือเพื่อหาข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับการขอลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโรงไฟฟ้าจะนะของ กฟผ. ประจำปี 2562 ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กระทรวงพลังงาน  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ อบต. คลองเปียะ และ กฟผ. แล้ว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ในครั้งนี้ กระทรวงการคลังจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีสำหรับใช้ในการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงไฟฟ้าจะนะของ กฟผ. ประจำปี 2562 ตามมติที่ประชุมดังกล่าว โดยให้คิดค่ารายปีเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 65,661,587.01 บาท ซึ่งคำนวณเป็นค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่ากับ 8,207,698.38 บาท

 

10. เรื่อง รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงงประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 50 ที่บัญญัติให้หน่วยรับงบประมาณรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่สิ้นสุดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณทราบ เพื่อจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                    1. รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562-21 กุมภาพันธ์ 2563

จำแนกรายจ่าย

พ.ร.บ.งบประมาณฯ พ.ศ. 2562

งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อนแผน

งบประมาณรายจ่าย              พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อนที่จัดสรรแล้ว

งบประมาณรายจ่าย                พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน ผลเบิกจ่าย/ก่อหนี้

 

 

จำนวน

ร้อยละ/พ.ร.บ.

จำนวน

ร้อยละ/แผน

จำนวน

ร้อยละ/จัดสรร

ภาพรวม

3,000,000.00

1,369,673.32

45.66

1,323,868.20

96.66

1,033,424.30

78.06

รายจ่ายประจำ

2,350,861.54

1,223,583.77

52.60

1,237,986.28

100.11

995,023.70

80.37

รายจ่ายลงทุน

649,138.46

133,089.55

20.50

85,881.92

64.53

 

 

-เบิกจ่าย

 

 

 

 

 

38,400.60

44.71

- ก่อหนี้

 

 

 

 

 

63,808.62

74.30

 

                    2. ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการ ประกอบด้วย

                                        หน่วย : ล้านบาท

ยุทธศาสตร์

แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

งบประมาณที่จัดสรรแล้ว

เบิกจ่ายแล้ว

(1) ด้านความมั่นคง

137,278.93

128,345.39

(ร้อยละ 93.49)

77,971.05

(ร้อยละ 60.75)

(2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

136,773.80

133,848.52

(ร้อยละ 97.86)

102,295.21

(ร้อยละ 76.43)

(3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

253,412.40

249,677.38

(ร้อยละ 98.53)

197,932.79

(ร้อยละ 79.28)

(4) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความ

 

เหลื่อมล้ำและสร้างการเติบโต จากภายใน

207,328.03

207,061.02

(ร้อยละ 99.87)

173,888.16

(ร้อยละ 83.98)

(5) ด้านการจัดการน้ำและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

30,729.19

30,449.38

(ร้อยละ 99.09)

17,374.96

(ร้อยละ 57.06)

(6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

439,058.29

436,963.72

(ร้อยละ 99.52)

345,633.96

(ร้อยละ 79.10)

(7) รายการค่าดำเนินการภาครัฐ

165,092.68

137,522.79

(ร้อยละ 83.30)

118,328.17

(ร้อยละ 86.04)

                    สงป. ได้อนุมัติเงินจัดสรร บริหารงบประมาณรายจ่าย และหักงบประมาณรายจ่ายที่หน่วยรับงบประมาณได้รับอนุมัติเงินจัดสรรออกจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แล้ว  และการอนุมัติจัดสรรจะดำเนินการตามจำนวนที่เหลือจากการหักงบประมาณ ทั้งนี้  คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 มกราคม 2563) เห็นชอบมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการบริหารงบประมาณและเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณให้ดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องตามเป้าหมายภาพรวมของประเทศต่อไป

 

11. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 โดยขออนุมัติผูกพันงบประมาณรายการค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30,000 เครื่อง วงเงิน 832.50 ล้านบาท

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 [เรื่อง ขออนุมัติผูกพันงบประมาณรายการค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30,000 เครื่อง] จากวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ วงเงินรวมจำนวน 720.00 ล้านบาท เป็นวงเงินจำนวน 832.50 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายบริหารจัดการโครงการตามที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว เป็นเงินจำนวน 44.76 ล้านบาท รวมทั้งโครงการเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 877.26 ล้านบาท

 

12. เรื่อง มาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต [รองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)]  

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต [รองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID - 19)] ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า

                   1. โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 โดยได้ออกประกาศ สธ. เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563

                   2. แม้ว่าปัจจุบัน สธ. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ชุมนุม ซึ่งรวมถึงสถานที่ทำการของหน่วยงานภาครัฐที่มีผู้ขอรับบริการเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่โดยที่การขอรับบริการภาครัฐในหลายกรณีเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนต้องติดต่อขอรับบริการกับหน่วยงานของรัฐภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในขณะที่การให้บริการภาครัฐในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบในลักษณะที่ประชาชนต้องเดินทางมาขอรับบริการด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้ที่ต้องเดินทางมาขอรับบริการมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

                   3. สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานกลางซึ่งมีภารกิจหลักในการยกระดับและประสิทธิภาพในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐเห็นว่าหากโรคโควิด 19 ยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจมีผลกระทบต่อการบริหารราชการและการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการและการบริการประชาชนสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จึงเห็นควรเสนอมาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต (รองรับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อฯ ดังกล่าว

                   4. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาและพิจารณาหาแนวทางแก้ไข และพบว่ามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 เรื่อง การบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตได้มีการกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตซึ่งครอบคลุมถึงกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุฉุกเฉินอื่นไว้แล้ว แต่แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตดังกล่าวยังไม่เคยมีการทบทวนหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี (Digital Disruption) รวมทั้งยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีของการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงดังเช่นกรณีของโรคโควิด 19 จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต (รองรับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19) ดังนี้

มาตรการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1. มาตรการเพื่อการปรับเปลี่ยนการให้บริการงานอนุมัติ อนุญาต รับรอง จดแจ้ง หรือจดทะเบียนตามกฎหมาย

   1.1 ให้เร่งประชาสัมพันธ์การให้บริการ e-Service ในทุกช่องทาง รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งประจำ ณ จุดบริการแนะนำประชาชนที่ใช้บริการโดยตรงให้ใช้บริการผ่าน e - Service ในการติดต่อราชการครั้งต่อไป

- หน่วยงานของรัฐที่สามารถให้บริการอนุมัติ อนุญาต รับรอง จดแจ้ง หรือรับจดทะเบียนผ่านระบบ e – Service ได้แล้ว

         เผยแพร่ประชาสัมพันธ์รายชื่องานบริการ e – Service ของภาครัฐ ผ่านช่องทางในความดูแลร่วม

- สำนักงาน ก.พ.ร.

   1.2 ให้กำหนดมาตรการชั่วคราวให้ใช้ช่องทางการรับส่งเอกสารอื่น ๆ แทนการให้ประชาชนเดินทางมาติดต่อด้วยตนเอง เช่น การรับส่งเอกสารทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e - mail) โดยให้ถือว่าเอกสารหลักฐานที่รับส่งผ่านช่องทางดังกล่าวเป็นหลักฐานโดยชอบตามกฎหมายไปพลางก่อน และหากมีความจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนหรือใช้เอกสารต้นฉบับแล้ว ให้เปิดช่องทางให้ประชาชนผู้ขอรับบริการสามารถยืนยันตัวตนหรือแสดงเอกสารต้นฉบับ ณ จุดให้บริการของหน่วยงานของรัฐหลังจากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติได้

- หน่วยงานของรัฐที่ยังไม่สามารถให้บริการอนุมัติ อนุญาต รับรอง จดแจ้ง หรือรับจดทะเบียนผ่านระบบ e - Service ได้

   1.3 ให้ทบทวนกฎหมายที่มีการกำหนดให้ต้องมีการต่ออายุใบอนุญาตสำหรับกิจการหรือการดำเนินการที่มีลักษณะต่อเนื่อง และเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้ประชาชนสามารถชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตด้วยตนเองโดยเร่งด่วน เพื่อลดภาระของ

 

ประชาชนในการดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตและลดความหนาแน่นของจำนวนผู้ขอรับบริการที่หน่วยงาน

- สำนักงาน ก.พ.ร.

- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

    1.4 เร่งรัดการดำเนินงานของศูนย์รับคำขออนุญาตผ่านระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) ให้สามารถให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ ดังนี้

- สำนักงาน ก.พ.ร.

         1.4.1 เร่งรัดการพัฒนาระบบยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ (e - Authentication) โดยใช้ฐานข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถใช้ยืนยันตัวตนผู้ขอรับบริการต่าง ๆ ของภาครัฐและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้ ทั้งนี้ สามารถเปิดให้ภาคเอกชนผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลร่วมพัฒนาเพื่อเป็นทางเลือกร่วมด้วย

- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

- มท. (กรมการปกครอง)

 

          1.4.2 เร่งรัดหน่วยงานของรัฐให้สามารถบริหารราชการและบริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Service) ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเร่งจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ รวมทั้งให้การรับส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนเป็นไปในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e - Document) รวมถึงการออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (e - License) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชนในสภาวะวิกฤตด้วย

- สำนักงาน ก.พ.ร.

- สพร.

           1.4.3 กำหนดแนวทางการรับชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – Payment) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้รับค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดจากประชาชนให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันและเพื่อให้การบริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Service) สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ

- กระทรวงการคลัง (กค.)

  (กรมบัญชีกลาง)

    1.5 ดำเนินการยกระดับงานบริการประชาชนที่เป็นงานบริการจดแจ้ง เช่น การแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของสำนักงานเขตพื้นที่ทั้งหมดให้เป็นระบบ e – Service ได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นหน่วยงานท้องถิ่นต้นแบบในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเพื่อลดการเดินทางของประชาชนไปดำเนินการที่สำนักงานเขตพื้นที่

- กรุงเทพมหานคร

            สนับสนุนการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร

- สำนักงาน ก.พ.ร.

- สพร.

    1.6 พัฒนาการให้บริการประชาชนที่มิใช่งานแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เช่น งานรับแจ้งบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน หรือการรับแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดให้สามารถดำเนินการผ่านระบบ e – Service ได้

- ตช.

2. มาตรการเพิ่มเติมอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยงานของรัฐและลดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19

    2.1 เพิ่มบริการทางเลือกสำหรับการจัดส่งยาถึงบ้านผู้ป่วยต่อเนื่องซึ่งไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจเพิ่มเติมก่อนรับยา โดยให้ใช้บริการส่งทางไปรษณีย์หรือผ่านทางบริษัทขนส่งสินค้าแทนการรับยาด้วยตนเอง และให้ผู้ป่วยที่เลือกใช้บริการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ อาจพิจารณานำเทคโนโลยี

 

หุ่นยนต์ (Robotics) มาใช้ในการให้บริการทางการแพทย์เพื่อช่วยลดการสัมผัสระหว่างบุคลากรทางการแพทย์หรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อด้วย

- สธ.

- โรงพยาบาลของรัฐ

    2.2 เร่งรัดพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยใช้เทคโนโลยีสนเทศและการสื่อสารหรืออุปกรณ์มัลติมีเดียมาใช้ควบคู่กับนวัตกรรมทางการแพทย์และระบบโทรคมนาคมเฉพาะทางรองรับระบบดูแลสุขภาพทางไกล เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในการคัดกรองโรคระบบให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางไกล

- สธ.

    2.3 เร่งรัดพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านช่องทางอื่น ๆ นอกเหนือจากการเรียนที่สถานศึกษา เช่น การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์ (Education Channel) การศึกษาผ่านทางออนไลน์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีในการสอนทางไกลเพื่อรองรับกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีการปิดสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

- กระทรวงศึกษาธิการ

- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

3. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน

    3.1 เพิ่มช่องทางการเข้าสู่ระบบการประเมินอาการและการดูแลตนเองเบื้องต้น (Self – Screening Application) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หน่วยงานหรือจัดทำเป็นแอปพลิเคชัน นอกเหนือจากช่องทางผ่าน Line Application ในปัจจุบัน โดยอาจจัดทำเป็นรายการตรวจสอบ (Checklist) เพื่อให้ประชาชนใช้ในการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น รวมทั้งควรพัฒนาระบบตอบกลับอัตโนมัติ (Chatbot) ซึ่งปัจจุบันให้บริการอยู่แล้วผ่านทาง Line Application เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์หรือแนะนำการดูแลตนเองของประชาชนได้มากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) มาใช้ในการให้บริการข้อมูลเบื้องต้น ณ ท่าอากาศยาน พื้นที่เสี่ยง หรือแหล่งชุมชน

- สธ. (กรมควบคุมโรค)

    3.2 นำระบบ SMS มาใช้ในแจ้งเตือนข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ให้แก่ผู้เดินทางเข้าประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

    3.3 ให้ปรับเปลี่ยนข้อความอัตโนมัติของสายด่วน 1111 ศูนย์บริการภาครัฐเพื่อประชาชน โดยกำหนดช่องทางลัดสำหรับเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เป็นลำดับแรก รวมทั้งเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในหน้าหลักของเว็บไซต์ http://www.1111.go.th

- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

    3.4 ในระยะต่อไปให้เร่งรัดพัฒนาระบบศูนย์กลางการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (Citizen Portal) เพื่อใช้เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับประชาชน โดยออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจได้

- สพร.

                             เพื่อให้มาตรการทั้งหมดข้างต้นมีการนำไปปฏิบัติและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เห็นควรดำเนินการ ดังนี้

                             (1) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (business continuity plan) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ให้เป็นปัจจุบัน โดยนำมาตรการที่กำหนดในข้อ 3.1 – 3.4 มาผนวกไว้ในแผนฯ รวมทั้งปรับปรุงแผนฯ ให้สามารถรองรับกรณีเกิดโรคระบาดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนแผนการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตนั้นให้มุ่งเน้นการนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e – Service) รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนด้วย

                             (2)  ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดส่งแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตที่ปรับปรุงแล้วเสร็จให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐต่อไป

 

13. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 วันที่ 7 ตุลาคม 2562 และวันที่ 3 ธันวาคม 2562

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอขยายระยะเวลาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 วันที่ 7 ตุลาคม 2562 และวันที่ 3 ธันวาคม 2562 จากเดิมกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยขยายระยะเวลาดำเนินการฯ ออกไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณรายการนี้

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า

                   1. ผลการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ โดยธนาคารออมสินได้โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สำเร็จ จำนวน 68,860 ครัวเรือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 344,300,000 บาท และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 71 ครัวเรือน (ธนาคารออมสินยืนยันการโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ จำนวน 10 ครัวเรือน และอยู่ระหว่างจังหวัดตรวจสอบยืนยัน จำนวน 61 ครัวเรือน) (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2563) 

                   2. ขณะนี้ การดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ยังไม่เสร็จสิ้น อยู่ระหว่างธนาคารออมสินและจังหวัดดำเนินการตรวจสอบข้อมูล เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด (31 มีนาคม 2563) เนื่องจากได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาดภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อประชาชน และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แล้ว สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบให้การดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ล่าช้า จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยขอขยายระยะเวลาดำเนินการฯ ออกไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณรายการนี้

 

14. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

                   สาระสำคัญ

                   กระทรวงการคลังเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้

                   1. มาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)

                   จากการเปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบลงทะเบียน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 ถึงวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 เวลา 07.00 น. พบว่า ผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบสิทธิจำนวนทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน จึงได้มีการประเมินว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะมีเพิ่มกว่าที่ได้ประมาณการไว้ อีกทั้ง ตามมาตรา 54 แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม กำหนดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มาตรา 40 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 5 ล้านคน ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 บางส่วนที่ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมแต่เป็นลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำนวน 70,676 คน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 กลุ่มอื่น ๆ นั้น กระทรวงแรงงานและสำนักงานประกันสังคมจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

                       ในการนี้ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นสมควรเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการชดเชยรายได้ฯ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง ดังนี้

                        1.1 ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับสิทธิของมาตรการชดเชยรายได้ฯ ให้ครอบคลุมทั่วถึงผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จากเดิม จำนวน 3 ล้านคน เป็น จำนวน 9 ล้านคน

                       1.2 เพื่อให้สามารถชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างทั่วถึงและทันท่วงที กระทรวงการคลังขอนำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 45,000 ล้านบาท ที่ได้รับจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 มาใช้ในการชดเชยรายได้ครั้งแรก ในเดือนเมษายน 2563 ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบที่ได้รับสิทธิตามมาตรการชดเชยรายได้ฯ ไปพลางก่อน สำหรับในเดือนต่อ ๆ ไป กระทรวงการคลังจะได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดหาแหล่งเงินที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง

                       1.3 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุนที่ได้รับตามมาตรการชดเชยรายได้ฯ โดยให้กรมสรรพากรเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

                       ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการชดเชยรายได้ฯ เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการหรือโครงการ ตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ (ประกาศคณะกรรมการฯ) เรื่อง การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว

                   2. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19)

                       โครงการสินเชื่อฯ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ภายใต้โครงการสินเชื่อฯ ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.20 ต่อปี ซึ่งธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. มีต้นทุนผันแปร (Variable Cost) อยู่ที่ร้อยละ 2.56 และ 2.90 ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนเงิน (Cost of Fund) อยู่ที่ร้อยละ 1.56 และร้อยละ 1.90 ตามลำดับ และค่าใช้จ่ายในการกันเงินสำรองอย่างน้อยธนาคารละร้อยละ 1.00 ของสินเชื่อที่อนุมัติ

                       ดังนั้น กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นสมควรเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการสินเชื่อฯ เพื่อให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายตามที่กล่าวข้างต้น โดยไม่กระทบต่อฐานะและผลการดำเนินงาน โดยพิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับโครงการสินเชื่อฯ ของธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. จำนวนไม่เกิน 1,600 ล้านบาท เพื่อชดเชยต้นทุนการดำเนินงาน (วงเงิน 40,000 ล้านบาท * ร้อยละ 2 * ระยะเวลา 2 ปี) โดยแบ่งเป็นของธนาคารออมสินไม่เกิน 800 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 800 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีต่อ ๆ ไป

                       การดำเนินโครงการสินเชื่อฯ เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ และประกาศคณะกรรมการฯ เรื่องการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว

                       การดำเนินมาตรการดังกล่าวยังเข้าข่ายตามบทบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการมาตรการดังกล่าว และกระทรวงการคลังในฐานะผู้เสนอเรื่องดังกล่าว ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ต้องจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ

                       ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละสามสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยกระทรวงการคลังขอเรียนว่า ณ สิ้นวันที่ 24 มีนาคม 2563 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ มียอดคงค้างจำนวน 893,826.812 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.93 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 (วงเงิน 3,200,000 ล้านบาท) ซึ่งหากรวมภาระทางการคลังที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 (เพิ่มเติม) ของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 682.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.02 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 และโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 10,236.50 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.32 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 จะส่งผลให้ยอดคงค้างทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 904,746.172 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 28.27 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น หากมีการดำเนินมาตรการดังกล่าวจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.05 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 906,346.172 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 28.32 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการฯ ได้ประกาศกำหนดไว้

 

ต่างประเทศ

15. เรื่อง การบริจาคเงินในการเพิ่มทุนของสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 19

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริจาคเพิ่มทุนในสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA) ครั้งที่ 19 (IDA 19) ของประเทศไทย จำนวน 159.91 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 9 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2572 โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                   สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (IDA) เป็นสถาบันในกลุ่มธนาคารโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนที่สุดในรูปแบบเงินให้เปล่า (Grant) และเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน ในครั้งนี้กระทรวงการคลังเสนอให้ไทยบริจาคเงินเพิ่มทุนใน IDA ครั้งที่ 19 (IDA 19) จำนวน 159.91 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 9 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2572 และสามารถบริจาคในรูปแบบเงินบาทได้ จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

                   การบริจาคเพิ่มทุนใน IDA 19 สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป็นการรักษาจุดยืนของประเทศไทยที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะยากจน  ซึ่งรวมถึงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลการพัฒนาของประเทศเหล่านี้ในทางอ้อม ผ่านช่องทางการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยงของภูมิภาคและเป็นการส่งเสริมบทบาทภูมิภาคอาเซียนในการเป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกต่อไป

 

16. เรื่อง การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ทั้งนี้  มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนด ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

                    1. กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง

พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศ ดังนี้

                              1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานหรือบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตาม MoU ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดสามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไปจนถึงระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือสิ้นสุดระยะเวลาตามที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม (หากมี)

                              2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา  ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานราชอาณาจักร ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว กัมพูชาและเมียนมา ซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยใช้บัตรผ่านแดน ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไปจนถึงระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือสิ้นสุดระยะเวลาตามที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม (หากมี)

                   2. กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง  การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักร  เป็นกรณีพิเศษตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดสามารถทำงานไปพลางก่อนได้  จนถึงระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือสิ้นสุดระยะเวลาตามที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม (หากมี)

                    3. หลังสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบปราบปราม จับกุมดำเนินคดีนายจ้าง แรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

                     สาระสำคัญ

                    การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเภทคู่ภาคี มีดังนี้

  1. กลุ่มเป้าหมาย : เป็นคนต่างด้าว 2 กลุ่มคือ

                              1.1 คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน

หนังสือเดินทาง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานหรือบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา  รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่วาระการจ้างงานครบสี่ปีและระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 30 เมษายน 2563

                              1.2 คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งถือบัตรผ่านแดนตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว  พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด  และไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 30 เมษายน 2563

                    2. ลักษณะการดำเนินการ : เป็นการผ่อนปรนให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานได้ต่อไป

                    3. ระยะเวลา : การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร  การอนุญาตให้ทำงานเป็นไปตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

                    ทั้งนี้ หากมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานออกประกาศให้ครอบคลุมตามระยะเวลาดังกล่าวได้ โดยอนุโลม

                    4. ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือสิ้นสุดระยะเวลาตามที่มีการประกาศฯ เพิ่มเติม (หากมี) แรงงานต่างด้าวต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรภายในระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง

 

แต่งตั้ง

17. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้                        

                    รง. มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารภายในหน่วยงาน ดังนั้น เพื่อให้งานด้านการสื่อสารองค์กร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจึงได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมที่แต่งตั้ง นายอภิญญา สุจริตตานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน และแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานชุดใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
                   1. นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) 

                   2. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ)

 

18. เรื่องที่ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2497 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ และแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 ขึ้นใหม่ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

                   (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                          เป็นประธานคณะกรรมการ

                   (2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                     เป็นกรรมการ

                   (3) ปลัดกระทรวงพาณิชย์                                       เป็นกรรมการ

                   (4) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                           เป็นกรรมการ

                   (5) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม                                  เป็นกรรมการ

                   (6) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                  เป็นกรรมการ

                   (7) อธิบดีกรมสรรพากร                                          เป็นกรรมการ

                   (8) อธิบดีกรมศุลกากร                                           เป็นกรรมการ

                   (9) อธิบดีกรมการค้าภายใน                                     เป็นกรรมการ

                   (10) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น                    เป็นกรรมการ

                   (11) อธิบดีกรมการปกครอง                                     เป็นกรรมการ และเลขานุการ

                   โดยให้สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497

 

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายไพศาล หรูพาณิชย์กิจ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก สหรัฐเม็กซิโก ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว

 

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นายธนาวัฒน์  สังข์ทอง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้รักษาราชการแทน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

21. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร รวม 3 คน แทนผู้ที่ลาออก ดังนี้  

                   1. นายณอคุณ สิทธิพงศ์             เป็น ประธานกรรมการ

                   2. นายเบญจพล นาคประเสริฐ     เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

                   3. นายราม สุภา                              เป็น กรรมการภาคเอกชน

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

 

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ จำนวน 10 รูป/คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้ 

                   1. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมมจิตโต)  2. นายสันติ เสือสมิง 3. นายมาโนช แจ้งมุข 4. พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) 5. นายกิตติพันธ์ ใจดี 6. นายปรารพ เหล่าวานิช

7. นายกล้า สมตระกูล  8. นายบัญชา พงษ์พานิช 9. นายอภิชัย พันธเสน 10. นายเกริก มีมุ่งกิจ

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

 

23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดังนี้

                   1. นายวิชิต แสงทองสถิตย์         กรรมการ

                   2. นายพิพัฒน์ ขันทอง              กรรมการ

                   3. นายอิทธิ พงศ์อุสรา              กรรมการ  

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2568
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน วัยโจ๋รอเก้อ! เงินหมื่นเฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่เข้า ครม. ขอฟังความเห็นก่อน
  • ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม. ยก 2 คำถามฟาดวุฒิภาวะ‘อิ๊งค์’ ปรับ‘นายกรัฐมนตรี’ก่อนปรับครม.
  • เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  • สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568 สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2568
  •  

Breaking News

'ทวี เผย DSI ร่อนหมายเรียกสอบ ส.ว.ชุดแรก ตามคำขอ กกต.

(คลิป) มรสุม! 'ทักษิณ' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป 'กาตาร์'

กูรูอีสานไม่ทนฟาดยับ'เก่ง ธชย'ทำไม่ถึง ย่ำยีจารีตคนอีสาน!

‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved