15 เม.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองเขตแดนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่เอกสาร สรุปสาระสำคัญของคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีกัมพูชายื่นคำขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความ คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปีพ.ศ. 2505 ผ่านเว็บไซต์ http://www.phraviharn.org โดยเอกสารดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้
1.คำฟ้องของกัมพูชา
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นคำขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหารปี 2505 สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้
1.1 กัมพูชาระบุว่า ไทยและกัมพูชามีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของ คาพิพากษาปี 2505 ดังนี้
1.1.1 กัมพูชาเห็นว่า คำพิพากษาศาลในคดีเดิมอยู่บนพื้นฐานของการมีอยู่แล้วของ เส้นเขตแดนระหว่างประเทศซึ่งถูกกำหนดและได้รับการยอมรับโดยประเทศทั้งสองแล้ว
1.1.2 กัมพูชาเห็นว่า เส้นเขตแดนดังกล่าวถูกกาหนดโดยแผนที่ที่ศาลได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคาพิพากษา (“แผนที่ภาคผนวก 1”) ซึ่งแผนที่ดังกล่าวทำให้ศาลสามารถตัดสินได้ว่า อธิปไตยกัมพูชา เหนือปราสาทเป็นผลโดยตรงและอัตโนมัติของอธิปไตยกัมพูชาเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาท
1.1.3 กัมพูชาเห็นว่า พันธกรณีของไทยในการถอนทหารและเจ้าหน้าที่ออกจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดนของกัมพูชา เป็นพันธกรณีที่มีลักษณะทั่วไปและต่อเนื่อง และเป็นผลมาจากอธิปไตยแห่งดินแดนของกัมพูชาที่ศาลฯ ได้ยอมรับในบริเวณดังกล่าว
1.2 กัมพูชาอ้างว่า โดยที่ “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา” (วรรคปฏิบัติการที่ 1 ของคาพิพากษาปี 2505) เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่าปราสาทตั้งอยู่ในฝั่งกัมพูชาของเส้นเขตแดนที่ศาลฯ ได้ยอมรับในคำพิพากษาเดิม กัมพูชาจึงขอให้ศาลตัดสินในคดีตีความนี้ว่า พันธกรณีสาหรับไทยในการ “ถอนกองกาลังทหาร หรือตำรวจ หรือผู้เฝ้ารักษา หรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยได้ส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาท หรือในบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดนกัมพูชา” (วรรคปฏิบัติการที่ 2 ของคาพิพากษาปี 2505) เป็นผลโดยเฉพาะของพันธกรณีทั่วไปและต่อเนื่องในการเคารพซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา โดยดินแดนดังกล่าวได้รับการกำหนดในบริเวณปราสาทและบริเวณใกล้เคียงปราสาทโดยเส้นแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งศาลฯ ใช้เป็นพื้นฐานของคาพิพากษา
โดยสรุป กัมพูชาอ้างว่าคำพิพากษาเดิมไม่ชัดเจน และไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยยังมิได้ถอนกำลังทหารหรือตารวจออกจากบริเวณใกล้เคียงปราสาท โดยกัมพูชาให้เหตุผลว่า วรรคปฏิบัติการที่ 2 ของ คาพิพากษาเดิมไม่ระบุชัดเจนว่า “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” ครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ดังนั้น กัมพูชาจึงขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า ขอบเขตของ “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” จะต้องเป็นไปตามเส้นเขตแดนที่ปรากฏบน “แผนที่ภาคผนวก 1” ซึ่งแนบท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในคดีเดิม ตามที่กัมพูชาถ่ายทอดเส้นดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเห็นว่าบริเวณดังกล่าว มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร
2. ข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observations) ของไทย
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 ไทยได้ยื่นข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ศาลฯ โดยข้อสังเกตฯ ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 7 บท สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้
2.1. บทที่ 1 : บทนำ ระบุเกี่ยวกับ
2.1.1 ลำดับกระบวนพิจารณาของศาลฯ ตั้งแต่กัมพูชายื่นคาขอตีความ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 การออกคาสั่งมาตรการชั่วคราว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 และการที่ศาลฯ กำหนดให้ไทยยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554
2.1.2 ข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษาปี 2505 และคำขอตีความของกัมพูชาในปี 2554 โดยชี้ว่าคำขอตีความของกัมพูชามีความวกวน และมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ศาลฯ ตัดสินในประเด็นที่ ศาลฯ ได้ปฏิเสธอย่างชัดแจ้งแล้วที่จะตัดสิน ในคดีเดิมเมื่อปี 2505 ว่า เส้นเขตแดนเป็นไปตาม “แผนที่ภาคผนวก 1” หรือไม่
2.1.3 การปฏิบัติตามคาพิพากษาปี 2505 ของไทย ซึ่งรวมถึงการออกมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 และการก่อสร้างรั้วลวดหนามพร้อมป้ายที่แสดงขอบเขตของ “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” อันเป็น การกำหนดพื้นที่ที่ถอนกองกาลังไทยออกแล้วและกองกาลังไทยจะต้องอยู่ภายนอกพื้นที่นี้ในอนาคต ซึ่งกัมพูชาล้วนตระหนักดีเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวของไทย
2.1.4 การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสารวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (เอ็มโอยู) ปี 2543 ซึ่งไม่มีการอ้างถึงคำพิพากษาปี 2505 จึงเป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคาพิพากษาไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกาหนดเขตแดน แต่ต่อมากัมพูชาได้ละทิ้งท่าทีดังกล่าว รวมทั้งท่าทีที่กัมพูชายึดถือมาตั้งแต่ปี 2505 ว่า ไทยได้ปฏิบัติตาม คำพิพากษาปี 2505 แล้ว เนื่องจากกัมพูชาต้องการพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา
2.1.5 เหตุการณ์ปะทะบริเวณชายแดนที่เกิดขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ไม่มีครั้งใดที่ปรากฏว่า มีการรุกล้ำของกองกำลังไทยเข้าไปใน “ปราสาทหรือบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนกัมพูชา” จึงไม่ใช่หลักฐาน การไม่ปฏิบัติตามคาพิพากษาปี 2505 ของไทย ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่กัมพูชามุ่งที่จะเข้ามา มีอำนาจเหนือพื้นที่ซึ่งกว้างใหญ่กว่าที่กัมพูชาเคยพึงพอใจในอดีต
2.2 บทที่ 2 : ข้อพิพาทในกระบวนการพิจารณาในคดีเดิม (2502-2505) ในบทนี้ ไทยได้วิเคราะห์ขอบเขตของข้อพิพาทในกระบวนการพิจารณาในคดีเดิม ทั้งในชั้นข้อคัดค้านเบื้องต้น (Preliminary Objections Phase) และในชั้นเนื้อหาสาระของคดี (Merits Phase) โดยชี้ให้เห็นว่า ขอบเขตของข้อพิพาทดังกล่าวจากัดเฉพาะประเด็นอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องเขตแดน ดังนี้
2.2.1 หนังสือประท้วงของฝรั่งเศสในปี 2492 รวมทั้งหนังสือประท้วงของกัมพูชาใน ปี 2497 ต่างต้องการให้ไทยถอนกำลังออกจาก “ซากหักพังของปราสาทพระวิหาร” โดยอ้างว่าซากหักพังดังกล่าวอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
2.2.2 คำร้องเริ่มคดีของกัมพูชาในปี 2502 มีความชัดเจนว่า กัมพูชาได้กำหนดขอบเขต ของข้อพิพาทเฉพาะอธิปไตยบน “ ดินแดนผืนหนึ่ง...ซึ่งซากหักพังของปราสาทตั้งอยู่” และไม่ได้ขอให้ ศาลตัดสินเรื่องเขตแดน
2.2.3 คำให้การของคู่ความทั้งที่เป็นข้อเขียนและทางวาจา และคำพิพากษาของศาลฯ ในชั้นข้อคัดค้านเบื้องต้นต่างชี้ว่า ข้อพิพาทในคดีเดิมจำกัดเฉพาะอธิปไตยเหนือปราสาท
2.2.4 เป็นหลักการที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ศาลไม่สามารถพิพากษาเกินกว่าคำขอของคู่ความที่ศาลรับไว้พิจารณา (non ultra petita) ดังนั้น การประเมินประเด็นคำขอตามที่ศาลรับไว้พิจารณา (petitum) ในคดีเดิมจึงจำเป็นสาหรับการเข้าใจขอบเขตของประเด็นที่ได้รับการตัดสินไปแล้วให้ผูกพันคู่ความ (res judicata) ซึ่งจาเป็นสำหรับการพิจารณาว่ากัมพูชามีอำนาจฟ้องในคดีตีความนี้หรือไม่
2.2.5 คำให้การของคู่ความทั้งที่เป็นข้อเขียนและทางวาจาในชั้นเนื้อหาสาระในคดีเดิม ต่างชี้ว่า ประเด็นแห่งข้อพิพาทในปี 2502-2505 จากัดเฉพาะอธิปไตยเหนือปราสาท และประเด็นดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดน โดยศาลฯ นำ “แผนที่ภาคผนวก 1” มาใช้เพียงเพื่อชี้ตาแหน่งที่ตั้งของปราสาท และไม่ใช่เพื่อกำหนดเส้นเขตแดนในบริเวณดังกล่าว
2.2.6 ขอบเขตของข้อพิพาทในคดีเดิมตามที่กัมพูชาได้ยื่นให้ศาลฯ พิจารณาตั้งแต่แรกเริ่ม ได้เปลี่ยนแปลงในช่วงสุดท้ายของกระบวนการพิจารณา โดยกัมพูชาได้พยายามที่จะขยายขอบเขตคำขอ ของตนให้ครอบคลุมเรื่องเขตแดนด้วย ซึ่งศาลฯ ก็ได้ปฏิเสธคำขอดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว
2.3 บทที่ 3 : ความหมายและขอบเขตของคาพิพากษาปี 2505 ในบทนี้ ไทยชี้ให้เห็นว่า คำพิพากษาปี 2505 และสิ่งที่ศาลฯ ตัดสินครอบคลุมเพียงอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเท่านั้น และศาลฯ ไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน หรือสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ดังนี้
2.3.1 ในคำพิพากษาศาลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ในชั้นเนื้อหาสาระของคดี (Merits Phase) ศาลฯ ได้ตอบคำขอที่กัมพูชายกขึ้นในคำร้องเริ่มคดี (เรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทและเรื่องการถอนเจ้าหน้าที่ทหารไทยออกจากบริเวณสิ่งหักพังของปราสาท) และตอบคำขอเพิ่มให้ในประเด็นที่ให้ไทยคืน “วัตถุทางวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นประเด็นที่กัมพูชายกขึ้นในภายหลังระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี แต่ศาลฯ ปฏิเสธอย่างชัดแจ้งที่จะตอบคำขอของกัมพูชาที่จะขยายประเด็นแห่งคดีให้รวมถึงการกำหนดเขตแดนระหว่างไทย กับกัมพูชา และสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1
2.3.2 ขอบเขตและเนื้อหาของบทปฏิบัติการของคาพิพากษาปี 2505 ชี้ให้เห็นว่า โดยผลลัพธ์นั้น ศาลฯ ตัดสินเพียงประการเดียวว่าปราสาทตั้งอยู่บนดินแดนซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา (วรรคปฏิบัติการที่ 1) ส่วนพันธกรณีในการถอนทหาร (วรรคปฏิบัติการที่ 2) และพันธกรณีในการคืนวัตถุทางวัฒนธรรม (วรรคปฏิบัติการที่ 3) นั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติของการที่กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท ไม่ว่ากัมพูชาจะขอศาลฯ ตัดสินในประเด็นดังกล่าวด้วยหรือไม่ก็ตาม
2.3.3 ในคำพิพากษาปี 2505 ศาลฯ ได้จำกัดขอบเขตของข้อพิพาทไว้เพียงอธิปไตย เหนือปราสาท เส้นเขตแดนและแผนที่ต่างๆ เกี่ยวข้องเพียงเท่าที่สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับประเด็นอธิปไตยนี้ แต่ไม่อาจยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่ศาลต้องตัดสินชี้ขาด
2.3.4 ขอบเขตและเนื้อหาของบทปฏิบัติการถูกจากัดโดยคำขอตามที่ศาลรับไว้พิจารณา (petitum) และคำขอที่ศาลรับไว้พิจารณาในคดีนี้คือ อธิปไตยเหนือปราสาท ตามที่ปรากฏในคำแถลง สรุปสุดท้ายของกัมพูชาข้อ 3 และในคำร้องเริ่มคดี (“ดินแดนผืนหนึ่งซึ่งบริเวณสิ่งหักพังของปราสาทตั้งอยู่”) ซึ่งกัมพูชาเองต้องเห็นว่า “ดินแดนผืนหนึ่งของกัมพูชา” มีพื้นที่จำกัด มิเช่นนั้นก็คงไม่มีเหตุผลประการใด ที่กัมพูชาจะขอขยายประเด็นแห่งคดีให้รวมถึงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา และสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ด้วยเหตุนี้ เนื้อหาของวรรคปฏิบัติการที่ 1 ของคำพิพากษา (ปราสาทตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา) จึงมีขอบเขตที่จำกัด และพันธกรณีในการถอนทหารและคืนวัตถุโบราณ (วรรคปฏิบัติการที่ 2 และ 3) ซึ่งเป็นผลที่ตามมาของวรรคปฏิบัติการที่ 1 จึงมีขอบเขตพื้นที่ที่จำกัดด้วยเช่นกัน
2.3.5 นอกจากนี้ พันธกรณีในการถอนกำลังตามวรรคปฏิบัติการที่ 2 ศาลฯ นั้น ก็ระบุด้วยว่าเป็นการยอมรับตามคำแถลงสรุปสุดท้ายของกัมพูชาข้อ 4 ซึ่งขอให้ศาลฯ วินิจฉัยชี้ขาดให้ไทยถอนกำลังทหารจาก “บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหาร” ดังนั้น คำว่า “ณ ปราสาทหรือบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนกัมพูชา” ในวรรคปฏิบัติการที่ 2 จึงหมายความถึง “บริเวณสิ่งหักพังของปราสาทพระวิหาร” นั่นเอง
2.3.6 การวิเคราะห์ถ้อยคำต่างๆ ที่ศาลฯ ใช้ในคำพิพากษาปี 2505 ได้แก่ “ปราสาท” ในวรรคปฏิบัติการที่ 1 “ณ ปราสาทหรือบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนกัมพูชา” ในวรรคปฏิบัติการที่ 2 และ “พื้นที่ปราสาท” ในวรรคปฏิบัติการที่ 3 ต่างแสดงให้เห็นถึงขอบเขตพื้นที่ที่จากัดและเป็นการยืนยันว่าคำพิพากษา ปี 2505 มีขอบเขตทางพื้นที่ที่จากัด
2.3.7 ศาลฯ ใช้เส้นแผนที่ภาคผนวก 1 ในส่วนเหตุผลของคำพิพากษาเพียงเพื่อชี้ว่าปราสาทเป็นของกัมพูชาหรือของไทย
2.4 บทที่ 4 : ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาและกัมพูชาไม่มีอานาจฟ้อง ไทยชี้ให้ศาลฯ เห็นว่า ศาลฯ ไม่มีอานาจในการตีความและไม่ควรรับคดีไว้พิจารณา การที่ศาลฯ วินิจฉัยว่า ศาลฯ มีอำนาจเบื้องต้น ในชั้นคำสั่งออกมาตรการชั่วคราวไม่ได้หมายความว่าศาลฯ จะมีอานาจในการพิจารณาคำขอตีความอันเป็นคดีหลัก โดยยกเหตุผล ดังนี้
2.4.1 ไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทเรื่องความหมายและขอบเขตของคาพิพากษาปี 2505 เนื่องจากคาพิพากษาดังกล่าวมีความชัดเจนอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการวินิจฉัยว่า ไทยหรือกัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท ศาลฯ ไม่จาเป็นต้องวินิจฉัยเรื่องขอบเขตของดินแดนของแต่ละฝ่าย และขอบเขตของพันธกรณีในการถอนทหาร ณ ปราสาทหรือบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนกัมพูชา ในวรรคปฏิบัติการที่ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากอธิปไตยเหนือปราสาทในวรรคปฏิบัติการที่ 1 ย่อมไม่อาจเกินขอบเขตของวรรคปฏิบัติการที่ 1 ได้
2.4.2 ไม่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีในประเด็นว่าไทยได้ปฏิบัติตามคาพิพากษาแล้วและกัมพูชาได้ยอมรับแล้ว โดยมีหลักฐานหลายประการ อาทิ เอกสารต่างๆ ในปี 2505 โดยเฉพาะถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาต่อสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2505 ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคาพิพากษาแล้ว การเสด็จยังปราสาทของเจ้าสีหนุในวันที่ 5 มกราคม 2506 และพฤติกรรมของกัมพูชาในภายหลังที่แสดงว่าพอใจกับการปฏิบัติตามคาพิพากษาของไทยแล้ว นอกจากนี้ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษา หากปรากฏอยู่จริง ก็อยู่นอกขอบเขตของข้อ 60 ของธรรมนูญศาลเกี่ยวกับ การตีความ
2.4.3 วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกัมพูชาที่ยื่นคำขอต่อศาลฯ ในครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อการตีความ แต่เพื่อให้ศาลฯ ตัดสินประเด็นเรื่องเขตแดน ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลฯ ไม่ได้ตัดสินไว้ในคาวินิจฉัยเมื่อปี 2505
2.5 บทที่ 5 : การตีความที่ผิดของกัมพูชาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 ไทยชี้ให้ศาลฯ เห็นว่า กัมพูชาเข้าใจความหมายของคำพิพากษาผิดในประเด็นที่สาคัญต่าง ๆ 3 ประเด็น ซึ่งในบทนี้ ฝ่ายไทยมุ่งโต้แย้งการตีความคำพิพากษาของกัมพูชา โดยยืนยันว่า
2.5.1 การที่กัมพูชาตีความคำพิพากษาในประเด็นว่า ศาลฯ ตัดสินเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย เหนือดินแดนเป็นการตีความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง และแผนที่ไม่ใช่เหตุผลสาคัญที่ไม่อาจแยกออกจากบทปฏิบัติการ
2.5.2 พันธกรณีของไทยที่จะต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ไม่ใช่พันธกรณีต่อเนื่อง (Continuing Obligation) หากแต่เป็นพันธกรณีที่เฉพาะเจาะจงและในทันที “specific and immediate obligations” และ
2.5.3 ไทยได้ถอนกาลังเจ้าหน้าที่แล้วเมื่อปี 2505
2.6 บทที่ 6 : รายงานของผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของฝ่ายไทย รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า
2.6.1 การถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 ลงในแผนที่สมัยใหม่หรือลงในภูมิประเทศจริง จะเกิดความผิดพลาด ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด และไม่สามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากเทคนิคในการถ่ายทอดมีหลายวิธี ซึ่งจะทาให้เกิดเส้นผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน และไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่า วิธีการถ่ายทอดวิธีใดเหมาะสมกว่าวิธีอื่น ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการต่าง ๆ กันอาจเป็นผลให้เกิดความแตกต่างในพื้นที่กว้างหลายกิโลเมตร ดังนั้น หากศาลฯ จะตัดสินให้ใช้แผนที่ภาคผนวก 1 แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา กลับจะสร้าง ข้อพิพาทใหม่ให้คู่กรณี โดยเฉพาะในการเลือกจุดอ้างอิง
2.6.2 International Boundary Research Unit (IBRU) ค้นพบแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 อีกฉบับหนึ่งซึ่งแตกต่างจากแผนที่ภาคผนวก 1 ที่กัมพูชายื่นต่อศาลฯ
2.6.3 ดังนั้น ศาลฯ จึงไม่ควรตัดสินว่า ให้เส้นเขตแดน หรือเส้น “บริเวณใกล้เคียง (vicinity)” เป็นไปตามแผนที่ภาคผนวก 1
2.7 บทที่ 7: บทสรุปและคำแถลง
ไทยขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า
2.7.1 ศาลฯ ไม่มีอานาจที่จะตีความและไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณา
2.7.2 หรือหากศาลฯ เห็นว่า ศาลฯ มีอำนาจและสามารถรับคดีไว้พิจารณาได้ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ศาลฯ จะตีความคาพิพากษา ปี 2505
2.7.3 หรือหากศาลฯ เห็นว่าตนเองมีเหตุผลที่จะตีความคาพิพากษาดังกล่าวแล้ว ก็ขอให้
ศาลฯ ตัดสินว่า คำพิพากษาศาลฯ ในปี 2505 มิได้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตาม “แผนที่ภาคผนวก 1”
3. คำตอบ (Response) ของกัมพูชา
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 กัมพูชาได้ยื่นคำตอบแก่ศาลฯ โดยคาตอบดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 บท สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้
3.1 บทนำ กัมพูชาระบุว่า ข้อสรุปของฝ่ายไทยในข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ถูกต้อง บิดเบือนข้อเท็จจริง และเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ถึง 5 ประการ ได้แก่
3.1.1 กัมพูชาขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาฯ ปี 2505 แต่ไทยกลับหยิบยกเรื่องการปฏิบัติตามคาพิพากษาของศาลฯ เป็นข้อต่อสู้ ซึ่งเป็นคนละประเด็น
3.1.2 ไทยกล่าวหาว่า คำขอของกัมพูชามีนัยเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาฯ หรือขอให้ศาลฯ ทบทวนคดี ทั้ง ๆ ที่กัมพูชากล่าวย้ำเสมอว่าต้องการขอตีความคำพิพากษาฯ ซึ่งแตกต่างกัน
3.1.3 ไทยยกข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากคำพิพากษาฯ เพื่ออ้างว่ากัมพูชาได้ยอมรับ การปฏิบัติตามคาพิพากษาแล้ว และไม่สามารถขอให้ศาลฯ ตีความได้ ทั้งๆ ที่การตีความคำพิพากษาจะต้องพิจารณาจากตัวบทของคำพิพากษาเท่านั้น
3.1.4 กัมพูชาไม่ได้กล่าวอ้างว่า ศาลฯ ในปี 2505 ได้ปักปันเขตแดนบนพื้นฐานของเส้น บนแผนที่ภาคผนวก 1 ตามที่ไทยกล่าวหา และศาลฯ ไม่ได้ปักปันเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาขึ้นใหม่ เพียงแต่ยอมรับเส้นเขตแดนระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้ว
3.1.5 ไทยหลีกเลี่ยงที่จะอธิบายว่าเพราะเหตุใดแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ใช่เหตุผลสำคัญ ที่ไม่อาจแยกจากคำพิพากษาได้ และไม่สามารถตีความได้
นอกจากนี้ กัมพูชาต่อสู้ว่า การที่ไทยนาเสนอว่า ศาลฯ ต้องจำกัดขอบเขตของคาพิพากษาตามที่คู่ความคิดหรือกระทำเป็นการแทรกแซงบูรณภาพและความเป็นอิสระของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมของศาล
3.2 บทที่ 2: ข้อเท็จจริงที่แสดงว่ากัมพูชาไม่เคยยอมรับการตีความฝ่ายเดียวของไทย กัมพูชาชี้ให้เห็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงของไทยในข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษร และนำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่เคยยอมรับการตีความฝ่ายเดียวของไทย นอกจากนี้ การประท้วงต่าง ๆ ของกัมพูชาเกี่ยวกับรั้วลวดหนามตามมติคณะรัฐมนตรีไทยปี 2505 ในหลายโอกาส สะท้อนให้เห็นว่ากัมพูชาปฏิเสธที่จะยอมรับการปฏิบัติตาม คาพิพากษาฯ ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง และความขัดแย้งในการยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2550 ทำให้สามารถสรุปได้ว่า มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคาพิพากษาฯ ซึ่งข้อพิพาทดังกล่าวคือเหตุผลที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลฯ ตีความในครั้งนี้
3.3 บทที่ 3 อำนาจศาลและอานาจฟ้อง: เงื่อนไขสำหรับศาลในการตีความคาพิพากษามีครบถ้วนในคดีนี้กัมพูชานำเสนอเหตุผลสนับสนุนว่า ศาลฯ มีอำนาจที่จะพิจารณาคาขอตีความคำพิพากษาฯ ของกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ศาลฯ และศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศได้กาหนดไว้ในคดีก่อน ๆ ทั้งในประเด็นอานาจของศาลฯ (Jurisdiction) และอำนาจฟ้อง (admissibility) กล่าวคือ มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคาพิพากษาฯ ปี 2505 ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ล่วงเลยกว่า 50 ปีไม่ทาให้สิทธิในการขอตีความคาพิพากษาเสียไป และกัมพูชาไม่ได้ยื่นขอให้ศาลฯ ตีความในประเด็นที่ศาลฯ ไม่ได้รับพิจารณา ในปี 2505
3.4 บทที่ 4: การตีความที่มีความจำเป็นตามคำขอของกัมพูชา กัมพูชานาเสนอเหตุผลความจำเป็นในการตีความคาพิพากษา และแนวทางการตีความคำพิพากษาฯ ที่กัมพูชาเห็นว่าถูกต้อง โดยวิเคราะห์ ความเชื่อมโยงระหว่างบทปฏิบัติการกับส่วนเหตุผลของคำพิพากษาฯ ตามแนวทางคาตัดสินของศาลฯ อนุญาโตตุลาการและศาลระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเหตุผลที่ไม่อาจแยกจากบทปฏิบัติการได้และมีสถานะเป็นสิ่งที่ศาลฯ ได้ตัดสินให้มีผลผูกพัน (res judicata) ดังนั้น ศาลฯ จึงสามารถตีความได้ นอกจากนี้ กัมพูชาได้ยืนยันการตีความคำพิพากษาฯ ตามคำขอของกัมพูชาวันที่ 28 เมษายน 2554 พร้อมกับโต้แย้งการตีความคำพิพากษาฯ ของไทยว่า
3.4.1 กัมพูชาไม่ได้ขอให้ศาลฯ ทบทวนคำพิพากษาฯ
3.4.2 กัมพูชาไม่ได้ขอให้ศาลฯ ชี้ขาดเรื่องเขตแดน และการที่ฝ่ายไทยแยกประเด็นข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับข้อพิพาทเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนว่าเป็นคนละประเด็นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะข้อพิพาท ทั้งสองประเภทมีความสัมพันธ์กันโดยตรง
3.4.3 การปฏิบัติตามคำพิพากษาฯ ของไทยเป็นการตีความฝ่ายเดียวที่ไม่ผูกพันกัมพูชา
3.4.4 พันธกรณีในการถอนทหารตามวรรคปฏิบัติการที่ 1 ของคำพิพากษาฯ เป็นพันธกรณี ที่ต่อเนื่อง
3.5 บทที่ 5: บทสรุปและคำแถลง
ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโน้มน้าว ให้ศาลฯ ทบทวนและอุทธรณ์คำพิพากษาฯ อีกทั้งข้อสังเกต เป็นลายลักษณ์อักษรและเอกสารภาคผนวกของไทยมีเนื้อหาสาระไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาของศาลฯ ในการตีความคำพิพากษาฯ ปี 2505 ซึ่งไม่สามารถลบล้างเหตุผลของกัมพูชาที่แสดงให้เห็นว่า ศาลฯ สามารถตีความคาพิพากษาฯ ได้ และการตีความที่ถูกต้องอยู่บนพื้นฐานของแผนที่ภาคผนวก 1
4. คำอธิบายเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษร (Further Written Explanations) ของไทย
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ไทยได้ยื่นคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ศาลฯ โดยคำอธิบายฯ ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 บท สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
4.1 บทที่ 1 : บทนำ ฝ่ายไทยได้กล่าวถึงจุดอ่อนที่สาคัญของคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรของกัมพูชา ได้แก่
4.1.1 คำขอตีความคาพิพากษาฯ ปี 2505 ของกัมพูชามีความสับสน และขาดความสอดคล้องกัน อาทิ เดิมใช้บทปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษาฯ ปี 2505 เป็นพื้นฐานในการขอให้ศาลฯ ตีความ คำพิพากษาฯ ปี 2505 ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นมาใช้บทปฏิบัติการที่ 1 เป็นพื้นฐานด้วย
4.1.2 ข้อต่อสู้ของกัมพูชาเกี่ยวกับแผนที่ภาคผนวก 1 (Annex I) ที่ว่าแผนที่ฉบับดังกล่าวเป็นเหตุผลสำคัญประการเดียวของผลคำพิพากษา ซึ่งไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล และไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
4.1.3 กัมพูชาไม่ตอบบทวิเคราะห์คำพิพากษาและบริบทของการตัดสินของศาลฯ ในปี 2505 และประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องแผนที่ระวางดงรักที่ไทยได้นำเสนอในข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรของไทย
4.1.4 กัมพูชาบิดเบือนข้อเท็จจริงหลายประการ อาทิ
4.1.4.1 อ้างว่าไทยขอให้ศาลฯ แก้ไขคาพิพากษาฯ ปี 2505
4.1.4.2 อ้างว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นส่วนหนึ่งของคาพิพากษาฯ และสร้างหลักฐานทางแผนที่ที่ไม่ถูกต้อง
4.1.4.3 พยายามชี้นำว่า การที่ศาลฯ ในปี 2505 ไม่รับพิจารณาประเด็นเส้นเขตแดนและสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเพียงเพราะเหตุผลทางกระบวนการพิจารณาคดี (ขอช้าไป) ทั้งที่จริงแล้วมีนัยด้านสารัตถะที่สาคัญ (ขอเพิ่มนอกขอบเขตคาฟ้อง)
4.2 บทที่ 2 : สาระสาคัญของข้อพิพาทปี 2505 และข้อพิพาทที่กัมพูชาเสนอต่อศาลฯ ในปี 2554
4.2.1 นำเสนอความแตกต่างระหว่างข้อพิพาทที่ศาลฯ ได้ตัดสินในปี 2505 และข้อพิพาท ที่กัมพูชาเสนอต่อศาลฯ ในปัจจุบัน กล่าวคือ ข้อพิพาทเมื่อปี 2505 เป็นเรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลฯ ได้ตัดสินไปแล้ว แต่ประเด็นที่กัมพูชาเสนอให้ศาลฯ ตีความเป็นพื้นที่นอกเหนือจากตัวปราสาท พระวิหารและตาแหน่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา
4.2.2 เมื่อข้อพิพาทในปี 2505 กับประเด็นที่กัมพูชาขอให้ศาลฯ ตีความไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ศาลฯ ก็ไม่สามารถตีความได้
4.3 บทที่ 3 : อำนาจศาล
4.3.1 ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาฯ ในปี 2505 ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญในการขอตีความ ดังนั้น กัมพูชาไม่มีอานาจฟ้อง และศาลฯ ไม่สามารถตีความคำพิพากษาฯ ตามที่กัมพูชาร้องขอได้
4.3.2 ศาลฯ ในปี 2505 ไม่รับพิจารณาประเด็นสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 และตาแหน่งของเส้นเขตแดน ซึ่งมีผลทำให้ประเด็นดังกล่าวทั้งสองไม่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ศาลฯ สามารถตีความได้ กล่าวคือ สิ่งที่ศาลฯ ได้ตัดสินให้มีผลผูกพัน
4.3.3 ความพยายามของกัมพูชามีผลเสมือนเป็นการอุทธรณ์ให้ศาลฯ ในปัจจุบันกลับมาให้สถานะแผนที่ภาคผนวก 1 และพิจารณาเรื่องเส้นเขตแดน ซึ่งไม่สามารถกระทำได้
4.4 บทที่ 4 : ประเด็นที่ศาลฯ ได้ตัดสินให้มีผลผูกพัน
4.4.1 แม้ศาลฯ พิจารณาว่ามีอานาจในการตีความคำพิพากษาฯ ปี 2505 ศาลฯ จะสามารถตีความได้เฉพาะประเด็นที่ได้ตัดสินให้มีผลผูกพันแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในส่วนบทปฏิบัติการของคาพิพากษาฯ เท่านั้น
4.4.2 การนำส่วนเหตุผลของคำพิพากษาฯ มาพิจารณาประกอบการตีความนั้นจะกระทาได้ต่อเมื่อบทปฏิบัติการมีความคลุมเครือ อย่างไรก็ดี บทปฏิบัติการของคาพิพากษาฯ ปี 2505 มีความชัดเจน ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาแผนที่ภาคผนวก 1 ประกอบการตีความ
4.4.3 แผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ใช่เหตุผลที่แยกออกจากคำพิพากษาฯ ไม่ได้ แต่เป็นเพียงเหตุผลหนึ่งที่ศาลฯ พิจารณาเลือกใช้เท่านั้น ซึ่งในกรณีดังกล่าวศาลฯ ได้ใช้เหตุผลอื่นในการพิจารณาด้วย ได้แก่ การเสด็จฯ เยือนปราสาทพระวิหารของสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ การที่ไทยไม่ได้ยกประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารในที่ประชุมคณะกรรมการประนอมฝรั่งเศส-สยาม ที่ กรุงวอชิงตันใน ปี ค.ศ. 1947 การที่ไทยผลิตแผนที่ของตนเอง 2 ฉบับที่แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในฝั่งกัมพูชา
การที่ไทยนิ่งเฉยต่อหนังสือประท้วงของฝรั่งเศสและของกัมพูชาซึ่งระบุว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเป็นของฝรั่งเศส/กัมพูชา นอกจากนี้ กัมพูชาต้องการให้ตีความแผนที่ภาคผนวก 1 เส้นเขตแดน (อธิปไตยเหนือปราสาท) กัมพูชาจึงไม่สามารถนาแผนที่ภาคผนวก 1 มาใช้ประกอบการตีความบทปฏิบัติการ ของคาพิพากษาฯ ได้
4.4.4 ฝ่ายไทยนาเสนอการตีความคาพิพากษาฯ ปี 2505 ที่ถูกต้อง ดังนี้ กระบวนพิจารณาคดีเมื่อปี 2505 ที่ฝ่ายไทยได้ถอนทหารออกไปแล้ว
4.4.4.2 พันธกรณีในการถอนทหารเป็นพันธกรณีแบบทันทีทันใดและปฏิบัติได้ ครั้งเดียว ซึ่งไทยได้ปฏิบัติโดยสมบูรณ์แล้ว
4.5 บทที่ 5 : บทสรุปและคำแถลง
ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ศาลฯ ต้องระบุว่า ศาลฯ ไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนในปี 2505 โดยในคำแถลงสรุป ไทยขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า
4.5.1 ศาลฯ ไม่มีอานาจที่จะตีความและไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณา
4.5.2 หรือหากศาลฯ เห็นว่า ศาลฯ มีอำนาจและสามารถรับคดีไว้พิจารณาได้ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ศาลฯ จะตีความคำพิพากษา ปี 2505 และ
4.5.3 ขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า คำพิพากษาศาลฯ ในปี 2505 มิได้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตาม “แผนที่ภาคผนวก 1”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี