วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
‘สามารถ’ฟันธง ค่าโดยสาร‘รถไฟฟ้า’ทั้งวันทุกสายไม่อั้นเป็นไปได้ แต่ราคาต้องสมเหตุสมผล-รัฐจ่ายชดเชย

‘สามารถ’ฟันธง ค่าโดยสาร‘รถไฟฟ้า’ทั้งวันทุกสายไม่อั้นเป็นไปได้ แต่ราคาต้องสมเหตุสมผล-รัฐจ่ายชดเชย

วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 21.04 น.
Tag : ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถไฟฟ้า สามารถราชพลสิทธิ์ รัฐจ่าย
  •  

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวในรายการ “แนวหน้าTalk” ทางช่องยูทูบ “แนวหน้าออนไลน์” ซึ่งมี นายจิตกร บุษบา เป็นพิธีกร ในประเด็นนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ที่มีข่าวว่าทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ว่า ตนเห็นด้วยกับการทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ต้องอยู่บนความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้

โดยหากย้อนไปในปี 2547 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยนั้นคือนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งก็เป็นคนเดียวกับ รมว.คมนาคมคนปัจจุบัน ก็เคยพยายามจะทำให้อยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะรัฐก็ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อสัมปทานคืน ต่อมาในปี 2554 รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ต้องการทำให้ค่าโดยสารอยู่ที่ 20 บาทตลอดสายอีก แต่สุดก็ทำไมได้เช่นกัน ในเวลานั้นตนตั้งกระทุ้ถามแล้วก็ได้รับคำตอบว่า ต้องรอให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วเสร็จครบ 10 สายเสียก่อน ซึ่งก็ไม่มีทางเป็นไปได้ภายใน 4 ปี


แต่การเลือกตั้งในปี 2562 และปี 2566 พรรคเพื่อไทยก็ยังคงหาเสียงเรื่องนี้เช่นเดิม ซึ่งตนก็เสนอแนะว่ารัฐบาลสามารถทำได้หากยินดีชดเชยการขาดทุน และไม่จำเป็นต้องรอถึงปีใหม่ อย่างสายสีแดงและสีม่วง สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 และสุดท้ายก็เริ่มทำในวันที่ 16 ต.ค. ปีเดียวกัน แน่นอนว่าผลที่ออกมาคือขาดทุน ซึ่งจริงๆ หากจะพูดให้เป็นธรรมคือของเดิมก็ขาดทุนกันมาก่อนอยู่แล้ว แต่วิธีการที่ดีคือต้องทำให้ขาดทุนน้อยลง วันละ 7.4 ล้านบาทไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ  หากคิดเป็นปีหนึ่งก็กว่า 2 พันล้านบาท

“ทำไม 20 บาท? ผมไม่ทราบ คงคิดว่าคนส่วนใหญ่สามารถจ่ายได้ แต่เอาเข้าจริงเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทต่อสายไม่ดึงดูดให้คนมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีปัจจัยอื่นอีก เช่น การเดินทางเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้า ในบางสถานีนั้นเราหาสถานีแทบไม่เจอ หายากมากโดยเฉพาะสายสีแดงจากบางซื่อไปตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร หาสถานียากจริงๆ ตรงนี้ต้องมีป้ายบอกเส้นทาง มีที่จอดรถ ระบบอาคารจอดแล้วจรต้องทำเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการด้วยถึงจะทำให้คนมีเพิ่มขึ้น” นายสามารถ กล่าว

นายสามารถ กล่าวต่อไปว่า ตนอยากให้โครงการนี้สำเร็จ คือค่าโดยสารถูกลง แต่ก็ต้องลดการขาดทุนลงให้ได้ด้วย โดยหากเป็นตนจะใช้นโยบาย 50 บาท นั่งได้ทุกสายทั้งวัน หากใช้ 2 เที่ยวต่อวัน อยู่ที่เที่ยวละ 25 บาท หรือ 4 เที่ยวจ่อวันจะอยู่ที่เที่ยวละ 12.50 บาท เชื่อว่าจะทำให้คนมาใช้บริการมากขึ้น และเอาจริงๆ ที่เริ่มทำจากสายสีแดงกับสีม่วงก็ไม่ตรงตามที่หาเสียงไว้ แต่ที่เลือกทำเพราะทั้ง 2 สายเป็นของรัฐโดยตรง และสำหรับสายสีม่วงก็เป็น 20 บาทตลอดสายมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว เพียงแต่อาจมีการประชาสัมพันธ์น้อย

แต่หากจะทำให้ได้กับรถไฟฟ้าทุกสาย อย่างแรกต้องเริ่มจากการเจรจากับผู้รับสัมปทาน โดยเจ้าที่มีส่วนแบ่งรายได้มากที่สุดคือ BTS รองลงมาคือ BEM โดยเฉพาะการเจรจากับ BTS หากทำได้สำเร็จตนเชื่อว่า BEM ก็จะยอมเช่นกัน ซึ่งสาระสำคัญของการเจรจาคือรัฐจะชดเชยรายได้ที่น้อยลงอย่างไร ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้รับความร่วมมือเพราะเขาทำสัญญาสัมปทานกับรัฐมาว่าต้องเก็บค่าโดยสารอัตราหนึ่ง เช่น สายสีเขียว 17-47 บาท หากเก็บ 20 บาทตลอดสายย่อมมีรายได้ลดลง อย่างไรก็ต้องไม่ยอม 

“รัฐต้องชดเชยให้เขาปีหนึ่งประมาณ 1.2 - 1.3 หมื่นล้านบาท ถือว่าไม่น้อย แต่ถ้าใช้นโยบายของผม 50 บาททั้งวันตลอดสายไม่อั้นทุกสายทุกสีได้หมด อันนี้ชดเชยประมาณ 7.5 พันล้านบาท คือคนใช้บริการมากกว่า รัฐควักกระเป๋าน้อยกว่า คือรถไฟฟ้าบางสายผู้โดยสารน้อยมากจริงๆ สร้างแล้วไม่คุ้มค่า สร้างแล้วปล่อยว่างปล่อยโล่งไว้  ควรจะมีคนใช้บริการมาก เพื่อว่าเราลดการสูญเสียพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง มลภาวะมี PM2.5 น้อยลง เอาประโยชน์ทางนั้นประโยชน์ทางอ้อมมา” นายสามารถ ระบุ

นายสามารถ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนคำถามเรื่องรัฐบาลจะทำนโยบาย 20 บาทตลอดสายต่อไปหรือไม่ ตนเชื่อว่าต่อไปจะมีการทำ 20 บาทตลอดสาย ในรถไฟฟ้าทุกสาย ซึ่งก็ต้องไปเจรจากับทั้ง BTS และ BEM ให้ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอของตนจะอยู่ที่ 50 บาทตลอดสาย แม้จะสูงกว่าแต่เป็นไปได้มากกว่า เพราะการซื้อบัตร 50 บาท ไปที่ไหนก็ได้ทั้งวัน เชื่อว่าจะดึงดูดให้คนมาใช้บริการมากขึ้น 

ขณะที่ระบบตั๋วร่วมที่พูดกันมานานกว่า 20 ปี อาจจะมีผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งไม่ยอม เพราะทำให้เสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว ซึ่งในปัจจุบัน เช่น เมื่อจะใช้บริการสายสีเขียว ผู้โดยสารก็ต้องเสียค่าแรกเข้า หมายถึงค่าเข้าจากสถานีไปชานชาลา จำนวน 14 บาท จากนั้นเมื่อจะไปต่อสายสีน้ำเงินก็ต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 14 บาท แต่หากเป็นตั๋วร่วมใบเดียวจะทำให้การเสียแบบนี้หายไป

อย่างปัจจุบันหากนั่งสายสีม่วงจากบางใหญ่มาถึงเตาปูนแล้วไปต่อสายสีน้ำเงิน 14 บาทที่เป็นค่าแรกเข้า รฟม. ยกเว้นให้ผู้โดยสาร แต่ รฟม. ชดเชยให้ BEM ที่เป็นผู้รับสัมปทาน เพราะ 14 บาทนั้น BEM ไม่ยอมลดให้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาเพราะการลดหมายถึงเสียรายได้ แต่เมื่อมีการชดเชยก็เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ตนหวังให้ข้อเสนอของตนถูกนำไปใช้และทำให้เรื่องทุกอย่างจบลงได้ในรัฐบาลชุดนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์กับประชาชน ตนไม่สงวนลิขสิทธิ์ สามารถนำไปใช้ได้เลย เชื่อว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ได้ผลมากกว่า 20 บาทตลอดสายแน่นอน และเป็นภาระของรัฐน้อยลงด้วย

“จาก 1.2 – 1.3 หมื่นล้าน อาจลดลงเหลือ 7 – 7.5 พันล้าน และต่อไปจะลดลงเรื่อยๆ เพราะคนจะมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เงินชดเชยจะต่ำลงเรื่อยๆ จนไม่ต้องชดเชย ถ้าทำวิธีนี้กับทุกคนไม่ว่าคนไทย-คนต่างชาติ 50 บาทตลอดสาย คนต่างชาติผมว่าเขายินดี ไม่ต้องเก็บแพง เพราะเขาต้องมาช่วยซื้อสินค้าของเราแถวถนนสุขุมวิท แถวถนนพหลโยธิน ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ผมว่าเป็นไปได้แน่” อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. กล่าว

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ถนนพระราม2”เอฟเฟกต์! ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมี‘สมุดพกรัฐมนตรี’? ‘ถนนพระราม2”เอฟเฟกต์! ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมี‘สมุดพกรัฐมนตรี’?
  • พูดได้ไง? ‘พระราม 2’ถล่ม ‘เหตุสุดวิสัย’ พูดได้ไง? ‘พระราม 2’ถล่ม ‘เหตุสุดวิสัย’
  • พระราม2ถล่มไม่หยุด!\'สามารถ\'ไล่ฉีกสมุดพกผู้รับเหมาทิ้ง พระราม2ถล่มไม่หยุด!'สามารถ'ไล่ฉีกสมุดพกผู้รับเหมาทิ้ง
  • ‘รถไฟฟ้าฟรี’คุ้มหรือไม่! จี้รัฐบาลเร่งประเมินผลลดฝุ่นPM2.5 ลุยต่อควรอยู่บน 2 เงื่อนไข ‘รถไฟฟ้าฟรี’คุ้มหรือไม่! จี้รัฐบาลเร่งประเมินผลลดฝุ่นPM2.5 ลุยต่อควรอยู่บน 2 เงื่อนไข
  • ‘ละเลงงบ-ละลายฝุ่น! ‘เจิมศักด์’ชี้นโยบายนั่งรถไฟฟ้าฟรีไม่ตอบโจทย์ ย้ำแก้ได้ต้องไปเอาจริงที่ต้นตอ ‘ละเลงงบ-ละลายฝุ่น! ‘เจิมศักด์’ชี้นโยบายนั่งรถไฟฟ้าฟรีไม่ตอบโจทย์ ย้ำแก้ได้ต้องไปเอาจริงที่ต้นตอ
  • ‘สภาฯ’ไฟเขียว! หลักการ‘ร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วม’ ตั้ง 31 กมธ.พิจารณา ‘สภาฯ’ไฟเขียว! หลักการ‘ร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วม’ ตั้ง 31 กมธ.พิจารณา
  •  

Breaking News

นายกฯ เข้าบ้านพิษณุโลก เรียก'รมว.กลาโหม -ผบ.ตร.-ปลัดมท.'สางไฟใต้

โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง

'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น

'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved