วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
บทความพิเศษ : สกลนครโมเดล : แบบแผนของเกษตรแม่นยำ

บทความพิเศษ : สกลนครโมเดล : แบบแผนของเกษตรแม่นยำ

วันพุธ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

1.คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ผมเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก และตกลงเลือกพื้นที่อำเภอวานรนิวาส และอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ทำงาน โดยมี ส.ส.สกุณา  สาระนันท์ เจ้าของพื้นที่และเป็นกรรมาธิการ เป็นผู้ประสานงานการขับเคลื่อนในพื้นที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ทำงานร่วมกับคณาจารย์ และทีมนักวิจัยที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากมาย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตพังโคน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

สำหรับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย และแก้ปัญหาในการทำมาหากินของชาวบ้าน ในจังหวัดสกลนคร (อำเภอวานรนิวาส และอำเภอบ้านม่วง)  มี 6 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้


2. หนึ่ง การปรับปรุงดิน เพราะสภาพดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังที่ไม่เก็บน้ำ และขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงไม่สามารถปลูกพืชได้ ซึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ พบว่า จุลินทรีย์ในพื้นที่สามารถช่วยย่อยเศษใบไม้และสารในดิน เพื่อเปลี่ยนสภาพดินลูกรังให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ได้ ภายในระยะเวลา 1 เดือน ดังนั้น องค์ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ จะสามารถทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นำไปปรับปรุงดินในพื้นที่ให้มีคุณภาพในการเพาะปลูกและสร้างรายได้ รวมไปถึงการนำดินที่อุดมสมบูรณ์นี้ไปขายให้แก่เกษตรกรรายอื่นนอกพื้นที่ได้อีกด้วย

สอง การบริหารจัดการน้ำ เพราะพื้นที่ปฏิบัติการในอำเภอทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีระบบส่งน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งถ้าต้องรอให้มีการพัฒนาความจุของแหล่งน้ำ และระบบการกระจายน้ำของกรมชลประทาน ชาวบ้านคนต้องทนเดือดร้อนต่อไปอีกหลายปี หรือตลอดไป ดังนั้น การนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรจึงเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้การกระจายน้ำจากบ่อขุดเจาะบาดาลเพื่อการเกษตรผ่านท่อไปยังแปลงเพาะปลูกน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด และสามารถใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์สูบน้ำในเวลากลางวัน และเก็บพักน้ำเอาไว้ในบ่อหรือถังเก็บน้ำ เพื่อที่จะปล่อยน้ำออกไปยังแปลงเพาะปลูกเมื่อต้องการ เพื่อประหยัดค่าใชจ่ายได้อีกด้วย

3. สาม การปลูกพืชสวนครัว เพราะเกษตรกรตามชนบทส่วนใหญ่แล้ว ขาดเงินออม และมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุกวัน เพื่อการดำรงชีวิต ดังนั้น การปลูกพืชที่สามารถสร้างรายได้ที่รวดเร็ว จึงน่าจะตรงกับความต้องการ เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง หรือผักสลัดต่างๆ ที่ใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว เป็นต้น

ด้วยความที่การปลูกพืชสวนครัวต้องเริ่มต้นและสามารถเก็บขายเพื่อหารายได้ในทุกสัปดาห์ การวางแผนการปลูกพืชสวนครัวแต่ละชนิด ในแบบสลับแปลงเป็นระยะ จึงเป็นกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันแมลง และโรคต่างๆ

สี่ การสร้างมูลค่าให้กับสมุนไพร เพราะสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง แต่ขาดการพัฒนาด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันจึงปลูกกันตามมีตามเกิด และขายตามน้ำหนักที่ชั่งวัดได้เท่านั้น ราคาจึงต่ำ รายได้เลยน้อย ทั้งๆ ที่ถ้าเปลี่ยนจากการขายตามน้ำหนักมาเป็นการขายสารสกัดจากสมุนไพรที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ราคาจะแตกต่างกันถึงสิบเท่าหรือร้อยเท่าเลยทีเดียว

4. ห้า การยกระดับกระบวนการผลิตคราม เพราะครามเป็นพืชที่คนไทยใช้เพื่อการย้อมสีเสื้อผ้ามาเป็นเวลานานแล้ว แต่การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้ครามยังไม่เต็มศักยภาพนัก ด้วยข้อจำกัดของกระบวนการผลิตที่มีความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และปัจจัยตามธรรมชาติของการได้มาซึ่งสี ดังนั้น ข้อจำกัดดังกล่าวจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้หลายด้านเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การปลูกครามเพื่อให้ได้ผงครามตามมาตรฐานและปริมาณสูง การพัฒนาผงครามให้พร้อมใช้อย่างสะดวกแก่คนทั่วไป การก่อหม้อครามเพื่อให้ได้ผ้าย้อมครามสีมาตรฐาน ไปจนถึงการกำหนดแถบสีต่างๆ ของครามเพื่อให้เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจผ้าครามในอนาคต เป็นต้น

หก การพัฒนาป่าเศรษฐกิจครอบครัว เพราะป่าชุมชนที่อยู่ในที่ดินของเอกชน และชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นใช้ป่าเป็นแหล่งอาหาร และการสร้างรายได้ เนื่องจากตลอดทั้งปีชาวบ้านสามารถเก็บพืชผัก สมุนไพร แมลง เห็ด กลอย และมันต่างๆ เป็นอาหารเพื่อเลี้ยงท้อง และสินค้าเพื่อเลี้ยงชีพได้ เป็นต้น

ดังนั้น การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปสนับสนุน จะช่วยให้ผลผลิตจากป่ามีปริมาณและมูลค่าขยับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่ป่าให้ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ต่อไป เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในอนาคต

ทั้ง 6 แนวทางดังที่ได้นำเสนอไป คือการพัฒนาและการยกระดับการทำเกษตรและรักษาป่าในพื้นที่สกลนคร เพื่อหวังเป็น “แบบแผน” ให้กับพื้นที่อื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการดำเนินงานของโครงการสกลนครโมเดล จนถึงตอนนี้ก็เดินหน้ามาประมาณ 6 เดือนแล้ว และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เดินทางไปติดตามความคืบหน้าของโครงการด้วย ซึ่งมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจอยากนำมาเล่าให้ได้รับทราบกัน ดังนั้น บทความของอาทิตย์หน้าต้องห้ามพลาดนะครับ

 

กนก วงษ์ตระหง่าน 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : การยกเว้นวีซ่าแก่จีนที่ไม่คุ้มค่าและอันตราย บทความพิเศษ : การยกเว้นวีซ่าแก่จีนที่ไม่คุ้มค่าและอันตราย
  • บทความพิเศษ : ถาม-ตอบ ทุกประเด็นคาใจ  ไขข้อสงสัยกรณี ทรูไอดี VS อ.พิรงรอง บทความพิเศษ : ถาม-ตอบ ทุกประเด็นคาใจ ไขข้อสงสัยกรณี ทรูไอดี VS อ.พิรงรอง
  • บทความพิเศษ : ประชาธิปไตย แบบไทยคิด บทความพิเศษ : ประชาธิปไตย แบบไทยคิด
  • บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี  กันใหม่ จะดีไหม (4) บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี กันใหม่ จะดีไหม (4)
  • บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี  กันใหม่ จะดีไหม (3) บทความพิเศษ : เรามาคิดวิธีสรรหานายกรัฐมนตรี กันใหม่ จะดีไหม (3)
  • บทความพิเศษ : เมื่อผมถูกน้ำท่วม อยู่ถึง 2 เดือน บทความพิเศษ : เมื่อผมถูกน้ำท่วม อยู่ถึง 2 เดือน
  •  

Breaking News

‘กสม.’ประณามกัมพูชาโจมตีพลเรือน-วอนทุกฝ่ายหยุดสร้างความเกลียดชังเชื้อชาติ

เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved