วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
พลิกโฉม‘การศึกษา’ ‘อภิสิทธิ์’ชี้ไทยต้องไม่ผูกขาดการเรียนรู้เหมือนอดีต

พลิกโฉม‘การศึกษา’ ‘อภิสิทธิ์’ชี้ไทยต้องไม่ผูกขาดการเรียนรู้เหมือนอดีต

วันอังคาร ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 14.43 น.
Tag : การเรียน การศึกษาไทย เด็กไทย ทักษะ เทคโนโลยีง่าย ภาษา อภิสิทธิ์
  •  

"กมธ.ศึกษา"สัมมนา"เปลี่ยนการศึกษาไทย พลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ" "อภิสิทธิ์"ชี้การศึกษาไทยต้องไม่ผูกขาดการเรียนรู้เหมือนอดีต ต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง เหตุเด็กเข้าถึงเทคโนโลยีง่าย แนะให้เงินหมื่นเป็นคูปองไปเรียนทักษะ-ภาษาจีน จะมีประโยชน์ระยะยาวกับประเทศ

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่รัฐสภาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาเรื่อง "เปลี่ยนการศึกษาไทย พลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ" โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชวีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี , นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ , พระพรหมบัณฑิต ประยูร ธมฺมจิตโต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ร่วมอภิปราย โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาประมาณ 550 คน


นายโสภณ ซารัมย์ ประธาน กมธ.การศึกษา เป็นประธานเปิดการสัมมนา ว่า กมธ.ฯ เล็งเห็นปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งถึงขั้นวิกฤติคือปัญหาทางการศึกษาที่เราประสบอยู่ขณะนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทาง กมธ.ฯ ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาแห่งชาติให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าผลการศึกษาหรือการประเมินทั้งในชนบทหรือในเมือง สภาพปัญหาไม่ได้ต่างกัน จะเห็นได้ว่ามีปัญหาทุกบริบทที่อยู่ในวงการศึกษา วันนี้จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะได้ร่วมกันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ขึ้นมาโดยฝ่ายนิติบัญญัติให้สำเร็จ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าหลักการของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ยังคงเหมือนเดิม แต่ต้องมีการขยายไปถึงการทำให้สังคมมีความสุขด้วย แต่ตนมองว่ายังไม่เป็นไปตามเป้าหมายในหลายๆเรื่อง แม้ว่ากฎหมายมีการบังคับใช้ไปแล้ว มีการถกเถียงเรื่องการปรับโครงสร้าง ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจนทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ และปัจจุบันการศึกษาต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไปแล้ว เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในอดีตหากประชาชนไม่ได้รับการศึกษา ก็จะทำให้ขาดความรู้ ขาดข้อมูล แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่เด็กเล็กๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด แม้แต่เด็กที่ยังพูดไม่ได้แต่ก็เล่นโทรศัพท์มือถือเป็น นั่นแปลว่ากระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องผูกขาดการเรียนรู้เหมือนในอดีต และยังไม่นับการเปลี่ยนแปลงของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในขณะนี้ ตนเชื่อว่าอีก 2 - 3 ปีข้างนี้จะเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของคนเปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิง ซึ่งระบบการศึกษาต้องเปลี่ยนหน้าที่จากการให้ความรู้เปลี่ยนมาเป็นการให้ทักษะในการกลั่นกรองข้อมูลมาเป็นความรู้ได้ถูกต้องแม่นยำด้วยตนเอง

"การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดยังส่งผลต่อ เพราะเราก้าวเข้าสู่ยุคสังคมหลังอุตสาหกรรมสมบูรณ์แบบมากขึ้น หมายความว่าความคาดหวังของคนรุ่นใหม่กับอนาคตไม่เหมือนเดิมแล้ว คนรุ่นใหม่ตั้งเป้าหมายในชีวิตต่างกับคนรุ่นก่อน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าท้ายกับการศึกษาแบบเดิมที่ป้อนคนเข้าสู่อุตสาหกรรม แต่เป็นการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ในอดีตรัฐบาลเคยคิดว่าแก้ปัญหาเรื่องโอกาสทางการศึกษาได้แล้ว แต่โครงสร้างการศึกษาที่เปลี่ยนไป มีเด็กตกหล่นจากการเข้าสู่ระบบการศึกษาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่สูงมาก แม้ปัจจุบันยังมีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาอยู่แต่ก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอและสามารถทำงานในเชิงรุกได้ เช่นเดียวกับคุณภาพการศึกษาที่ลดลง ถ้าคนของเรามีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ดีกว่านี้ ผมเชื่อว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนจะไม่รุนแรงเท่านี้ ถ้าเราสามารถทำให้คนของเราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทางสัมคม สังคมเราจะไม่แยกแยกเท่านี้ นี่คือความท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่เรามองข้าง คือปัญหาโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป ในอนาคตจะมีเด็กที่มาจากผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น มีเด็กจากการย้ายถิ่นมากขึ้น จำเป็นต้องพิจารณาออกกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป" นายอภิสิทธิ์​ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น สิ่งที่กฎหมายฉบับใหม่ควรมี คือการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้รัฐไม่อยู่ในฐานะที่จะผูกขาดในการจัดให้ จึงควรเขียนในกฎหมายว่า รัฐจะให้แรงจูงใจ ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมอย่างไรในการมาช่วยส่งเสริมการศึกษา และคงต้องเขียนเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในเรื่องการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ เพราะต่อไปนี่คือหัวใจสำคัญที่ทุกคนจะต้องมีโอกาสในการได้เรียนรู้ ปรับทักษะของตัวเอง ตนยังคิดเล่นๆเลยว่า แทนที่จะได้เงินคนละ 10,000 บาท สมมุติว่าคนของเราได้คูปองมูลค่าไม่ต้องถึง 10,000 บาทก็ได้ แต่มีข้อแลกเปลี่ยนว่าให้เอาคูปองนั้น ไปใช้เรียนรู้ทักษะอะไร 1 อย่าง จะไปเรียนภาษาจีนก็ได้ จะเรียนบัญชีก็ได้ จะเข้าใจระบบภาษีให้ดีขึ้นก็ได้ เอาเงินไปแล้วก็ไปเรียนรู้อันนั้น ตนมานั่งคิดว่าประโยชน์ระยะยาวกับประเทศจะดีกว่าหรือไม่

ขณะที่ นายศุภชัย กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล เช่นเดียวกับสถานศึกษา ที่ต้องเผชิญกับการพลิกโฉมอย่างรวดเร็ว การเมืองระดับโลกที่แบ่งขั้ว สังคมสูงวัย พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวให้ทัน สุขภาพมนุษย์ที่ต้องเผชิญกับโรคระบาด ส่วนระบบการศึกษานั้น ตนมั่นใจว่า โรงเรียนจะไม่หมดไปเพราะโรงเรียนถือเป็นระบบจำลองของสังคม เพราะต้องสร้างประสบการณ์ให้เยาวชนได้เรียนรู้ ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่ทุกคนต้องการเข้าถึงข้อมูล มีนวัตกรรมดิจิทัล ส่วนอนาคตเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีใหม่ (AI) คน และความยั่งยืน

"ภาพรวมการศึกษาไทยยังเป็นแบบ 2.0 ครูยังเป็นศูนย์กลางให้ความรู้ เด็กยังเรียนรู้แบบปัจเจกบุคคล ต้องเปลี่ยนเป็นการศึกษาแบบ 5.0 ต้องเปลี่ยนกรอบความรู้ของเยาวชนให้ตั้งคำถาม อภิปรายด้วยเหตุผล ปรับปรุงพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ พร้อมทำงานเป็นทีม เน้นคุณธรรมและธรรมาภิบาล เน้นเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนให้เยาวชน ทั้งนี้หากรัฐบาลต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ได้ ก็ต้องสนับสนุนให้เยาวชนมีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ทั้งโลก ซึ่งในอนาคตมนุษย์และเทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งสำคัญการศึกษาต้องสอนเรื่องเทคโนโลยี ควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกันแก่ผู้เรียน" นายศุภชัย กล่าว

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'สว.กมล\' แจงดราม่า \'ลูกเสือตากฝน\' ยันงานใหญ่ลงทุนมาก-เด็กตั้งใจอยากโชว์ 'สว.กมล' แจงดราม่า 'ลูกเสือตากฝน' ยันงานใหญ่ลงทุนมาก-เด็กตั้งใจอยากโชว์
  • ค้านตั้ง‘กาสิโน’  ‘อภิสิทธิ์’เชื่อไม่ส่งเสริมท่องเที่ยว  ชี้แก้ปัญหาธุรกิจผิดกฎหมายไม่ได้ ค้านตั้ง‘กาสิโน’ ‘อภิสิทธิ์’เชื่อไม่ส่งเสริมท่องเที่ยว ชี้แก้ปัญหาธุรกิจผิดกฎหมายไม่ได้
  • ‘อภิสิทธิ์’ค้านตั้งกาสิโนถูกกฎหมาย ชี้นำเรื่อง‘ใต้ดิน’ขึ้นมา‘บนดิน’ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ‘อภิสิทธิ์’ค้านตั้งกาสิโนถูกกฎหมาย ชี้นำเรื่อง‘ใต้ดิน’ขึ้นมา‘บนดิน’ก็แก้ปัญหาไม่ได้
  • \'กมธ.กาสิโน\' สว. เชิญ \'อภิสิทธิ์-จุลพันธ์\' แจงความเห็น 5 มิ.ย.นี้ 'กมธ.กาสิโน' สว. เชิญ 'อภิสิทธิ์-จุลพันธ์' แจงความเห็น 5 มิ.ย.นี้
  • เตือนรัฐก่อนเป็น\'กบต้ม\' เร่งแก้\'ผูกขาด-คอรัปชั่น-นิติรัฐ\' เตือนรัฐก่อนเป็น'กบต้ม' เร่งแก้'ผูกขาด-คอรัปชั่น-นิติรัฐ'
  • เปรียบเทียบชัดๆ \'ยิ่งลักษณ์ จำนำข้าว vs อภิสิทธิ์ ประกันรายได้\' เปรียบเทียบชัดๆ 'ยิ่งลักษณ์ จำนำข้าว vs อภิสิทธิ์ ประกันรายได้'
  •  

Breaking News

‘พม.น่าน’ผนึกกำลังกรมการปกครอง-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ดูแลกลุ่มเปราะบางถึงบ้าน

ภาพกล้องหน้ารถ กระบะเสียหลักข้ามเลน ชนประสานงา

รปภ.รุ่นน้องสุดทน! ถูกรปภ.รุ่นพี่ข่ม-ด่า ชักมีดแทงดับคาป้อม

มอไซค์ชนกัน เจ็บ 3 ราย สุดอึ้งคนขี่เป็นเยาวชนวัย13

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved